โรครากเน่า รากเปื่อย

4 กันยายน 2559 วิชาเกษตรพึ่งตน 1

หากเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพืชชนิดใดแล้วนั้น จะนำมาซึ่งความสูญเสียรายได้ และ สูญเสียผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก เพราะโรครากเน่าโคนเน่านั้น ทำให้พืชขาดสารอาหาร เนื่องจากระบบรากพืชถูกทำลาย เชื้อโรคจะเข้าทำลายรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้น และถ้าเป็นมากอาจจะติดเชื้อลุกลามเข้าไปในท่อนำอาหารของพืช บางครั้งทำให้พืชบางชนิดก็ตายได้อย่างฉับพลัน ทั้งๆที่ความเขียวของต้นยังคงอยู่ หรือที่เรียกว่าพืชยืนต้นตาย ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากให้แก่เกษตรกร

raknawton

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Phytophthoraspp. Sclerotium spp. หรือเห็ดราใน Class Ascomycetes และ Basidiomycetes โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน หรือสภาพที่มีความชื้นสูง แพร่ระบาดโดยสปอร์เชื้อรา โดยเฉพาะต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่ชื้นแฉะตลอดเวลา
สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟท้อฟเธอร่า(Phytophthora) เชื้อรากลุ่มนี้ ปกติจะอาศัยอยู่ในดินอยู่แล้ว เวลาที่ต้นพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟท้อฟเธอร่าก็จะเข้ามาทำลายทันที สังเกตว่าหากพืชชนิดนั้นเป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลง แต่จะพบบางต้นเท่านั้นที่เป็นโรค และจากนั้นจึงค่อยๆลุกลามไปยังต้นข้างเคียง แสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟท้อฟเธอร่า จะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่ำสุดก่อน แต่ถ้าดูแลให้พืชแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดต่ำลงตามไปด้วย

raknawman

สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า

  • เชื้อราในดิน ซึ่งมีหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ เชื้อราหลักๆที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าคือ เชื้อราไฟท้อฟเธอร่า(Phytophthora) ซึ่งเชื้อรานี้ อาจติดมากับเมล็ดอาจอยู่ในดินและวัสุดุปลูก อาจอยู่ในน้ำที่ใช้รด หรือติดมาจากถาดที่ใช้เพาะกล้า
  • สภาพแวดล้อมที่ทำให้เชื้อระบาดได้ง่ายคือ อากาศร้อน ช่วงฤดูฝน และช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราที่ทำให้เกิดโรค ที่อาศัยอยู่ในดินเจริญเติบโตได้ดีและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว
  • ดินหรือวัสดุเพาะระบายน้ำไม่ดี หรือมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้เช่นกัน

โรครากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่พบมากในพืชดังต่อไปนี้ ได้แก่ ทุเรียน กล้วย ส้ม ลองกอง ลางสาด สตรอเบอรี่ ส้ม ลำไย เงาะ แตงโม พริก มะเขือ มะเขือเทศ มะนาว แตงกวา ปาล์ม ยางพารา พืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ และพืชอื่นๆ อีกมากมาย

raknawkon

ลักษณะอาการ
ต้นไม้ที่เกิดโรครากเน่า จะสังเกตเห็นได้ว่าอาการใบจะมีสีเหลืองซีดถึงเหลือง โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ จากโคนใบไปถึงยอด ใบจะเขียวม้วนงอ เมื่อโดนแดดจัด ๆ ในตอนกลางวัน หรือใบเหี่ยวคล้ายขาดน ้า ใบจะร่วงกิ่งแห้งตาย ผลมีสีเหลืองร่วงหล่นง่าย เมื่อขุดดูที่รากจะพบว่ารากฝอยเน่า รากถอดปลอก มีกลิ่นเหม็น รากแขนงหรือรากขนาดโตเน่าเปื่อยยุ่ย และลุกลามไปทั่ว ใบแห้ง ผลร่วง ถ้าเป็นมากอาจถึงต้นตายได้ ในเวลารวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่ทำให้รากเน่า เช่น น ้าท่วมขัง การใช้สารเคมีผิด และพิษจากปุ๋ยเคมี เป็นต้น

