แหเป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำ แล้วต้องดึงขึ้นมา เพื่อการยังชีพ หรือเพื่อประกอบอาชีพของคนชั้นล่างของสังคมที่กล่าวเช่นนี้ เพราะยังไม่เคยเห็นคนชั้นสูงหรือคนชั้นกลางใช้แหเพื่อหาปลาเป็นอาหาร หรือหาปลาเพื่อการจำหน่ายเป็นประจำ แต่จะเป็นครั้งคราวของบุคคลชั้นดังกล่าว เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในยามว่างหรืออาจจะมีบ้างที่บางคน อดีตเคยเป็นชาวบ้านธรรมดาอยู่ตามชนบท ตอนหลังอพยพเข้าสู่ตัวเมืองและเปลี่ยนอาชีพในสังคมเมือง ฐานะดีขึ้น จึงอยากระลึกถึงอดีตของตัวเองเท่านั้นเอง ดังนั้น แหจึงถือเป็นเครื่องมือเพื่อการยังชีพ หมายถึงใช้จับปลาเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบอาชีพ คือใช้จับปลาเพื่อการจำหน่าย ของชาวบ้านในชนบทซึ่งเป็นฐานะทางสังคม แหถือเป็น ภูมิปัญญา ของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตมีห่วงโซ่เรื่องอาหาร และรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลิงถูกจนเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ความแตกต่างของความเชื่อ เรื่องแห ทั้งโครงสร้าง ขนาด วิธีทอด วิธีย้อม และวิธีต่างๆ ที่ดีแล้วคล้ายๆกัน แต่ลึกๆแล้วมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเชื่อจากวิธีปฏิบัติจริงๆ และได้ผลที่ต่างกันของบุคคล จนกลายเป็นประสบการณ์และภูมิปัญญาของตนเองในที่สุด นี่เองที่นักวิชาการเพิ่งเห็นความจำเป็น เข้าใจและเลือกใช้คำว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ความจริง แห เขาใช้ทอด เหวี่ยง (ภาคกลาง) หรือตึก (ภาคอิสาน) เพื่อหาปลาในนาเท่านั้น บ่อยครั้งที่แหใช้ทอดบนบก ก็มีในบางกรณี บางโอกาส เช่น ใช้ทอดหรือตึกเพื่อจับไก่ เพื่อจับงู เพื่อจับหมา จับกบ ต่างกรรมต่างวาระ ดังกล่าว มาจากการไล่จับจนหมดแรงแล้ว จึงต้องทุนแรงโดยการพึ่งแห ซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายอย่างไรก็ตาม บทความนี้ ก็คงให้รายละเอียดในบางเรื่อง บางประเด็นที่ที่เกี่ยวกับแหเป็นมุมมองเชิงมนุษย์วิทยาวัฒนธรรม ให้ผู้อ่านที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่า แห คืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มีความยาก ง่าย เกี่ยวกับวิธีสาน ความเชื่อที่เกี่ยวกับแห และหน้าที่เฉพาะของแห เพื่อเสริมแต่งความรู้ แก่ผู้สนใจให้เข้าใจและบันทึกองค์ความรู้หนังสือ แม้จะไม่สมบูรณ์นัก
แห เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับใช้จับปลา ซึ่งนิยมกันมากของคนทั่วไป เพราะโดยทั่วไปทุกๆคนจะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย สวนหนอง บึง ลำคลอง หรือแม้นาขนาดใหญ่จะมีน้อยมากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุดของคนทุกภาค ก็คือการใช้แหแทนเท่านั้น ดังนั้น แหของคนทุกภาค จึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจำเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือน ดังนั้นชาวบ้าน จึงมีแหไว้จับปลา และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับแห ไว้อย่างต่อเนื่อง คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ
การจับปลาโดยวิธีใช้แหเป็นเครื่องมือ ทำให้ปลาไม่บอบซ้ำ เพราะเครื่องมือเบาและเป็นการจับปลาที่ใช้เวลาไม่มาก ถ้าเป็นจับปลาโดยเครื่องมือ มอง ทำให้ปลาอาจตายก่อนและบอบซ้ำจากการดิ้นรนของปลาที่ถูกตาข่ายของมองรัดตัวนั้นเอง การจับปลาด้วยมองจะต้องใช้เวลานานกว่าจับด้วยอุปกรณ์จับปลา แห เพราะต้องรองให้ปลามาดักติดตาข่ายของมองก่อน ยกเว้น จับปลาในบริเวณที่เลี้ยงไว้ในสระ หรือ โซนวังปลาจะได้ปลาในเวลาไม่นานนัก ซึ่งก็ไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับผู้จับปลาว่ามีเวลามากน้อยเพียงใด นั้นเอง ซึ่งแต่ละคนก็จะปรับวิธีการตามความต้องการของตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาวิเคราะห์หาทางเลือกจากประสบการณ์ที่พวกเขาเคยทำมาซ้ำแล้วซ้ำอีกจึงกลายเป็นทฤษฎีการวิเคราะห์วิธีหาปลาในแต่ฤดูกาล แต่ละสถานที่ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม้แต่ในทุ่งนา วิถีของพาลปลาก็จะใช้ภูมิปัญญาที่แตกต่างกันไป
วิธีการในการสานแห
ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับแห
แหถี่(ตาเล็ก) มีตาเล็กกว่า1 นิ้ว แหห่าง (ตาใหญ่) มีตาใหญ่กว่า 1 นิ้วขึ้นไป
ถ้าแบ่งตามลักษณะของแห ลงน้ำที่นำแหไปใช้ คือ ทุกพื้นที่ ที่มีน้ำขัง จะใช้แหขนาดยาว 9 ศอก โดยการเหวี่ยงหรือหว่านแห จากเรือหาปลา สวนแหห้วย แหหนอง จะยาว 5 – 6 ศอก โดยการเหวี่ยงแหจากฝังหรือลุยน้ำเหวี่ยงแหในห้วย ในหนอง ถ้าแบ่งตามขนาดของแห นิยมใช้นิ้วมือเป็นเครื่องวัด คือแหชี้ (ขนาดตาแหนิ้วชี้) แหโป (ขนาดตาแหเท่าหัวแม่มือ) แหสอง (ขนาดตาแหเท่าสองนิ้ว) แหสาม แหสี่ แหห้า แหหก แหเจ็ด แหแปด (ใช้นิ้วมือเป็นมาตรฐานขนาดของตาแห)
สำหรับชาวบ้านชาวชนบทแล้ว แหคือความห่วงโซ่เรื่องอาหารและรายได้ เพื่อการยังชีพ ตราบใดที่แหล่งน้ำธรรมชาติยังมีอยู่ นั้นหมายถึงที่นั้นย่อมมีปลาและอาหารธรรมชาติ ดังนั้นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับแห ยังคงโยงใยกับชีวิตชาวบ้านของชนบท ทุกภาคตลอดไป เพราะวิถีชีวิตได้ถูกกำหนดและถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่แห ยังผูกพันกับปวงชนของบุคคลระดับกลางของสังคมชนบท
ป้ายคำ : ประมง, เครื่องมือ