แมงดานา แมลงเศรษฐกิจ สร้างรายได้งาม

3 เมษายน 2559 สัตว์ 0

แมงดานาจัดเป็นสัตว์จำพวกมวนน้ำชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนี้ ฝรั่งจึงเรียกแมงดานาว่า “มวนน้ำยักษ์” ตามธรรมชาติแล้วน่าจะเรียกว่า “แมงดา” จะถูกต้องกว่าเพราะมันมีขาแค่ 6 ขา ไม่ใช่ 8 ขา ซึ่ง เรียกว่า “แมง” ตามการจำแนกวิธีเรียกของสัตว์เล็กๆ จำพวกนี้ แต่น้อยคนที่จะเรียกกันว่า แมงดานา ก็เอาเป็นว่ายอมรับคำว่า “แมงดา” กันโดยปริยายก็แล้วกัน

แมงดานา ( Giant Water Bug ) อยู่ใน Family Belostomatidae อยู่ใน Suborder Cryptocerata แมลงในอันดับย่อยนี้มีการเจริญเติบโตแบบ Gradual metamorphosis กล่าวคือ ร่างกายจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยด้วยการลอกคราบ ( Molting ) แมงดานานี้มีโครงสร้างแข็งแรงอยู่ภายนอก เมื่อโตได้ระดับหนึ่งมันจะขยายตัวออกไม่ได้มันจึงจำเป็นลอกคราบเก่าออกเสีย ก่อน จึงจะเจริญเติบโตต่อไปได้ซึ่งแมงดานานี้ เมื่อออกจากไข่ก็เป็นตัวอ่อนเลย ไม่ต้องผ่านขั้นตอนในการเป็นหนอน (Larva ) แต่อวัยวะต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์ ตัวจะเล็กกว่าซึ่งเราเรียกว่านิ้ม ( Nymph ) ระยะนี้ไม่มีปีก ตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ยังไม่สมบูรณ์ พอลอกคราบครบ 5 ครั้ง จะมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยหรือตัวแก่ ซึ่งก็จะมีหนวดสั้นเห็นไม่ชัดเจนเพราะหนวดมันจะซ่อนอยู่ในร่องด้านล่างของ ส่วนหัวบริเวณใต้ตา มีตาเป็นตารวม ( Compound eyes ) มันจะอาศัยอยู่ตาม ห้วย หนองคลอง บึง สระทั่วๆ ไป

mangdanatc

วงศ์ (Phylum) : Arthropoda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lethocerus indicus Lip.-Serv.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Giant water bug
ชื่อภาษาไทย : แมงดานา
ชื่อภาษาท้องถิ่น : แมงดา

รูปร่างลักษณะ
แมงดานาตัวโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 3 นิ้ว ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ขนาดลำตัวของตัวผู้ยาวประมาณ 70-75 มิลลิเมตร ตัวเมียขนาดประมาณ 80-85 มิลลิเมตร มีลำตัวยาวเป็นรูปไข่ ด้านท้องและทางด้านหลังมีลักษณะแบน หัวสีน้ำตาลแก่ปนเขียว ตาสีดำ ปีกสีเกือบดำยกเว้นบริเวณขอบบางส่วนของปีกมีสีน้ำตาลอ่อน ขาคู่หน้าเป็นแบบขาว่ายน้ำ และมีขนอ่อนสีน้ำตาลคลุมตลอดทั้งขา ปากเป็นแบบเจาะดูด ลักษณะเป็นท่อยาวออกมาจากด้านหน้าของส่วนหัว และเก็บซ่อนไว้ด้านล่างของศีรษะ ปลายปากมีลักษณะคล้ายหนามแหลมเรียวใช้แทงเข้าไปในร่างกายเหยื่อแล้วดูดกิน น้ำเหลวๆในตัวเหยื่อ อาหารของแมงดานา ได้แก่ ลูกกบ ลูกอ๊อด ลูกอึ่งอ่าง ปู ปลา กุ้ง ส่วนท้ายของท้องมีปลายโผล่ออกมาเรียกว่ารยางค์ (Apical abdominal appendage) ลักษณะเป็นเส้นเรียวยาว 2 เส้นคู่กัน ประกอบด้วยขนที่ละเอียดและไม่เปียกน้ำ ทำหน้าที่ในการหายใจโดยใช้รยางค์นี้โผล่ขึ้นมาจากผิวน้ำเพื่อดูดออกซิเจน แล้วนำไปเก็บในลำตัวทางปลายท่อ

1. ตา (Eye ) ตาของแมงดานาเป็นตารวม ( Compound eyes) มีตาใหญ่แข็งนูนกลมและพองโตสีน้ำตาลดำ เป็นมันวาว 1 คู่ ตารวมนี้จะประกอบด้วย ตาหกเหลี่ยมเล็กๆ หลายร้อยตารวมกันเป็นตาใหญ่

2. ขา (Legs ) แมงดานามีขา 3 คู่หรือ 6 ขา และมีขาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือขาที่ใช้สำหรับจับเหยื่อเป็นอาหาร และขาที่ใช้สำหรับในการว่ายน้ำ
– ขาคู่หน้าหรือขาคู่ที่ 1 เป็นขาสำหรับจับเหยื่อ ซึ่งประกอบด้วย Coxa และ Femer ที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง ส่วน Tibia จะเล็กเรียวโค้งเล็กน้อยที่ปลาย Tibia จะเป็นเล็บที่เรียวโค้งและปลายที่แหลมคม ใช้สำหรับเกาะเกี่ยวจับสัตว์เป็นอาหาร ซึ่งการใช้ขาคู่หน้าจับสัตว์เพื่อดูดกินเป็นอาหารนี้ จะจับแน่นถ้าไม่ปล่อยแล้วเหยื่อนั้นก็จะหลุดไปได้ยาก
– ขาคู่ที่ 2 และขาคู่ที่ 3 เป็นขาว่ายน้ำ (Swimming legs ) ซึ่งคู่ที่ 3 นั้นจะเป็นขาที่ช่วยให้แมงดานาว่ายน้ำได้รวดเร็วขาคู่ที่ 3 นี้จะกว้าง แบนและบางคล้ายใบพาย ใหญ่และยาวกว่า ขาคู่ที่ 1 และคู่ที่ 2 มาก ที่บริเวณด้านข้างของขาจะมีแผงขนที่ไม่เปียกน้ำขึ้นอยู่เป็นแถบยาว แผงขนนี้จะทำหน้าที่ ช่วยให้แมงดานาว่ายน้ำได้รวดเร็วขึ้น เพราะในขณะที่แมงดานาว่ายน้ำอยู่นั้น แผงขนดังกล่าวก็จะพองและฟูกระจายออกมาจากขาทั้ง 2 ข้าง ช่วยให้ขาที่ทำหน้าที่เหมือนใบพาย กว้างและใหญ่ขึ้น สามารถจะจ้วงหรือวักน้ำได้มากขึ้น สำหรับใบพายที่ใช้กับเรือ ถ้าหากว่ามีการเสริมแบบเดียวกับแมงดานาแล้วก็จะทำให้เวลาพายเรือก็จะแล่น ได้เร็วขึ้นเช่นกัน
ส่วนขาคู่ที่ 2 จะเล็กกว่าขาคู่ที่ 3 ซึ่งเป็นขาช่วยว่ายน้ำ บริเวณด้านข้างของเขาก็เป็นแผงขนที่มีแถบยาว เช่นเดียวกับขาคู่ที่ 3 ขาคู่ที่ 2 นี้ก็เป็นขาช่วยว่ายน้ำของขาคู่ที่ 3 ลักษณะของขาจะเรียวค่อนข้างแบน แต่ไม่แบนใหญ่ เหมือนขาคู่ที่ 3 มีแผงขนแคบและสั้นกว่าขาคู่ที่ 3 และที่ Tibia ของขาคู่ที่ 2 และคู่ที่ 3 จะเป็นกรงเล็บที่โค้งงอและแหลมคมอยู่เป็นจำนวน 1 คู่

mangdanatao

3. หนวด ( Antenna ) หนวดจะสั้น มีประมาณ 4-5 ปล้อง แต่หนวดนี้จะเห็นไม่ชัดเจนเพราะหนวดมันอยู่ในร่องลึกใต้ตา

