โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

8 กันยายน 2556 ศาสตร์พระราชา 0

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เกิดขึ้นสืบเนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีพระราชดำริด้านปัญหาขยะและน้ำเสีย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การศึกษาวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะชุมชนที่ประหยัด สะดวก ทำได้ง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศได้อย่างกว้างขวาง

ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะที่ 1 ปี พ.ศ.2533-2536
    การทดลองศึกษาความเป็นไปได้ในการกำจัดขยะ
  • ระยะที่ 2 ปี พ.ศ.2537-2539
    การหารูปแบบการทดลองภาคปฏิบัติ ทดลองในภาคปฏิบัติ
  • ระยะที่ 3 ปี พ.ศ.2540-2542
    การหาประสิทธิภาพและสร้างแบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะ
  • ระยะที่ 4 ปี พ.ศ.2543 ถึงปัจจุบัน
    การส่งเสริมเผยแพร่เทคโนโลยีของโครงการฯ

เทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ
(1) เทคโนโลยีการกำจัดขยะ
โครงการฯ ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะชุมชนด้วยวิธีการทำปุ๋ยหมักซึ่งประหยัดพื้นที่ ประหยัดค่าใช้จ่าย และสะดวกในการนำปุ๋ยมาใช้ประโยชน์
หลักการ : โดยธรรมชาติ ขยะมีจุลินทรีย์อยู่แล้ว และเกิดการย่อยสลายเป็นไปตามธรรมชาติ แต่กระบวนการย่อยสลายอาจเป็นไปอย่างช้าๆ หรือแปรตามสภาพปัจจัยแวดล้อม เช่น ออกซิเจน ฯลฯ ส่วนมากหากนำขยะมากองรวมกัน นอกจากจะดูไม่สวยงามแล้ว ด้านล่างกองขยะจะเกิดการย่อยแบบไร้อากาศ ซึ่งขยะจะย่อยได้ช้า และเกิดก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรกของการย่อย โครงการได้พัฒนาเทคโนโลยีการหมักขยะขึ้น โดยปรับรูปแบบมาหมักขยะในภาชนะ/สิ่งก่อสร้างที่มิดชิด สามารถป้องกันน้ำชะขยะ แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น และช่วยให้การหมักเกิดต่อเนื่อง

(2) เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย
โครงการฯ รวบรวมน้ำเสียจากเทศบาลเมืองเพชรบุรีส่งผ่านท่อลำเลียงระยะทางประมาณ 18.5 กิโลเมตร เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการฯ โดยใช้กระบวนการทางธรรมชาติบำบัดน้ำเสียประกอบด้วย 4 ระบบ คือ
2.1 ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (lagoon treatment)
หลักการ : ระบบนี้ใช้หลักการบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยกลไกให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์สำหรับการหายใจและย่อยสลายของเสีย โดยมีลมพัดช่วยเติมอากาศและแสงแดดเป็นตัวช่วยฆ่าเชื้อโรคอีกทางหนึ่ง ระบบนี้เหมาะสำหรับเมืองในเขตร้อนเช่นประเทศไทย

lamepagbeanam

2.2 ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย (plant and grass filtration)
หลักการ : การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบนี้อาศัยหลักการใช้ดินเป็นตัวกรองของเสียและจุลินทรีย์ ในดินทำหน้าที่เป็นตัวย่อยของเสีย ของเสียที่ย่อยแล้วพืชจะเป็นตัวดูดเอาไปใช้ในการเติบโต ทำให้ของเสียเปลี่ยนเป็นมวลชีวภาพ น้ำเสียที่ผ่านระบบจะมีคุณภาพดีและสามารถระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้

lamepagbeakok

2.3 ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม (constructed wetland)
หลักการ : พืชน้ำโดยทั่วไปมีความสามารถในการปรับตัวอยู่ในสภาพน้ำขังได้โดยการดึงเอาออกซิเจนจากอากาศ ส่งผ่านระบบเนื้อเยื่อในส่วนลำต้นลงสู่ระบบลำต้นใต้ดินและราก ซึ่งอากาศในส่วนนี้จะปลดปล่อยออกไปสู่บริเวณรอบรากพืชทำให้จุลินทรีย์ในดินสามารถย่อยของเสียที่ถูกดินกรองได้แล้วเปลี่ยนไปเป็นสารที่พืชรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

lamepagbeabam

2.4 ระบบแปลงพืชป่าชายเลน (mangrove forest filtration)
หลักการ : พืชป่าชายเลน เป็นพืชที่มีคุณสมบัติคล้ายพืชน้ำ กล่าวคือสามารถดำรงชีพอยู่ในสภาวะน้ำท่วมขังได้ โดยมีการปรับตัวทางสรีระ เพื่อดึงออกซิเจนจากบรรยากาศ ส่งผ่านระบบลำต้นสู่ราก นอกจากนั้นยังมีรากอากาศที่สามารถดึงอากาศได้ ออกซิเจนที่พืชขนส่งไปที่ระบบราก ส่วนหนึ่งจะปลดปล่อยสู่บริเวณรอบๆ ราก และจุลินทรีย์ในดินสามารถนำไปใช้ในการย่อยสลายของเสียได้

lamepagbeaway

ปัจจุบัน การดำเนินงาน ศึกษาวิจัย ตามแผน ที่กำหนดไว้ ได้ดำเนินการ เรียบร้อยแล้วและ สามารถ สร้างคู่มือ สำหรับ ประยุกต์ใช้ เพื่อเผยแพร่ การศึกษา วิจัยคือ

