แสวง รวยสูงเนิน ทำนาธรรมชาติ

ลูกชาวนายากจน ที่มีนาเพียง ๔ ไร่ ในครอบครัวที่มีพี่น้อง ๖ คน จึงไม่พอแบ่งกันทำ และมีข้าวไม่พอกิน จึงต้องหนีจากการเลี้ยงวัวควาย ไปอาศัยอาหารจากวัดตั้งแต่เด็ก และเรียนหนังสือมาเรื่อยๆ จนจบด้านเกษตรศาสตร์ และได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

ตั้งปณิธานที่จะทำงานพัฒนาชุมชนมาตลอด และนำความรู้ที่ได้จากการเรียน และการทำงานกับชุมชน ไปทดลองทำนา และเลี้ยงสัตว์แบบ KM ด้วยตนเอง แบบ “นาคนจน” ไม่ลงทุน ไม่จ้าง ไม่ไถ เน้น “กำไรแบบไม่เสี่ยง” เพื่อเป็นตัวอย่างว่า “ทำนาอย่างไร จึงจะไม่ขาดทุน”

ปัจจุบัน มีชีวิตแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และทุ่มเทชีวิตเพื่อหันกลับไปหาทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ด้อยโอกาส ให้หลุดพ้นจากความยากจนโดยการสนับสนุนการพัฒนาชุดความรู้ ด้านการจัดการดิน น้ำ ทรัพยากรเกษตร เกษตรอินทรีย์ การลดการใช้สารพิษในระบบการผลิตอาหาร แล้วนำความรู้ไปทดสอบหลายพื้นที่ นำผลและแนวทางที่ดีเชื่อมโยงสู่การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาความรู้ที่ถูกต้อง สนับสนุนการสร้างแผนและนโยบายในระดับชุมชน พื้นที่ และ สนับสนุนเชิงนโยบายระดับประเทศ

เป้าหมายของผมคือ ไม่ไถ ไม่ดำ ให้ข้าวขึ้นเองตามธรรมชาติ คนส่วนใหญ่ไถนาเพราะกลัวหญ้าการปราบหญ้าอันดับแรก มีอะไรทำอย่างนั้น มีน้ำก็ใช้น้ำ มีต้นไม้ก็ใช้ต้นไม้ มีแรงก็ใช้แรงได้ออกกำลังแปลงออกกำลังกายของผม 16 ไร่ ใช้เครื่องตัดหญ้าแล้วก็แช่ ถ้าไม่มีน้ำก็ตัดไปเรื่อยๆ อย่าให้มันออกดอกและห้ามไถนาเพราะจะทำให้เมล็ดหญ้าที่อยู่ใต้ดินเติบโตขึ้นมาอีก หลังจากนั้น เมื่อแน่ใจว่าไม่มีหญ้าขึ้นแล้วก็ทำการหว่าน

ผมหว่านข้าวโดยไม่แช่ข้าวเปลือก ไร่ละ 1-2 กิโลกรัม ถ้าจะให้ประหยัดก็ใช้แกลบของตนเองที่ได้จากการเกี่ยวด้วยมือ ผมจะไม่ใช้แกลบของคนอื่นเพราะแกลบจากโรงสีคนอื่นจะได้ทั้งเมล็ดหญ้าและข้าวสารพัดพันธุ์ ทั้งนี้ เศษเหลือจากการสีไม่ได้มีแต่แกลบ แต่มีเมล็ดข้าวด้วย เป็นเมล็ดข้าวที่ยังมีจมูกข้าว และไม่ต้องใช้มาก ตารางเมตรหนึ่งแค่ 3 กอ ถ้าได้ 5 กอก็ถือว่าสุดยอดแล้ว พอได้เวลาเกี่ยวก็ไปบอกคนที่ต้องการซื้อข้าวมาเกี่ยวข้าวแบ่งกันได้ผลผลิต ต่อไร่ประมาณ 7-8 ร้อยกิโลกรัม แม้จะได้ผลผลิตน้อยกว่าการดำนา แต่การทำนาแบบผสมไม่มีต้นทุน

ประเด็นสำคัญคือ ต้องใช้ความรู้มากกว่าความเชื่อ เปลี่ยนความคิดให้อยากจะพึ่งตนเองก่อน และใช้สิ่งที่เรามีมากกว่าสิ่งที่เราไม่มี ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้ความเชื่อที่ทำกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายแล้ว

อย่างการทำป่าล้อมนา คือการนำของเก่ากลับคืนมา ชาวบ้านเขาจะตัดต้นไม้ออกหมด เราก็ทำสวนทางความคิดชาวบ้าน เพราะเขากลัวต้นไม้จะหงำหมายถึงกลัวต้นไม้จะแข่งกับต้นข้าว ซึ่งการแข่งขันนั้นมีสองส่วนคือ แข่งขันที่รากและแข่งขันที่ยอด

