โทงเทง สมุนไพรข้างถนน ขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน

9 กันยายน 2556 สมุนไพร 0

โทงเทงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้อง ถิ่น อาทิ โทงเทง โคมจีน เผาะแผะ ทุ้งทิ้ง มะก่องเช้า ตุ้งติ้ง ต็งอั้งเช้า ทุงทิง โคมญี่ปุ่น เป็นสมุนไพรเล็กๆ จำพวกมะเขือแต่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็น วัชพืช ต้นสูงประมาณครึ่งฟุต ถึง 2 ฟุต ใบกลมคล้ายใบพิมเสน แต่เล็กกว่าและบางกว่ามาก ดอกสีเหลือง ผลกลมพองเหมือนโคมจีนปลายแหลม โตประมาณเท่าลูกพุทราเขื่องๆ งามน่าดู มีขึ้นอยู่ตามที่ชุ่มชื้น และรกร้างว่างเปล่าทั่วๆ ไป

ชื่อสามัญ : Hogweed, Ground Cherry
ชื่อในประเทศไทย โทงเทง โคมจีน เผาะแผะ ทุ้งทิ้ง มะก่องเช้า ตุ้งติ้ง ต็งอั้งเช้า ทุงทิง โคมญี่ปุ่น บ่าตอมต๊อก (เชียงใหม่ ), หญ้าเถาเถง (อ่างทอง) ปุงปิง (นครศรีธรรมราช) , เตงหลั่งเช้า( จีน ) เป็นพืชจำพวกหญ้า
ชื่อในประเทศจีน ซึงเจี่ย อั้งโกวเนี้ย กิมเต็งลั้ง เต็งอั้งเช้า อ้วงบ๊อจู หลกซิ้งจู เทียงผาเช้า ขั่วกิมเต็ง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ไฟซาลิส มินิน่า (Physalis minima Linn)
วงศ์ ไซลานาซิอี้ (Solanaceae)

ลักษณะทั่วไป
โทงเทงเป็นสมุนไพรเล็กๆ จำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณครึ่งฟุต ถึง 2 ฟุต ใบกลมคล้ายใบพิมเสน แต่เล็กกว่าและบางกว่ามาก ดอกสีเหลือง ผลกลมพองเหมือนโคมจีนปลายแหลม โตประมาณเท่าลูกพุทร้าเขื่องๆ งามน่าดู มีขึ้นอยู่ตามที่ชุ่มชื้น และรกร้างว่างเปล่าทั่วๆ ไป คนจีนนิยมปลูกกันตามสวนยาจีน และนิยมใช้กันมาก เพราะรู้สรรคุณดี สำหรับไทยเราไม่ค่อยมีใครนิยมกันนัก

tongteangton

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำเปลือกเกลี้ยงสีเขียว โคนสีม่วงแดงและสีค่อย ๆ จางลงเป็นสีเขียวใสเป็นเหลี่ยม ยอดเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นสูงประมาณ 25 – 50 เซนติเมตร สูงเต็มที่ 120 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขา

  • ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับออกตามข้อ ๆ ละใบ มีก้านยาว 2 – 3 เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบพริก รูปหอกป้าน ปลายแหลมและขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 4 – 7 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบ 5 – 7 คู่
  • ดอก ออกระหว่างก้านใบกับลำต้น ดอกเล็กคล้ายดอกพริก แต่กลีบดอกสั้นและแข็งกว่า ดอกตูมทรงรีปลายแหลม เวลาบานเป็นรูปแตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกชั้นนอกหรือกลีบเลี้ยงมีสีเขียวอ่อน จำนวน 5 กลีบ ซึ่งจะเจริญเติบโตขยายตัวหุ้มผลภายในไว้หลวม ๆ ทำให้ดูเสมือนว่าผลพอง ออกดอกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เรื่อยไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน
  • ผล ผลโทงเทงมีกลีบดอกชั้นนอกหุ้มเหมือนโคมจีนสีเขียวอ่อนมีลายสีม่วง ผลภายในมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลกลมใสมีสีเขียวอ่อน และเมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง
  • เมล็ด ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก รูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 – 0.3 มิลลิเมตร มีเมือกหุ้มคล้ายมะเขือเทศจำนวนมาก