4. ปาก ( Mouth ) แมงดานามีปากแบบเจาะดูด (Piercing Sucking type ) ซึ่งที่ปากจะเป็นท่อยาวที่โผล่ออกมาจากด้านหน้าของส่วนหัว และมันจะเก็บซ่อนไว้ทางด้านล่างของศีรษะ ปากจะเป็นรูปคล้ายใบหอกที่ปลายปากมีลักษณะคล้ายหนามแหลมเรียว ใช้สำหรับเจาะแทงเข้าไปในร่างกายของเหยื่อ แล้วก็จะดูดกินน้ำเหลวๆ ในร่างกายของลูกอ๊อดต่างๆ เช่น ลูกกบ ลูกอึ่งอ่าง ลูกเขียด ปลา ปู กุ้ง และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ
ปากของแมงดานาที่มีลักษณะคล้ายใบหอกนี้ ชาวบ้านจะเรียกว่า เหล็กหมาด เวลาจับแมงดานาเขาจะคอยระวัง ไม่ให้แมงดานาใช้เหล็กหมาดแทงได้ ถ้าใครถูกแทงที่นิ้วหรือที่มือ จะมีอาการปวดตั้งแต่บริเวณที่ถูกแทงขึ้นไปตามแขนคล้ายถูกแมลงป่องต่อยเอา คนที่แพ้หน้าตาก็จะบวมเห่อ และมีผื่นคันขึ้นตามลำตัว ต้องพาไปหาแพทย์เพื่อรักษาถ้าหากปล่อยทิ้งไว้แล้วให้หายเองจะกินเวลาหลายวัน ซึ่งก็จะไม่เป็นผลดีนักสำหรับผู้ที่ถูกต่อย
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกใหม่ๆ เขาห้ามกินแมงดานาเพราะกินแล้วจะแสลง ถ้าขืนกินเข้าไปแล้วถ้าแพ้มากภายใน 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น ก็จะมีอาการ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ขากรรไกรจะแข็งพูดไม่ได้ แต่ถ้าแพ้น้อยก็จะแสดงอาการอย่างเดียวกัน แต่ก็เป็นไม่นาน ภายในเวลา 1 วันก็ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล แต่เขาก็ไม่ได้ห้ามตลอดไปถ้าลูกโตเดินได้แล้วก็สามารถกินแมงดานาได้ตามปกติ

5. ลำตัว (Body) ลำตัวของแมงดานาโดยทั่วไปจะมีขนาดยาว 2-4 นิ้ว ตัวแบนสีน้ำตาลยาวรีเหมือนใบไม้
แมงดานาตัวผู้ จะมีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจนคือ ลำตัวจะกลมป้อมและเล็กเรียวกว่าตัวเมีย ในตัวผู้จะมีกลิ่นหอมฉุนกว่าตัวเมีย
แมงดานาตัวเมีย ลำตัวแบนและโตกว่า ตัวผู้ เมื่อนำมาเทียบขนาดกันส่วนบริเวณท้องจะกว้างและใหญ่กว่า ถ้าจะให้แน่นอนว่าเป็นแมงดาตัวผู้หรือแมงดาตัวเมียก็ให้ตรวจดูที่ก้นที่ เราเรียกว่า รยางค์ โดยการแง้มตรงที่เป็นแฉกๆออกมาดูภายในก็จะเห็นอวัยวะวางไข่คล้ายกับเมล็ด ข้าวสารก็แสดงว่าเป็นแมงดานาตัวเมีย
ส่วนในตัวผู้จะไม่เห็นอวัยวะลักษณะอย่างนี้ สำหรับเรื่องกลิ่นมีผู้บอกว่าแมงดาตัวเมียก็มีกลิ่นฉุนเหมือนกันแต่ไม่เท่า ตัวผู้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเวลาจับมาโดยเอาตัวผู้และตัวเมียรวมกัน กลิ่นของตัวผู้ก็อาจจะติดมากับตัวเมียจึงทำให้ตัวเมียมีกลิ่นหอม
แมงดานาที่โตเต็มที่จนเป็นตัวแก่แล้วจะมีสีของลำตัวค่อนข้างดำ ที่โคนขามีสีออกเขียวๆ ส่วนแมงดานาที่ยังไม่แก่เต็มที่สีของลำตัวจะมีสีแดงเรื่อๆออกดำซึ้งในระยะ ที่ยังไม่แก่จัดนี้ กลิ่นของมันจะยังไม่ฉุนมากนักจึงยังไม่เป็นที่นิยมรับประทานกัน
สีของแมงดานาจะเปลี่ยนไปตามวัยกล่าวคือ เมื่อยังอ่อนอยู่ตัวจะออกสีเหลืองอมเขียว พอโตขึ้นมาอีกสีจะออกแดงเรื่อๆ และเมื่อโตเต็มที่แล้วสีจะค่อนข้างดำ สำหรับเรื่องสีที่ตัวของแมงดานานั้นก็ขึ้นอยู่กับสีของน้ำธรรมชาติในแหล่ง ที่อยู่อาศัยของแมงดานาด้วยคือ ถ้าน้ำใสสีของแมงดานาจะออกสีเขียวอ่อน แต่ถ้าน้ำมีสีค่อนข้างดำสีของตัวแมงดานาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ ซึ้งการเปลี่ยนสีของแมงดานาเป็นการพรางตังไม่ให้ศัตรูเห็นได้ง่าย

mangdanatad

6. ปีก (Wings) ปีกของแมงดานาจะมี 2 คู่ ดังนี้
ปีกคู่ที่ 1 หรือคู่แรก จะมีโคนของปีกติดกับบริเวณส่วนของอก และปลายปีกจะมาคลุมที่ลำตัว ปีกจะค่อนข้างแข็งและหนาเรียกว่า Corium ส่วนที่ปลายปีกจะมีแผ่นเยื่อบางๆอ่อนๆ ประกอบด้วยเส้นปีกที่ประสานกันเป็นลวดลายเรียกว่า Membrane ดังนั้นปีกคู่ที่1 หรือปีกคู่แรกนี้ จะเป็นปีกแบบครึ่งหนาและครึ่งบางที่เรียกกันว่า Hemelytron จึงได้จัดแบ่งแมลงที่มีปีกแบบนี้ให้อยู่ในพวกมวน (Bugs) ใน Order Hemiptera ซึ่ง Hemi หมายความว่า ครึ่ง และคำว่า Ptera หมายถึง ปีก
ปีกคู่ที่ 2 หรือปีกคู่หลัง จะมีขนาดใหญ่กว่าคู่แรก แต่ปีกจะใสบางๆเป็นเยื่ออ่อนๆทั้งปีกประกอบด้วยเส้นปีกที่ประสานกันเป็นลวด ลาย ซึ่งปีกคู่ที่2 หรือปีกคู่สุดท้ายนี้จะซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่แรก ซึ่งบริเวณโคนของปีกคู่หลังนี้ก็จะติดกับส่วนของอกแล้วคลุมบริเวณลำตัวเช่น เดียวกับปีกคู่แรก