  1. การบำบัดน้ำเสีย ด้วย ระบบ พื้นที่ชุ่มน้ำเทียม เป็น การบำบัดน้ำเสีย โดยการทำแปลงหรือ ทำบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำเสีย ที่รวบรวมได้ จากชุมชน และ ปลูกพืชน้ำ ที่ผ่าน การคัดเลือกแล้ว ว่าเหมาะสมที่สุด 2 ชนิด คือ กกกลม (กกจันทบูรณ์) (Cyperus Corymbosus Rottb.) และ ธูปฤาษี (Typha angustifolia Linn.)ช่วยใน การบำบัด น้ำเสีย โดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย 2 ระบบ คือ ระบบปิด เป็นระบบ ที่ให้น้ำเสียขังได้ ในระดับหนึ่ง และ มีการระบาย น้ำเสีย เติมลง ในระบบ ทุกวัน และ ระบบเปิด เป็นระบบที่ให้น้ำเสีย ลงสู่ ระบบบำบัด อย่างต่อเนื่อง น้ำเสียใหม่ เข้าไปดัน น้ำเสีย ที่ผ่าน การบำบัด ออกจากระบบ ให้ไหลล้น ทางระบายน้ำ หรือ ทางระบบท่อ ใต้ดิน สู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ซึ่งมีระยะ เวลา ในการพักน้ำเสีย 1 วัน และ พืชที่ปลูก สามารถ ตัดออก เพื่อ นำไป ใช้ประโยชน์ได้
  2. การบำบัด น้ำเสีย ด้วยระบบ พืชกรองน้ำเสีย เป็นการ บำบัดน้ำเสีย โดยการทำแปลง หรือ ทำบ่อ เพื่อกักเก็บ น้ำเสียที่รวบรวม ได้จากชุมชน และ ปลูกพืช ที่ผ่าน การคัดเลือกว่า เหมาะสม 3 ชนิด คือ ธูปฤาษี กกกลม (กกจันทบูรณ์) และ หญ้าแฝก อินโดนีเซีย ช่วยในการ บำบัดน้ำเสีย โดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย คือ ระบบ ที่ให้น้ำเสีย ขังไว้ 5 วัน และปล่อยทิ้งไว้ ให้แห้ง 2 วัน และ ระบายน้ำ ที่ผ่านการบำบัด ออกจากระบบ โดยปล่อย ระบายน้ำ สู่ แหล่งน้ำ ธรรมชาติ และ พืชที่ปลูก สามารถ ตัดออก เพื่อนำไป ใช้ประโยชน์ได้
  3. การบำบัด น้ำเสีย ด้วยระบบ บำบัดน้ำเสีย เป็นระบบ บำบัด แบบพึ่งพา ธรรมชาติ โดยอาศัย จุลินทรีย์ย่อยสลาย สารอินทรีย์ ในน้ำเสีย และ การเติม ออกซิเจน จากการ สังเคราะห์แสง ของแพลงตอน ในน้ำเสีย ซึ่ง ในการออกแบบ สามารถ รองรับ น้ำเสียได้ 4,500-10,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน โดยมี บ่อบำบัด น้ำเสีย จำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วย บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพ จำนวน 1 บ่อ ซึ่งคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำทิ้งชุมชน
  4. การบำบัดน้ำเสีย ด้วยระบบ หญ้ากรองน้ำเสีย เป็นการบำบัด โดยการทำแปลง หรือทำบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวม ได้จากชุมชน และปลูกหญ้า อาหารสัตว์ ที่ผ่านการคัดเลือก ว่าเหมาะสม 3 ชนิด ช่วยในการบำบัด คือ หญ้าสตาร์ (Cynodon plectostachyus) หญ้าคาลลา (Letpochloa fusca) และหญ้า โคสครอส(Sporobolus virginicus) มีลักษณะ การให้น้ำเสีย คือ ระบบที่ให้น้ำเสีย ขังไว้ 5 วัน และ ปล่อยทิ้ง ไว้ให้แห้ง 2 วัน และระบายน้ำ ที่ผ่านการบำบัด ออกจากระบบ โดยปล่อยระบายน้ำ สู่ แหล่งน้ำธรรมชาติ และหญ้าเหล่านี้ สามารถตัดออก นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้
  5. การบำบัดน้ำเสีย ด้วยระบบ แปลงพืชป่าชายเลน เป็นการบำบัด โดยการทำแปลง เพื่อกักเก็บน้ำทะเลและ น้ำเสีย ที่รวบรวม ได้จากชุมชน และ ปลูกป่าชายเลน ด้วยพันธุ์ไม้ 2 ชนิด คือ ต้นโกงกาง และ ต้นแสมเพื่อช่วย ในการบำบัด อาศัยการเจือจาง ระหว่างน้ำทะเล กับ น้ำเสีย สามารถ นำไปประยุกต์ ใช้กับชุมชนหรือ กิจการเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่มีพื้นที่ ติดอยู่กับ ป่าชายเลน ได้โดยไม่จำเป็น ต้องมีการก่อสร้าง แปลงพืชป่าชายเลน แต่จะต้องมี บ่อพักน้ำเสีย ไว้ระยะหนึ่ง และ ทำการ ระบายน้ำเสีย เหล่านั้น สู่พื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ ในขณะที่ น้ำทะเล ขึ้นสูงสุด ซึ่งจะเป็นการ บำบัดน้ำเสีย ได้ในระดับหนึ่ง
  6. การทำปุ๋ยหมัก จากขยะ โดยการฝังกลบ ในกล่องคอนกรีต จากการศึกษาวิจัย และ พัฒนา ในพื้นที่โครงการ ได้เทคโนโลยี การจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชน โดยวิธีการ ทำปุ๋ยหมัก จากขยะ ด้วยการ ใช้กล่อง และบ่อคอนกรีต โดยอาศัย หลักการ ธรรมชาติ ช่วยธรรมชาติ และ เหมาะสม กับการนำไปประยุกต์ใช้ ได้กับชุมชน และ ตามครัวเรือน กล่อง หรือ บ่อคอนกรีต ที่ใช้ ในการหมักขยะ สามารถ รองรับขยะได้ ดังนี้ คือ
    1) กล่องคอนกรีต ขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ย จากขยะได้สูงสุดเท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2,000 กิโลกรัม (2 ตัน)
    2) บ่อคอนกรีต ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถ หมักปุ๋ยจากขยะ ได้สูงสุด 1 ลูกบาศเมตร หรือ 330 กิโลกรัม
  7. แนวทาง การจำแนกรูปแบบ ทางสังคม การประชาสัมพันธ์ และ สิ่งแวดล้อม ศึกษาเทคโนโลยี ตามแนว พระราชดำริ ซึ่ง จากการศึกษา วิจัย สามารถ แบ่งลักษณะ ของชุมชน เป็น 5 กลุ่ม คือชุมชนเกษตรกรรมชุมชน พานิชยกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม ชุมชนท่องเที่ยว และ นันทนาการ และชุมชนผสม โดยจะทำให้นักประชาสัมพันธ์ และนักสิ่งแวดล้อม ศึกษาสามารถ วางแผน ในการประชาสัมพันธ์ และการให้ความรู้ เทคโนโลยี การกำจัดขยะ และ บำบัดน้ำเสีย ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