ราก เราใช้ร่องน้ำกัน ส่วนยอดเราตัดก็จบที่เหลือก็มีแต่ข้อดี ใบไม้ร่วงมากลายเป็นปุ๋ยตลอดทำบนพื้นที่นาประมาณ 4-5 ไร่กำลังสวย ต้นไม้จะเป็นพี่เลี้ยง ให้ทั้งอินทรียวัตถุ ป้องกันลม วงจรชีวิตของสัตว์ต่างๆ ระบบนิเวศ พึ่งพาอาศัยกัน ไม่ต้องใช้สารเคมี เพราะธรรมชาติดูแลตัวเอง ป่าคือทรัพยากรพื้นฐานที่เป็นตัวกลางในการนำพาทุกอย่างมาพึ่งพาอาศัยกัน และพยายามปลูกแนวตะวันออกไปตะวันตกอย่าปลูกแนวเหนือไปใต้ เพราะต้นไม้จะบังแสงแดด

นี่คือหลักการใช้ความรู้และใช้ทรัพยากรที่มีทุกอย่างคลี่คลายหมด เราเลือกข้าวเอง กินเอง ทำแบบคนจน แต่มีความรู้ และจะไม่มีวันจน เพราะไม่มีทุน ทุนคือแรง ยิ่งลงเท่าไหร่ก็ได้กำไรเท่านั้น

sawangroisoongnernp sawangroisoongnernna

และข้าวที่ได้มาต้อง กิน-แจก-แลก-ขาย สังคมไทยต้องมี 4 ข้อนี้ ถ้าคุณไม่กิน คุณก็จะทำแบบห่วยๆ ชุ่ยๆ ใส่ปุ๋ยเคมีมากมาย มีข้าวแล้วไม่แจกก็ไม่มีเพื่อน ไม่แลกก็ไม่มีฐานทรัพยากรไว้ใช้ ไม่ขายก็ไม่มีปัจจัยมาสร้างอะไรได้ จึงต้องมี 4 ข้อ และห้ามข้ามขั้นตอน”

หลังจากการพูดคุยอย่างออกรส จนผมต้องมาตามชมต่อที่บ้าน โดยตามเข้าไปในว็บบล็อกและได้พบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องจากการทดลอง ปลูกข้าวโดยไม่ต้องไถนี้ โดย นายอนุวัฒน์ เจิมปรุ นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ปีที่ 2 ได้ลงพื้นที่ทำการเก็บข้อมูลในแปลงนาของ ลุงแสวง วัดผลผลิตข้าวได้ 177 รวง/ตารางเมตร ฟางข้าวสด 2.3 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีวัชพืชปน 34 ตัน/ตารางเมตร น้ำหนักสด 300 กรัม/ตารางเมตร เมล็ดข้าวต่อรวงเฉลี่ย 150 เมล็ด/รวง มีเมล็ดลีบเพียง 1.5% ได้ผลผลิตประมาณ 600-700 กิโลกรัม/ไร่

ดร.แสวง รวยสูงเนิน ลูกชาวนายากจน ข้าวไม่เคยพอกินจึงหนีการทำนาและเลี้ยงวัวควาย ไปอาศัยอยู่วัดจนเรียนจบด้านเกษตรศาสตร์ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทำงานร่วมกับชุมชนจนมีชีวิตครบวงจร นำไปสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง และทุ่มเทชีวิตเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้หลุดพ้นจากความยากจน โดยสนับสนุนการพัฒนาชุดความรู้ด้านการจัดการดินน้ำ ทรัพยากรเกษตร เกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารพิษในระบบการผลิตอาหารโดยนำความรู้ไปทดสอบในหลายพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงสู่การเปลี่ยนแปลงแผนและนโยบายในระดับชุมชนพื้นที่และระดับประเทศ

sawangroisoongnerns

เกือบหนึ่งชั่วโมงของการพูดคุยอย่างออกรสจนคำนำหน้านามว่า “ลุง” เปลี่ยนเป็น “อาจารย์” เมื่อได้เห็นป้ายบูธด้านหน้าเขียนว่า ดร.แสวง รวยสูงเนิน ผู้ท้าทายชาวนาให้หัดเรียนรู้ธรรมชาติแบบน้อบน้อมและเข้าใจกันและกัน พร้อมกับคำยืนยันที่ดังก้องอยู่ในหัวผม ชวนท้าทายความเป็นมนุษย์ที่ต้องดิ้นรนหาเช้ากินค่ำอย่างเราว่า

ผมไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด ทุกอย่างที่เห็นในวันนี้ต้องดิ้นรนมาแทบตายกว่าจะได้มา นี่คือความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวย ถ้าเราทำแบบคนจนเราจะไม่มีวันจน..

ที่มา
https://www.gotoknow.org/user/sawaengkku/profile

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น