7. ระบบการหายใจ (Tracheal system) ที่ปลายท้องของแมงดานาจะมีปลายโผล่ออกมาเรียกว่า รยางค์ ที่มีลักษณะเรียวยาว 2 เส้นคู่กัน มีขนที่ละเอียดไม่เปียกน้ำ ทำหน้าที่สำหรับเป็นท่อที่ใช้ในการหายใจของแมงดานา โดยมันจะใช้รยางค์นี้จับอากาศไว้ที่ใต้ท้องหรือช่องปลายสุดทางด้านก้นเวลา แมงดานาขึ้นมาหายใจเราก็สามารถสังเกตได้จาก บริเวณผิวน้ำที่เห็นเป็นจุดดำโผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำเพื่อดูดอากาศเข้าไปเก็บใน ตัวของมันเองทางท่อที่อยู่ปลายก้น การว่ายน้ำของแมงดานามันจะว่ายโผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำ พร้อมกับพลิกตัวหงายขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วว่ายน้ำดำลงไปเกาะติดกับกอหญ้า กอกกต่างๆ แต่ถ้ามันว่ายขึ้นมาเพื่อรับออกซิเจนแล้วมันจะอยู่ที่ผิวน้ำนานๆจนอากาศที่ มันต้องการเก็บไว้เต็มที่ แล้วมันจึงดำกลับลงไปในน้ำ ในแมงดานาตัวเล็กๆ มักจะชอบดำผุดดำว่าย ขึ้นๆ ลงๆ แต่ตัวที่โตแล้วนานๆ มันจึงจะว่ายมาทีหนึ่ง
ไข่ เป็นกลุ่มวางเรียงเป็นแถวตาม ต้นข้าวหรือต้นหญ้า หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กในน้ำ ไข่มีสีน้ำตาลอ่อน มีลายเป็นขีดสีน้ำตาล ด้านบนมีจุด ระยะไข่ 7-8 วัน
ตัวอ่อน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน ด้านบนของไข่จะเปิดออกเรียกกันว่าเปิดฝาชีหรือหมวก ตัวอ่อนจะอยู่ในท่าหงายท้องแล้วกระโดดลงในน้ำ ระยะแรกๆ ลำตัวนิ่ม สีเหลืองอ่อน ต่อมาเป็นสีเขียวปนเหลือง เมื่อโตขึ้นสีเหลืองปนน้ำตาล
ตัวเต็มวัย เป็นมวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลำตัวกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ตัวแบนสีน้ำตาลยาวรีเหมือนใบไม้ ปากแบบเจาะดูด ขาคู่หน้าแบบจับเหยื่อ ตัวผู้มีกลิ่นฉุนและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อแง้มดูที่ปลายท้องตัวเมียจะเห็นอวัยวะวางไข่คล้ายเม็ดข้าวสาร

mangdanas

พันธุ์ของแมงดานา
จากการศึกษาและทดลองโดยพิจารณาถึงลักษณะภายนอก เช่นปีก สีสัน ลวดลายของปีก นิสัย ตลอดจนการไข่ของแมงดานามาแล้วก็สามารถแบ่งได้เป็น 3 พันธุ์ ดังต่อไปนี้

  1. พันธุ์หม้อ มีลักษณะที่สังเกตได้ คือ ขอบของปีกจะมีลายสีทอง และขอบปีกจะคลุมไม่มิดส่วนหางของมัน พันธุ์นี้จะขยายพันธุ์ได้เร็วและไข่ก็ดกด้วย ซึ่งในท้องตลาดจะเห็นพันธุ์นี้วางขายอยู่มากมาย
  2. พันธุ์ลาย มีลักษณะที่สังเกตได้ คือ ขอบของปีกมีลายสีทองเช่นเดียวกัน แต่ขอบของปีกจะคลุมมิดหางของมัน พันธุ์นี้จะมีการวางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน
  3. พันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทอง มีลักษณะที่สังเกตได้ คือตัวจะออกสีเหลืองทั้งตัว และจำนวนไข่ก็ไม่แน่นอนเช่นเดียวกับพันธุ์ลาย ตลอดจนมีนิสัยที่ไม่ดี กล่าวคือ มันชอบกินแมงดานาพันธุ์อื่นๆ เป็นอาหารดังนั้นทางที่ดีแล้วควรแยกพันธุ์นี้ออกไปเลี้ยงต่างหากจะเป็นการดี ที่สุด อย่าได้เลี้ยงรวมกันกับพันธุ์อื่นๆ

mangdanakeb

การจำแนกเพศ
ลักษณะรูปร่างภายนอกของแมงดานา ตัวผู้และตัวเมียมีความคล้ายคลึงกันมาก ยากแก่การจำแนกได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ จากการศึกษาสามารถการจำแนกเพศแมงดานาได้จากลักษณะดังต่อไปนี้
– ขนาด ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ในช่วงอายุที่เท่ากัน
– ตัวผู้ส่วนท้องแฟบ ตัวเมียท้องป่อง โดยเฉพาะในช่วงมีไข่ แต่ถ้าไม่ได้กินอาหารหรือไม่มีไข่ตัวเมียก็ท้องแฟบเช่นกัน
– ตัวผู้จะมีกลิ่นฉุนเมื่อดมที่บริเวณโคนขาคู่ที่สอง แต่หากนำแมงดานาตัวผู้และตัวเมียมาขังรวมกันก็จะทำให้ตัวเมียติดกลิ่นฉุนจากตัวผู้โดยการสัมผัสได้เช่นกัน
– ดูสีที่โคนขาหน้า ถ้าเป็นตัวผู้จะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะเป็นสีเขียว แต่ต้องใช้ความชำนาญของผู้สังเกต
– ดูจากติ่งเพศ เมื่อดึงรยางค์ที่อยู่ตรงปลายสุดของส่วนท้องออกมา จะพบอวัยวะสำหรับวางไข่มีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสาร มีสีขาวและอ่อนนุ่มแสดงว่าเป็นตัวเมีย ส่วนตัวผู้จะไม่มี แต่วิธีนี้จะสังเกตความแตกต่างได้ยากหากไม่มีความชำนาญ และทำให้แมงดานาบาดเจ็บได้ง่ายหรือถึงตายได้ การดูเพศวิธีนี้จึงไม่เหมาะสำหรับการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์แมงดานา
– วิธีที่จำแนกเพศแมงดานาได้อย่างง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำที่สุด คือ ให้จับแมงดาหงายเอาด้านท้องขึ้น สังเกตที่ปลายหาง (telson) ใช้เล็บหรือกระดาษสีขาวสอดเข้าไปด้านล่าง (ภาพ) หากเป็นตัวผู้ หางจะมีลักษณะเป็นรูปใบพาย ยาว เรียว ขอบเรียบเสมอกัน ค่อยๆสอบแคบลงทีละน้อยจนถึงปลายสุด ส่วนตัวเมียหางจะมีลักษณะเป็นรูปใบพาย กว้างกว่าตัวผู้ ขอบเรียบเสมอกัน ตอนกลางจะหักมุมเล็กน้อยและสอบแคบลงมาหากัน ที่เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนคือเพศเมียจะมีติ่งรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลเข้ม ยื่นออกมาที่สุดปลายหางทั้งสองข้าง เห็นเป็นแฉกแยกจากกันชัดเจนและมีแถบสีดำจางๆที่ส่วนปลายหางทั้งสองข้าง

mangdanateb
แมงดานา อาศัยในแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เป็นน้ำนิ่งประเภท หนอง คลอง บึงและตามท้องนา ออกหาอาหารในตอนกลางวันส่วนตอนกลางคืนเมื่อปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจึง บินออกจากแหล่งน้ำบินวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ที่อาศัย เมื่อใกล้สว่างจึงอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวน้ำเป็นตัวนำทางในการ บินกลับแหล่งอาศัย เหตุนี้ทำให้ชาวบ้านมีวิธีการจับแมงดานาอีกวิธีหนึ่งนอกจากการงมและช้อนจับ ในน้ำ คือ การใช้หลอดไฟ ติดล่อให้แมงดานาเข้ามาหา และนำน้ำใส่กะละมังวางไว้ใต้หลอดไฟ หรือใช้ตาข่ายดักจับ เพื่อนำไปประกอบอาหารประเภทน้ำพริกต่างๆ (ทัศนีย์และสุภาพ, 2544)