lamepagbeaboo
lamepagbeak

ผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการ

  • แม่น้ำเพชรบุรีมีคุณภาพน้ำดีขึ้น
  • ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
  • บ่อบำบัดน้ำเสียสามารถเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องให้อาหาร
  • ปุ๋ยหมักจากขยะและน้ำชะจากขยะสามารถนำมาปลูกพืชเกษตรได้
  • น้ำเสียและน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาใช้ปลูกพืชเกษตรได้
  • พืชที่เก็บเกี่ยวจากแปลงพืชบำบัดน้ำเสียนำมาทำเครื่องจักสานผลิตสินค้าหัตถกรรม และทำเยื่อกระดาษได้

การส่งเสริมเผยแพร่เทคโนโลยีสู่สาธารณชน

  • การประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ
  • การฝึกอบรมให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น ผู้บริหารท้องถิ่น กลุ่มสตรีแม่บ้าน นักเรียน นิสิตนักศึกษา ฯลฯ
  • การจัดประชุมสัมมนา/การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมวิชาการ
  • การบริการวิชาการ โดยให้คำปรึกษาในการวางแผนและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น

กิจกรรมท่องเที่ยว

  • ศึกษาหาความรู้ พัฒนารูปแบบ การกำจัดน้ำเสีย และขยะ โดยวิธีธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยโครงการได้เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยพร้อมคู่มือ สำหรับประยุกต์ใช้ และแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ ในการจัดการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมจากน้ำเสีย และขยะมูลฝอย
  • เดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน
  • ดูนกหายากหลายพันธุ์ เช่น นกยาง, นกกาน้ำเล็ก, นกเป็ดผีเล็ก, นกอีเสือสีน้ำตาล, นกกินเปรี้ยว

ข้อมูลเพิ่มเติม : โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โทร. 0 3244 1264-5 www.lerd.org ที่นี่ไม่เสียค่าใช้จ่าย หากต้องการที่จะเข้ามาชมป่าชายเลน สามารถแจ้งยามหน้าโครงการฯ และเข้ามาชมได้เลย หากมาเป็นคณะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น