tongteangkla tongteangpon tongteangdib

ประโยชน์ที่ใช้ทางยา

  1. ใช้ทั้งต้นตำละลายกับเหล้า เอาสำลีชุบน้ำยาอมไว้ข้างๆ แก้มและค่อยๆ กลืนน้ำยาผ่านลำคอทีละน้อยๆ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในคอ (แซง้อ) และ แก้คออักเสบวิเศษนัก สำหรับท่านที่ไม่ดื่มสุรา จะใช้น้ำส้มสายชูแทนได้เป็นอย่างดี และได้ผลอย่างเดียวกัน
  2. ใช้ภายใน แก้ร้อนใน กระหายน้ำวิเศษ
  3. ใช้ภายนอก แก้ฟกบวม อักเสบ ทำให้เย็น
  4. จากตำราจีน ซีกเองตงเช่าเอียะฉิ่วแฉะ (หรือคู่มือสมุนไพรจีน ฉบับปฏิบัติ) กล่าวว่าขนาดใช้ ใช้ 2สลึง ถึง 3 สลึง ต้มกินแก้โรคต่อไปนี้ได้ดี
    4.1 หลอดลมอักเสบอย่างแรง ไอ หอบ ใช้โทงเทงกับเปลือกส้มจีนแห้งหรือตั้งพ๊วยอย่างละ 2 สลึง ต้มกินก็จะหาย
    4.2 หลอดอาหารอักเสบอย่างแรงจนคอบวมแดง กับเป็นแผลเน่า เป็นฝี ปัจจุบันนี้มียาแผนปัจจุบันใช้กันแล้ว แต่ถ้าไม่มี ให้ใช้โทงเทง กับเลี่ยงเคี้ยว (มีขายตามร้านขายยาจีน) อย่างละ 1 สลึง กับ 5 หุน (5 หุน เท่ากับ สลึง) ชะเอม 1 สลึง ต้มกินก็จะหาย หรือจะใช้โทงเทง แต่อย่างเดียวชงน้ำดื่มอย่างชา ก็จะมีผลเช่นกัน
    4.3 ฝีอักเสบมีพิษ ใช้สดๆ ตำให้แหลกพอก หรือถ้ามีแผลด้วย ก็เอาต้มน้ำชำระด้วย
  5. จากตำรา ซีกเองตงเอียะฉิ่วแฉะ (หรือคู่มือยาจีน ฉบับปฏิบัติ) กล่าวว่า โรคช่องปากอักเสบ ลิ้นอักเสบ น้ำปัสสาวะเป็นสีเหลือง ใช้โทงเทงอิงถิ่น และชะเอม อย่างละ 2 สลึง ต้มกินก็หาย
  6. จากตำราสมุนไพรจีนอีกเล่มหนึ่งชื่อ หิ่งต่อซีกเองตงเอียะ กล่าวว่า หลอดลมอักเสบอย่างแรง ไออย่างแรง คอเจ็บ โรคเสียงแหบต่างๆ ใช้โทงเทง 6 กรัม ชะเอม 3 กรัม ไต้ลักจื้อ 5 กรัม อัวน่ำจื้อ 5 กรัม เบ๊ปวก 1 กรัม ง๊วงเซียม 5 กรัม น้ำ 500 ซี.ซี. ต้มให้เหลือ 200 ซี.ซี. กินวันละ 3 หนก็หาย
    tongteangpol

เพิ่มเติมเรื่องโทงเทง
ผลรายงานทางคลินิก (จากหนังสือ พจนานุกรมสมุนไพรจีน ฉบับสมบูรณ์)

  1. แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 500 กรัม ผสมน้ำเชื่อมให้มีปริมาณ 500 ซี.ซี. รับประทานครั้งละ 50 ซี.ซี. วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร 10 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา กินติดต่อกัน 3 รอบ แต่ละรอบพัก 3 วัน จากการรักษาคนไข้ 50 ราย ได้ผล 39 ราย อาการดีขึ้น 10 ราย ไม่เห็นผล 1 รายจากการรักษาโรคไอมีเสมหะ หอบ หืด ได้ผลค่อนข้างดี ระยะเวลาของการรักษาโดยเฉลี่ย 3-6 วัน ยกเว้น 1 ราย ที่รักษาถึง 20 วัน ในระหว่างการรักษาคนไข้บางคน มีอาการรู้สึกใจคอ ไม่ค่อยดี อึดอัด เวียนหัว นอนไม่หลับ เหล่านี้เป็นอาการข้างเคียงของยานี้ หลังจากรักษา 1-5 วัน อาการเหล่านี้ ก็จะหายไปเอง มีคนไข้รายหนึ่ง กินต้นนี้สดๆ หนัก 750 กรัมในเวลา 2 วัน ก็ไม่ปรากฏอาการเป็นพิษแต่อย่างใด
  2. แก้ดีซ่าน ใช้ทั้งต้น 2 ต้น ต้มน้ำ คั้นเอาน้ำข้นๆ มาผสมน้ำตาลพอสมควร ให้รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง บางคนรับประทาน 10-15 ครั้ง ก็หายตัวเหลือง
  3. แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นนี้สดๆ (หรืออย่างแห้งก็ใช้ได้) 3 หัว แผ่น ฝักชุบน้ำตาล 2 แผ่น ใส่น้ำ 1 ถ้วย ต้มให้เหลือครึ่งถ้วย รับประทานครั้งเดียวหมด เด็กก็รับประทานลดลงตามส่วน จากการรักษาคนไข้ร้อยกว่าราย บางคนรับประทาน 4-10 ครั้งก็หาย บางคนรับประทานติดต่อกันถึง 2 เดือนจึงหาย
    tongteangtree

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น