ฤดูและการผสมพันธุ์
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝนได้ประมาณสองอาทิตย์ และจะหยุดก่อนปลายฝนประมาณสองอาทิตย์ ในฤดูนี้บางแห่งจะมีน้ำขังอยู่มากบ้างน้อยบ้าง แมงดาในขณะที่บินมาจากไหนก็ตาม เมื่อตกลงยังพื้น โดยเจตนาของมันหรือโดยการกระทบกับสิ่งที่ทำให้มันเสียหลัก มันจะหาที่พักได้ง่ายเพราะทุกแห่งมีน้ำ แมงดาอาจพักซ่อนตัวในเวลากลางวันตามแอ่งน้ำเล็กๆ หรือในรอยเท้าสัตว์ เช่น วัว ควาย ซึ่งมีน้ำปนอยู่กับโคลนเล็กน้อย เมื่อถึงเวลากลางคืน แมงดาจะบินต่อไปอีก ฉะนั้นในบางโอกาสที่เราจับแมงดาได้ ปีกของมันจะยังเปื้อนโคลนอยู่ก็มี การที่แมงดาต้องอาศัยน้ำอยู่ตลอดเวลาก็เนื่องจากมันเป็นแมงชนิดสะเทินน้ำ สะเทินบก (Amphibian) แมงดาตัวเมียเมื่อได้กลิ่นตัวผู้ ณ ที่ใดก็จะบินมาตกบริเวณนั้น แสงสว่างเป็นเครื่องชักจูงให้แมงดาบินมาเวียนวนในแถบนั้นเช่นเดียวกับแมลง ทุกชนิดที่เคลื่อนไหวในเวลากลางคืน แหล่งที่แมงดาชอบลงเพื่อทำการขยายพันธุ์ คือ ที่ระดับน้ำไม่เปลี่ยนแปลงเร็วและมีอาหารพอที่ลูกแมงดาจะยังมีชีวิตอยู่ได้ แหล่งเหล่านั้น คือท้องนาและริมๆขอบบึงที่น้ำตื้น และในการผสมพันธุ์ตัวผู้จะปล่อยกลิ่นฉุนเรียกตัวเมีย แล้วเกาะบนหลังตัวเมีย ผสมพันธุ์ตามกอหญ้า กอข้าว

mangdanana

การวางไข่และการเจริญเติบโต
แมงดานาไม่ชอบวางไข่ที่ไม้แข็ง เช่น ไม้เต็งรัง แต่จะวางที่ไม้สน หรือใบหญ้า ใบกก หรือต้นไม้ขนาดเล็ก สูงจากระดับน้ำประมาณ 10 นิ้วหรือ 1 ฟุต แล้วแต่ว่ามันจะรู้สึกว่าน้ำจะมามากหรือน้อย โดยตัวเมียจะปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง ทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของแมลงแมงดาที่ชอบที่เงียบๆ ไม่มีสิ่งรบกวนสำหรับการวางไข่ ไข่ที่วางไว้กับไม้หรือต้นไม้ ต้นข้าว จะมีวัตถุคล้ายวุ้นทำหน้าที่เป็นกาวยึดไข่ไว้อย่างมั่นคง ไข่ที่วางไว้ใหม่ๆ จะมีสีนวลน้อยๆ มีลายริ้วสีน้ำตาลประกอบ แล้วจะค่อยๆ คล้ำไปเล็กน้อย ไข่สีคล้ำเรียกว่าไข่แก่ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่ จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่และหากินเองได้ เพราะบางครั้งตัวเมียถ้าได้โอกาสก็จะกินไข่ของมันเอง

mangdanakai

ภายหลังห้าวันที่ได้มีการวางไข่ ลูกแมงดาอ่อนๆ จะเกิดเป็นตัวอยู่ในไข่ ภายหลัง 6-7 วัน ไข่จะฟักออกเป็นตัว โดยไข่จะเปิดฝาขอองมันคล้ายฝาชี แต่ไม่หลุดออกจากกัน ไข่เปิดฝาแบบนี้เรียกว่าเ ปิดแบบ opercular ลูกแมงดาจะค่อยๆ โผล่จากไข่ โดยการแบ่งตัวออกมาในท่าหงายท้องแล้วร่วงลงในน้ำ ลูกแมงดาจะอยู่นิ่งพักบนผิวน้ำครู่หนึ่งแล้วจึงดำลงใต้น้ำ ลูกแมงดาเกิดใหม่ๆ ตัวของมันเป็นสีนวล ไม่มีปีก สีของมันจะค่อยๆ เข้มขึ้น ภายในระยะเวลาน้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ครั้นแล้วจะเริ่มกินเหยื่ออย่างกระหายหิว (ลูกแมงดาเรียกกว่า nymphs) ซึ่งลูกอ๊อดเป็นเหยื่อที่ลูกแมงดาชอบมาก ในขณะที่ลูกอ๊อดผ่านมาในระยะอันสมควร ลูกแมงดาที่เกาะนิ่งอยู่ จะพุ่งตัวอย่างรวดเร็วเข้าเกาะที่ปลายหางลูกอ๊อด แล้วไต่อย่างรวดเร็วเข้าสู่โคนหาง ลูกแมงดาจะช่วยเหลือตัวเองได้ประมาณครึ่งชั่วโมงภายหลังการออกจากไข่ ระยะนี้เป็นระยะสำคัญในการเลี้ยงลูกแมงดา ต้องระวังเรื่องขาดแคลนอาหารหรือจัดที่เลี้ยงแคบเกินไป ถ้าขาดความระมัดระะมังในเรื่องนี้ลูกแมงดาจะกินกันเองจนกระทั่งครอกหนึ่งจะ เหลือตัวเก่งอยู่สองสามตัวหรืออาจเหลือเพียงตัวเดียวก็ได้ แมงดาที่เสียเปรียบในการรักษาตัวรอด คือ ตัวที่ทำอาการเคลื่อนไหวซึ่งพี่น้องของมันจะจับกินเป็นเหยื่อ การหายใจของลูกแมงดาทำโดยวิธีจับอากาศจากผิวน้ำไว้ใต้ท้องหรือใช้ท่อที่อยู่ เกือบสุดปลายตัวของมันจ่ออยู่ที่ผิวน้ำ นอกจากท่อ 2 ท่อ อยู่เกือบสุดปลายของลูกแมงดา ยังมีท่อที่ขอบตัวของมันทุกๆ ปล้อง ท่อเหล่านี้เรียกว่า tracheae ลูกแมงดาที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำเมื่อออกซิเจนซึมเข้าตัวของมันหมด มันจะโผขึ้นสู่ผิวน้ำและทำอาการพลิกหงายท้องเพื่อจับอากาศใหม่เพื่อหายใจ แล้วดำลงซ่อนตัวเหมือนเดิม

mangdanatebs

การเจริญเติบโต
การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ (molting) แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดยสมบูรณ์ แมงดาที่ลอกคราบในครั้งที่สี่ที่ห้าจะไม่สามารถกินเหยื่อได้ในวันแรกๆ เพราะตัวของมันยังอ่อนนิ่มอยู่ ปากของมันยังไม่แข็งพอที่จะเจาะเหยื่อ ขาของมันก็ยังไม่แข็งพอที่จะกอดรัดเหยื่อไว้ให้มั่นคงได้ มันจะอาศัยเพียงอากาศหายใจ ท่อหายใจตามขอบตัวมันยังเป็น nymphs จะปิดหมด และใช้อวัยวะที่มีอยู่สุดปลายตัวต่อจากท่อถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์เป็น เครื่องหายใจ

วิธีการจับเหยื่อ
แมงดามีความว่องไวในการจับเหยื่อ ช่วงแรกมันจะอยู่เฉยๆ ไม่ขยับตัวปล่อยให้เหยื่อ เช่น ลูกปลา ลูกกุ้ง ว่ายน้ำผ่านไป เมื่อเข้ามาระยะพอเหมาะ แมงดาจะพุ่งตัวเข้าไปหาเหยื่อใช้ขาคู่หน้าจับเหยื่อไว้และใช้ปากเจาะ แล้วปล่อยสารพิษเข้าไปในผิวหนังของเหยื่อ ดูดของเหลวจากตัวเหยื่อ

เลี้ยงแมงดานา
บ่อสำหรับเลี้ยงแมงดา
สถานที่ที่เหมาะสมในการทำบ่อเพาะเลี้ยงแมงดานา ควรเป็นที่โล่งเเจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่พลุกพล่านซึ่งบ่อเลี้ยงแมงดาไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และขนาดของบ่อที่นิยมคือให้มีความยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง และขนาดที่เหมาะสมที่สุดควรมีพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร โดยด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อทำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่งเพื่อใช้รวบรวมของเสียและง่ายต่อการกำจัด และที่ขาดไม่ได้คือชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้ใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดา อาจปลูกต้นกก ผักบุ้งหรือเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดาบินหนี หรือมีนก หนูเข้าไปลักกินแมงดานา ส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี

วิธีการเลี้ยงแมงดานา
หลังจากทำบ่อและบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้วก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม.แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมีย 1 ต่อ 1 ดีที่สุด แต่สัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็ได้ผลดีพอสมควร การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมงดานาช่วงที่ดีที่สุด ควรเป็นช่วงตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เนื่องจากเป็นแมงดาวัยรุ่นยังไม่มีไข่ ( เขาว่าแมงดานาที่มีไข่ติดท้อง หากตกใจจะกลั้นไข่จนตายในที่สุด) แต่เราสามารถแยกเพศได้แล้ว โดยดูที่อวัยวะสืบพันธุ์ ตรงก้นที่เห็นเป็นระยางค์แฉกๆลองแง้มดูภายในหากเห็นเป็นอวัยวะคล้ายเม็ดข้าวสารแแสดงว่าเป็นตัวเมียแน่นอน ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อให้แมงดานาผสมพันธุ์เริ่มจากลดระดับน้ำลงจากเดิมประมาณครึ่งหนึ่ง พร้อมกับจัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมดโดยนำไม่ไผ่หรือกิ่งไม้แห้งๆใส่ลงไปแแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วัน ก่อนเปลี่ยนน้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม.หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บกิ่งไม้ไผ่ กิ่งไม้ออก ใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อนละ 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจมน้ำด้านนี้เสมอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำ ปักด้วยซี่ไม้ไผ่หรือไม้เสียบลูกชิ้นยาวคืบกว่าๆเป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วันไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นว่าแมงดานาวางไข่แล้วเต็มที่ก็ให้จับพ่อแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในบ่ออื่นให้หมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นหากต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยวิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่น มักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขายแล้วคัดเอาบรรดาลูกๆรุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
ไข่แมงดา

mangdanafa
หรือการเลี้ยงอีกวิธีหนึ่งก็คือโดยการมัดกลุ่มไข่หรือเสียบกับลวดเพื่อวางยืนในกล่อง ใส่น้ำและวางกล่องในถาดหล่อน้ำ กันมด ไข่ที่ใกล้ฟักจะมีสีเข้มชัดเจน พองผิวเต่งตึง แมงดามักจะออกจากไข่ช่วงเช้าและเย็น เมื่อฟักออกจากไข่จะหงายท้องและดีดตัวร่วงลงน้ำ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากตัวใหม่ๆจะสีเหลืองอ่อน ด้านในลำตัวสีเขียว ตาสีดำ ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง สีจะคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา แยกตัวอ่อนวัย 1 ใส่เลี้ยงถ้วยละ 1 ตัว โดยใช้ขวดน้ำขนาดความจุ 950 มิลลิเมตร ตัดเอาก้นขวดสูง 3 นิ้ว เป็นถ้วยเลี้ยง เจาะรูก้นถ้วยเพื่อความสะดวกในการถ่ายน้ำเสีย วางถ้วยในถาดพลาสติกใส่น้ำลงไปประมาณ 0.5 นิ้ว ให้ลูกปลาเป็นอาหารถ้วยละ 1 ตัว

การหาพันธุ์แมงดานามาเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์
พันธุ์แมงดานาสามารถหาพันธุ์ได้ทุกท้องที่โดยการ

  1. หาซื้อตัวแก่จากตลาดมาเลี้ยง โดยนำมาใส่ในบ่อเพาะเลี้ยงประมาณ 1 เดือนก็จะออกไข่
  2. การจับลูกแมงดานามาเลี้ยง โดยการใช้สวิงช้อนตัวอ่อนที่อยู่ใน สระ หนอง คลอง บึง และในท้องนามาเลี้ยง ซึ่งจะได้แมงดานาหลายรุ่น ดังนั้นเวลาเลี้ยงก็ต้องแยกรุ่นเลี้ยงมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาตอนลอกคราบจะกิน กันเอง การจับลูกแมงดานามาเลี้ยงโดยวิธีนี้ก็อาจจะได้แมงดานาตัวแก่ติดมาด้วย เราก็ต้องนำมาแยกเลี้ยงเช่นเดียวกัน
  3. การหาไข่แมงดานามาเพาะเลี้ยง โดยทั่วๆ ไปแล้วแมงดานาจะออกไข่ตาม กอหญ้า กอกก ต้นไม้เล็กๆ ตลอดจนกอข้าวที่อยู่ในท้องนา เราก็ต้องไปหาดูในช่วงฤดูฝน เมื่อได้ไข่มาแล้วเราก็นำไปเพาะให้เป็นตัวอ่อนจากไข่เป็นตัวอ่อนก็ประมาณ 7-8 วัน ซึ่งก็จะได้ลูกแมงดานาขนาดวัยไล่เลี่ยกันและเลี้ยงประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถนำมาผสมพันธุ์ได้
    4. การใช้แสงไฟล่อตัวแก่เพื่อนำมาเพาะเลี้ยงให้ออกไข่ โดยการตั้งเสาไม้ไผ่ให้สูงประมาณ 6-7 เมตร แล้วใช้ตาข่ายขึงให้สูงใกล้ๆ กับแสงไฟ แสงไฟที่ใช้อาจเป็นสีน้ำเงินหรือใช้ไฟแบล็คไลท์ ซึ่งเป็นแสงสีม่วงก็ได้ซึ่งเป็นแสงที่แมงดานาชอบ เมื่อเห็นแสงนี้แล้วจะออกมาบินเวียนไปมาแล้วมันจะเกาะติดที่ตาข่าย เราก็จับมันลงมาเลี้ยงเพื่อให้ออกไข่ ซึ่งการจับโดยวิธีนี้ก็จะได้แมงดานาที่มีหลายรุ่นด้วยกัน จากนั้นก็นำมาแยกรุ่นเลี้ยงประมาณ 1 เดือน หลังจากนำมาเลี้ยงก็จะออกไข่

mangdanakaih

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่
หลังจากทำบ่อและบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้วก็จัดการหาพ่อแม่พันธุ์ แมงดานามาปล่อยลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดี ที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 เซนติเมตร แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมีย 1 ต่อ 1 ดีที่สุด แต่สัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็ได้ผลดีพอสมควร การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมงดานาช่วงที่ดีที่สุด
ควรเป็นช่วงตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เนื่องจากเป็นแมงดาวัยรุ่นยังไม่มีไข่ ( เขาว่าแมงดานาที่มีไข่ติดท้อง หากตกใจจะกลั้นไข่จนตายในที่สุด) แต่เราสามารถแยกเพศได้แล้ว โดยดูที่อวัยวะสืบพันธุ์ ตรงก้นที่เห็นเป็นรยางค์แฉกๆ ลองแง้มดูภายในหากเห็นเป็นอวัยวะคล้ายเม็ดข้าวสารแแสดงว่าเป็นตัวเมียแน่นอน ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อให้แมงดานาผสมพันธุ์เริ่มจากลดระดับน้ำลงจากเดิม ประมาณครึ่งหนึ่ง พร้อมกัดจัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมดโดยนำไม่ไผ่หรือ กิ่งไม้แห้งๆ ใส่ลงไปแแทนที่ ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วัน ก่อนเปลี่ยนน้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิม คือ ประมาณ 80 เซนติเมตร หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บกิ่งไม้ไผ่ กิ่งไม้ออก ใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อนละ 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจมน้ำด้านนี้เสมอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำปักด้วยซี่ไม้ไผ่หรือไม้เสียบลูกชิ้นยาวคืบกว่าๆ เป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วันไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นว่าแมงดานาวางไข่แล้วเต็มที่ก็ให้จับพ่อแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยง ในบ่ออื่นให้หมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละ ประมาณ 1 เดือน ดังนั้นหากต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุน ทำบ่อไว้หลายบ่อโดยวิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดี กว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็ว ขึ้น โดยพ่อแม่ พันธุ์แต่ละรุ่น มักนิยมใช้กันแค่ปีเดียว คือ วางไข่ได้ 2-3 ครั้ง ก็จับขายแล้วคัดเอาบรรดาลูกๆ รุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป

mangdanafaj
หรือการเลี้ยงอีกวิธีหนึ่งก็คือ โดยการมัดกลุ่มไข่หรือเสียบกับลวดเพื่อวางยืนในกล่อง ใส่น้ำและวางกล่องในถาดหล่อน้ำ กันมด ไข่ที่ใกล้ฟักจะมีสีเข้มชัดเจน พองผิวเต่งตึง แมงดามักจะออกจากไข่ช่วงเช้าและเย็น เมื่อฟักออกจากไข่จะหงายท้องและดีดตัวร่วงลงน้ำ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากตัวใหม่ๆ จะสีเหลืองอ่อน ด้านในลำตัวสีเขียว ตาสีดำ ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง สีจะคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา

การเลี้ยงแมงดานาตั้งแต่ไข่ถึงตัวแก่
ระยะที่ 1 ระยะไข่ ไข่ที่ออกมานั้นจะเรียงตัวเป็นแถวๆ หลังจากไข่ออกมาแล้วประมาณ 1-4 วัน ขนาดของไข่จะมีขนาดกว้าง 0.1 เซนติเมตร ยาว 0.2 เซนติเมตร ไข่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มๆ ที่ส่วนยอดของไข่จะเป็นขีดและมีจุดจางๆ ที่ยอด พอวันที่ 5-7 ไข่ก็จะมีขนาดกว้างประมาณ 0.35-0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.45-0.5 เซนติเมตร และไข่นั้นก็จะเต่งเต็มที่ สีของไข่จะจางลงเป็นสีเทาๆ บริเวณโคนไข่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ปลายไข่เป็นขีดสีน้ำตาลที่ปลายสุดก็จะเป็นจุดสีน้ำตาล 1 จุด พอวันที่ 8 ปลายยอดไข่ก็จะเปิดออกซึ่งเรียกกันว่า เปิดฝาชี การเปิดฝาชีออกมาก็จะเปิดเป็นชุดๆ ซึ่งก็แล้วแต่ การเจริญเติบโตของไข่ไม่พร้อมกัน พอเปิดฝาชีได้ไม่นาน ตัวอ่อนก็จะกระโดดลงน้ำพร้อมๆ กันจนกว่าไข่จะหมดรัง แต่ก็มีบางฟองที่เหลืออยู่บ้างที่ไม่ฟัก แต่ก็มีจำนวนน้อย ตัวอ่อนที่เปิดฝาชีนั้นจะโผล่ส่วนหัวออกมาก่อน ส่วนหัวจะเป็นสีเหลืองและมีลูกตาสีดำ 2 ข้าง แต่ยังไม่หลุดจากไข่จนตัวอ่อนกระโดดลงน้ำซึ่งใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง
ระยะที่ 2 เป็นระยะตัวอ่อน ตัว อ่อนที่จะออกจากไข่จะเบ่งตัวของมันเองในท่าหงายท้องแล้วร่วงลงในน้ำเมื่อออก มาครั้งแรกตัวจะป้อมๆ และมีสีเหลือง ตัวจะนุ่มนิ่มหลังจากตกลงในน้ำแล้วมันจะหยุดนิ่งชั่วครู่ ตัวอ่อนมีขนาด กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.8 เซนติเมตร พอประมาณ 2-4 นาที ตัวอ่อนจะขยายตัวหรือเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมระยะเวลาในการฟักไข่ของแมงดานา ตั้งแต่ไข่จนถึงเป็นตัวอ่อนประมาณ 7-8 วันแต่ไม่เกิน 10 วัน ลูกแมงดานาเริ่มกินอาหารหลังจากฟักแล้วประมาณ 12-14 ชั่วโมง โดยหลังจากเป็นตัวอ่อนแล้ว 3 วัน ตัวก็จะขนาดกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 1.0 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเข้มขึ้น
ระยะที่ 3 เป็นระยะลอกคราบ แมงดานาจะลอกคราบเป็นจำนวน 5 ครั้งเพื่อที่จะเพิ่มขนาดของลำตัวและความยาวก่อนจะลอกคราบนั้น แมงดานาจะอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวระยะนี้มันจะไม่กินอาหาร โดยเกาะอยู่ตามกอหญ้า กอกก หรือกอข้าว หรือบางครั้งมันจะดำลงไปในน้ำนานๆ จึงโผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง พอประมาณ 2 วัน บริเวณส่วนหัวตรงต้นคอก็เกิดรอยแตกปริออกมา หลังจากนั้นตัวแมงดานาก็จะค่อยๆ คลานออกมาซึ่งการลอกคราบของแมงดานามีดังต่อไปนี้

  • การลอกคราบครั้งที่ 1 ก่อนการลอกคราบตัวอ่อนจะมีขนาดกว้าง 0.6 เซนติเมตร ยาว 1.1 เซนติเมตร และเมื่อมีอายุประมาณ 5-6 วัน ลักษณะตัวจะอ้วนป้อมมีสีเหลืองอมเขียวระยะนี้จะไม่กินอาหารจะอยู่นิ่งๆ ลอกคราบครั้งแรกนี้จะออกทางบริเวณต้นคอของตัวเก่า ตัวใหม่ออกมาจะมีสีเขียวอมเหลืองและทิ้งคราบเก่าลอยเหนือน้ำ ตัวอ่อนจะนิ่มขนาดใหญ่กว่าเดิม ระยะเวลาจากตัวอ่อนจนถึงลอกคราบครั้งแรกประมาณ 5-7 วันและในระยะนี้แมงดานายังไม่มีปีกรวมอายุแล้วประมาณ 12 -15 วัน
  • การลอกคราบครั้งที่ 2 ก่อนการลอกคราบครั้งที่ 2 แมงดานาจะมีขนาดกว้าง 0.7 เซนติเมตร ยาว 1.7 เซนติเมตร หลังจากลอกคราบครั้งที่ 1 แล้วประมาณ 5-7 วันก็จะลอกคราบอีก โดยก่อนการลอกคราบมันจะเกาะนิ่งๆ อยู่ตามต้นหญ้า ต้นกก แล้วจากนั้นบริเวณต้นคอก็จะปริแตกออกมา จากนั้นมันก็จะคลานออกจากคราบของมันออกเป็นตัวใหม่ ระยะนี้ตัวจะป้อมๆ มีสีเหลือง อมน้ำตาล ตัวจะอ่อนนุ่มนิ่ม และหลังจากออกจากคราบแล้วมันจะไม่ค่อยโผล่ขึ้นเหนือน้ำให้เราเห็น จนกว่ามันจะแข็งแรงมันถึงจะขึ้นมาในระยะนี้แมงดานายังไม่มีปีก รวมอายุแล้วได้ประมาณ 17-22 วัน
  • การลอกคราบครั้งที่ 3 หลังจากการลอกคราบครั้งที่ 2 อีกประมาณ 5-7 วัน มักจะมีการลอกคราบอีก วิธีการลอกคราบก็เหมือนกับครั้งที่ 1 และ 2 ตัวที่ลอกคราบออกมาใหม่นี้จะมีสีเขียว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล วัดขนาดได้กว้าง 1.6-1.7 เซนติเมตร ยาว 3.5-4.0 เซนติเมตร ในระยะนี้ก็ยังไม่มีปีก รวมอายุแล้วได้ประมาณ 22-29 วัน
  • การลอกคราบครั้งที่ 4 หลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 อีกประมาณ 5-7 วัน ก็จะมีการลอกคราบออกมาใหม่นี้ จะเป็นสีเขียวอมน้ำตาลเข็ม บริเวณลำตัวจะเริ่มมีขนสีน้ำตาล วัดขนาดได้กว้าง 2.4-2.5 เซนติเมตร ยาว 5.5-5.6 เซนติเมตร ในระยะนี้ก็ยังคงไม่มีปีกรวมอายุแล้วได้ประมาณ 27-36 วัน
  • การลอกคราบครั้งที่ 5 เป็นขั้นสุดท้าย หลังจากการลอกคราบครั้งที่ 4 แล้วอีกประมาณ 5-7 วันก็จะลอกคราบอีกเป็นครั้งสุดท้าย วิธีการลอกคราบก็เหมือนครั้งต้นๆ หลังจากออกจากคราบแล้ว จะเป็นตัวแก่ที่สมบูรณ์คือ มีปีกเหมือนแมงดานาที่เราจับมาประกอบอาหาร ตัวจะสีน้ำตาล ด้านปลายสุดของปีก จะเป็นแผ่นบางๆ สีน้ำตาลใสบริเวณลำตัวจะมีขนสีน้ำตาล เมื่อวัดขนาดแล้วจะมีขนาด ดังนี้
    ในแมงดานาตัวผู้ กว้าง 2.0-2.1 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.1 เซนติเมตร ในแมงดานาตัวเมีย กว้าง 2.5-2.6 เซนติเมตร ยาว 6.5 – 7.0 เซนติเมตร อายุตั้งแต่ไข่จนถึงเป็นตัวแก่ของแมงดานาจะมีอายุประมาณ 32-43 วัน

การดูแลระหว่างการเลี้ยงแมงดานา
1. อาหาร อาหารของแมงดานาได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำและต้องมีชีวิตด้วย ถ้าเป็นสัตว์น้ำที่ตายแล้วนำไปให้แมงดานากินมันก็จะไม่กิน ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจเป็นเพราะว่าน้ำเลี้ยงที่แมงดานาจะดูดจากสัตว์น้ำที่ ตายแล้ว รสชาติอาจจะจืดชืดไม่เหมือนตอนที่มีชีวิตก็เหมือนมนุษย์เรา สำหรับอาหารที่จะให้แมงดานากินก็ได้แก่ ลูกอ๊อด เช่น ลูกกบ ลูกเขียด ลูกอึ่งอ่าง กุ้ง ปู ปลา กบที่มีขนาดโตพอสมควรแต่ไม่เกินไปนัก

2. การให้อาหาร การให้อาหารก็ควรแบ่งการให้อาหารของแมงดานาในระยะต่างๆ กันดังนี้

  • แมงดานาในระยะเล็ก อาหารของลูกแมงดานาก็ได้แก่ พวกลูกอ๊อดต่างๆ แต่สำหรับลูกคางคกไม่ควรให้จะเป็นอันตรายต่อลูกต่อลูกแมงดานาเพราะตัวคางคก เองมีเส้นเมา เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ในระยะที่ยังเล็กอยู่มันจะกินอาหารจุมากการ สำหรับเวลาที่ให้อาหารควรให้ในตอนเช้ามืดและตอนค่ำ จะเป็นการดีเพราะลูกแมงดานาชอบเงียบๆ ถ้าพลุกพล่านแล้วมันจะตื่นตกใจ อาจจะไม่กินอาหารและในระยะนี้มีเศษอาหารที่มันดูดกินทิ้งไว้มาก โดยเศษอาหารนี้จะลอยอยู่ที่ผิวน้ำ จึงต้องมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ ซึ่งอาจจะเป็น 7 วันต่อครั้ง
  • การให้อาหารในระยะวัยรุ่น ถึงโตเต็มที่แล้ว หลังจากลอกคราบครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นตัวแก่และมีปีกแล้วก็มีอายุประมาณ 32-43 วันก็ให้ย้ายลงบ่อเลี้ยงได้ สำหรับบ่อเลี้ยงนี้ก็จะใช้ตาข่ายบุรอบๆ บ่อเลี้ยง ตาข่ายนี้ควรจะให้มีรูโตประมาณ นิ้วเพราะในระยะนี้มันโตแล้ว และไม่สามารถรอดตาข่ายออกมาได้ ก็เลี้ยงจนจับออกไปจำหน่ายได้ การให้อาหารในระยะนี้ก็ได้แก่ พวกปู ปลา กุ้ง กบที่มีขนาดโตพอสมควรหรือถ้าให้พวกลูกอ๊อดมันก็จะดูดกินด้วย โดยให้อาหารวันละครั้งและควรให้อาหารเป็นเวลาด้วย แมงดานาจะชอบกินกบมากกว่าปู และปลา เพราะว่ามันจะเอาตัวประกบเข้ากับตัวกบได้ง่ายกว่า ปลา และปู และมันชอบกินลูกอ๊อด ซึ่งเป็นลูกกบ ลูกเขียด ลูกอึ่งอ่างมาตั้งแต่เล็กๆ แล้ว ซึ่งเป็นอาหารที่มันเคยกินและชอบในตอนเล็กๆ สำหรับปูนาที่เราให้เป็นอาหารแมงดานาก็ให้ทั้งเป็นๆ ไม่ต้องหักขาออกเพียงแต่หักก้ามออกเท่านั้นก็พอ เพราะปากแมงดานาเป็นปากดูด จึงไม่จำเป็นต้องเคี้ยวมันจะใช้ปากแทงเข้าไปในตัวปู ในส่วนอ่อนๆ แล้วดูดน้ำเลี้ยงในตัวปูออกมา และเมื่ออาหารที่ดูดกินจนหมดแล้วจะลอยมาบนผิวน้ำก็ต้องเก็บทิ้งไปเสียเพื่อ ไม่ให้น้ำในบ่อเน่าเสียเร็ว

อาหารของแมงดานา
อาหารของแมงดา ให้ด้วยลูกปลา ลูกกุ้ง หรือ ลูกอ๊อด ( อย่าให้ลูกอ๊อดคางคก เพราะลูกอ๊อดคางคกมีพิษ )
การให้อาหารตอนเช้าก่อน 08.00 น. วันละ 1 ครั้ง และช่วงเย็น (16.00น.) เอาเศษลูกปลาตายออก ล้างทำความสะอาดถ้วยเลี้ยง เปลี่ยนน้ำ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเข้าวัย 3 ย้ายเข้ากรงคู่ทำด้วยตาข่ายพลาสติกสีดำ ( มีจำนวนรู 35 รู ต่อ 1 ตารางนิ้ว ) ลักษณะรูปทรงกระบอกยาว 18.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ปิดส่วนท้ายกรงแต่ละคู่ด้วยแผ่นตาข่ายขนาด (กว้าง x ยาว) 9 x19 เซนติเมตร วางกรงในแนวนอนลงในถาดหรือกะละมังที่มีน้ำประมาณ 2 นิ้ว ด้านบนของกรงกรีดตาข่ายออกสามด้าน ขนาด (กว้าง x ยาว) 5 x 6 เซนติเมตร แล้วใช้ลวดยึดไว้เพื่อเป็นช่องประตูเปิดปิด ใส่ปลาและเอาแมงดาเข้าออก เมื่อลอกคราบเข้าวัย 4 ย้ายเข้ากรงทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาด ( กว้าง x ยาว x สูง) 10 x 15 x 10 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเดิมและเอากล่องลงบ่อดินขนาด ( กว้าง x ยาว) 3.5 x 7 เมตร ลึก 1 เมตรปูพื้นด้วยพลาสติก มีผักตบและกอบัว ใช้โฟมติดด้านข้างกรงเป็นทุ่นให้กรงลอยน้ำได้ ในกรงใส่ผักตบชวาให้แมงดาเกาะ เพื่อความสะดวกในการจัดการเอากรงขึ้นลงจากบ่อ จัดวางเป็นแถวและเอาลวดเสียบหัวและท้ายกรงในแนวยาวเหมือนไม้เสียบลูกชิ้นหรือบาร์บีคิว เลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย

น้ำสำหรับเลี้ยงแมงดานา
แมงดานาในชีวิตขาดน้ำไม่ได้แม้แต่ว่าในฤดูแล้งมันก็ยังต้องการน้ำ โดยมันจะไปหมกตัวอยู่ในโคลนตมที่มีน้ำขัง ดังนั้นน้ำจึงมีส่วนสำคัญต่อชีวิตของแมงดานาเป็นอย่างยิ่ง น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำจากธรรมชาติจะดีที่สุดเช่น น้ำตาม ห้วย บ่อ สระ หนอง คลอง บึง และน้ำในท้องนา สำหรับน้ำประปาไม่ควรจะนำมาเลี้ยงแมงดานาเพราะ มีคลอรีนซึ่งก็อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของแมงดานาได้ การเปลี่ยนน้ำควรเปลี่ยนประมาณ 7 วันต่อครั้ง แต่ถ้าน้ำเริ่มมีกลิ่นเหม็นควรรีบเปลี่ยนน้ำทันทีเพื่อป้องกันน้ำเสีย ถ้าหากแมงดานากินอาหารไม่หมดควรเก็บขึ้นมาและนำไปฝังหรือทิ้งไกลๆ เพื่อป้องกันเกิดตัวหนอนในบ่อซึ่งอาจทำร้ายลูกแมงดานาได้

การดูแลอื่นๆ

  1. อย่าให้ใครไปรบกวนแมงดานาในตอนกลางคืนหรือตอนกลางวัน เพราะในตอนกลางคืนมันจะไต่ขึ้นมาเกาะตาข่ายและพื้นที่ชานบ่อ เมื่อมีคนหรือสัตว์มารบกวนมันก็จะหลบลงไปในน้ำทันทีหรือถ้ามีแสงไฟล่อแมลง มันก็จะบินวนไปมา ทำให้สูญเสียพลังงาน
  2. ควรตรวจดูรอบๆ โรงเรือนที่เลี้ยง โดยเฉพาะตาข่ายอย่าให้มีรูพอที่แมงดาจะรอดออกไปได้ มิฉะนั้นแล้วแมงดานาก็อาจจะหนีออกไปหมดได้หรือศัตรูของแมงดานาอาจจะเข้ามา ก็ได้
  3. ในช่วงแมงดานากำลังลอกคราบจะอ่อนแอมาก เพราะตัวจะอ่อนนุ่มนิ่มไม่เคลื่อนไหวจึงต้องระวังไม่ให้มันตกใจ จึงควรระวังการเข้าออกในบ่อเลี้ยง
  4. ให้หมั่นเก็บซากเหยื่อที่แมงดานาดูดกินหมดแล้วออกจากบ่อเลี้ยง
  5. ถ้าเห็นว่ามีเห็บมาเกาะที่ตัวแมงดานาก็ให้ถ่ายน้ำออกเปลี่ยนน้ำใหม่

ศัตรูของแมงดานา

  1. ในระยะไข่จะมีมดมาไต่ตอมและกินไข่ในขณะที่ไข่แมงดานากำลังฟักเป็นตัวเป็น อาหาร นอกจากนี้ยังมีเชื้อรา โดยเฉพาะไข่ที่เรานำมาฟักนั้นปักอยู่ใกล้ระดับน้ำเกินไปก็จะเกิดเชื้อราขึ้น รานี้มีสีขาวเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะลุกลามไปหมดทั้งรัง
  2. ในระยะตัวอ่อน แมงดานาด้วยกันเองก็เป็นศัตรูที่สำคัญ ถ้าหากมีอาหารไม่เพียงพอแมงดานาก็จะกินกันเอง โดยเฉพาะในบ่อเลี้ยงที่มีแมงดานาหลายๆ รุ่นซึ่งลอกคราบก็ลอกคราบคนละรุ่นกัน ซึ่งตัวที่กำลังลอกคราบก็จะอ่อนนุ่มนิ่ม จึงเป็นเหยื่อของตัวที่แข็งแรงกว่าจับกินเป็นอาหารวิธีแก้ไขควรแยกรุ่น เลี้ยง
  3. ในระยะตัวแก่ ก็คือ เห็บ (Tick) โดยมันจะเกาะตามส่วนต่างๆ ของตัวแมงดานา แต่เท่าที่เห็นส่วนมากจะเกาะบริเวณส่วนท้องและคอ ซึ่งมันจะดูดเลือดหรือน้ำเลี้ยงของแมงดานา ทำให้แมงดานาเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ก็อาจเนื่องมาจากจำนวนแมงดานาในบ่อเลี้ยงแน่นเกินไป หรืออาจเป็นการทำให้สมดุลย์ธรรมชาติที่ต้องมีศัตรูคอยเบียดเบียน สำหรับตัวเห็บจะมีลักษณะรูปไข่ มีสีน้ำตาลอมแดงมีขนาดกว้างประมาณ 0.05 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร การแก้ไขก็ให้ระบายน้ำออกให่ใส่น้ำสะอาดเข้าไปในบ่อเลี้ยง และลดจำนวนแมงดานในบ่อให้น้อยลง และอีกปัญหาหนึ่งคือ ตัวทาก ซึ่งเป็นตัวเล็กๆ คล้ายกับปลิง จะมาเกาะที่ตัวแมงดานาตัวแก่แล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากตัวแมงดานา ทำให้แมงดานาเจริญเติบโตไม่เต็มที่เท่าที่ควร

การจับแมงดานา
เครื่องมือในการจับแมงดานา

  1. ใช้มือจับ
  2. ใช้สวิงจับหรือช้อนตามไม้น้ำ
  3. ใช้แสงไฟล่อ ติดตั้งหลอดแบล็กไลต์บนเสาไม้ไผ่สูงๆ ใช้ตาข่ายขึง กั้นให้สูงแมงดาจะมาเล่นไฟ
  4. ปัจจุบันมีเครื่องมือจับแมงดานาแบบพื้นบ้านซึ่งเป็นผลงานการคิดค้นของจ่าสาย ศรีสมุทร สภอ.นาแก จังหวัดนครพนม โดยการใช้สังกะสีแผ่นเรียบมาตัดต่อบัดกรีให้เรียบร้อยเป็นกรวยปากกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงของกรวย 1 เมตร และด้านล่างทำเป็นท่อกลวงขนาดกระป๋องนม ยาวประมาณ 30 ซม. การติดตั้งเครื่องมือให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยตั้งเสาสูงประมาณ 6 เมตรติดหลอดแบล็กไลต์ไว้ล่อแมงดา ด้านล่างติดตั้งกรวยสังกะสีหงายปากกรวยขึ้น มีไฟนีออนสีฟ้าล่อไว้อีกดวงหนึ่งที่ปากกรวยนั้น ส่วนด้านล่างสุดใช้ถุงปุ๋ยที่ไม่ขาดทะลุสวมเข้าที่ท่อกลวงด้านล่างผูกติดให้แน่น ซึ่งแสงจากหลอดแบล็กไลต์จะล่อแมงดาให้มาที่นี่ ส่วนแสงสีฟ้าจากหลอดนีออนเมื่อสะท้อนจากปากกรวยสังกะสีจะดูคล้ายๆกับแหล่งน้ำขนาดเล็ก ดึงดูดใจให้แมงดาบินลงกรวยในที่สุด ซึ่งการจับด้วยวิธีนี้สะดวก เพราะเราไม่ต้องนั่งเฝ้า รอไว้ดูตอนเช้าเลยทีเดียว

mangdanachonmangdanatae

การนำแมงดามาปรุงอาหาร
อาหารจากแมงดา

  1. ไข่แมงดานา นำมาย่างไฟหรือกินสดๆ
  2. ตัวเต็มวัย ตัวเมียชุบแป้งทอด ทำแกงคั่วแมงดานา ตัวผู้มีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติอาหาร นำมาทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดานา น้ำพริกปลาร้า น้ำปลาแมงดา หรือดองแช่น้ำปลาไว้ขายราคาแพง (ตุลาคม-มีนาคม)

mangdanatod

คุณค่าทางอาหาร
จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของแมลงดานาพบว่ามีปริมาณความชื้น 64.47 โปรตีน 19.91 ไขมัน 7.32 คาร์โบไฮเดรต 7.23 เยื่อใย 4.88 เถ้า 1.07 แคลเซียม 0.14 ฟอสฟอรัส 0.12 และโซเดียม 0.23 เปอร์เซ็นต์ และมีพลังงานสูงถึง 241.7 กิโลแคลอรีต่อ 100 กรัมอาหาร (จิตเกษม, 2544)

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น