raknawrak

นอกจากนี้อาการโรครากเน่า หรือรากเปื่อยเกิดจากเห็ดราที่ทำลายไม้ได้เช่นกัน เห็ดราหลายชนิดเป็นสมาชิกใน Class Ascomycetesและ Basidiomycetes สามารถทำลายส่วนที่เป็นแก่นไม้และกระพี้ของไม้ โดยปล่อยเอ็นไซม์ออกมาย่อยสลายส่วนประกอบของไม้ จะเห็นว่าส่วนมากเห็ดราจะทำลายส่วนที่มีอาหารมาก คือทำลายกระพี้ก่อนแล้วจึงทำลายถึงแก่นไม้ เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสมจะเจริญและงอกเส้นใยแทงทะลุไปในเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้ผุพัง เส้นใยจะเข้าไปภายในเนื้อไม้ได้มากขึ้น ซึ่งการเข้าทำลายและทำให้ไม้ ผุพังแบ่ง
ออกได้ 2 ระยะ คือ
1.ระยะเริ่มแรก (case stage หรือ incipient stage)เป็นระยะที่เชื้อราอยู่ในเนื้อไม้และไม่มีอันตราย โดยเส้นใยของเชื้อราจะผ่านไปตามเซลล์ของไม้ จากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง โดยการเจาะทะลุผนังเซลล์
2.ระยะผุ (Advanced decay stage)ทำให้เนื้อไม้เปื่อยยุ่ยเหมือนฟองน ้าเนื้อไม้หลุดออกเป็นหย่อม ๆ หรือมีรอยแตกตามขวางเสี้ยนไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นระยะไม้ผุรุนแรง

raknawsraknawna

อาการของโรครากเน่าโคนเน่า

  • ทำให้เมล็ดไม่งอก หรือ เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนแล้วตาย
  • ทำให้ต้นคอดลง ลำต้นแห้ง ต้นล้ม และตายในที่สุด
  • ใบจะเริ่มมีอาการเหลืองซีด โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อน แล้วค่อยๆลุกลามไปเรื่อยๆ จนใบค่อยๆร่วงไปเรื่อยๆจนร่วงหมดต้น จากนั้น กิ่งเริ่มแห้ง และพืชก็จะยืนต้นตายในที่สุด

วิธีป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่า

  • ควรเลือกใช้ดิน และวัสดุปลูกที่ค่อนข้างสะอาด ระบายน้ำได้ดี
  • ในการเพาะกล้า ไม่ควรใส่เมล็ดในวัสดุเพาะจนลึกเกินไป
  • ไม่ควรเพาะกล้าหนาแน่นเกินไป
  • ควรเลือกบริเวณเพาะกล้าที่มีสภาพอากาศโปร่งอากาศระบายได้ดี ไม่มีความชื้นสูง
  • ไม่ควรรดน้ำมากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
  • เลือกแหล่งน้ำที่สะอาดสำหรับใช้ในการรดกล้าผัก
  • ใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ผสมกับดินปลูก ใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูก หรือผสมกับน้ำเพื่อใช้รด
  • ป้องกันอย่าให้น ้าขังหรือแฉะที่โคนต้น เพราะเป็นสาเหตุชักนำให้ เกิดโรคเชื้อราได้ง่ายนั้นเอง
  • ปรับสภาพดินปลูกให้โปร่ง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำให้การระบายน ้าอากาศดี
  • ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และ แสงแดดส่องเข้ามาถึงโคนต้น
  • ควรหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้โคนต้น ราก เกิดบาด แผลเพราะเชื้อราสาเหตุจะเข้าทำลายได้ง่าย
  • หากต้นทรุดโทรม ในระยะแรกควรบำรุงต้นด้วยการให้ธาตุอาหารเสริมทางใบเพราะรากทำงานไม่เต็มที่

เชื้อราไตรโคเดอร์มา

  • คลุกเมล็ด ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1-2 ช้อนแกง(10-20กรัม) ต่อเมล็ดพืช 1กิโลกรัม โดยคลุกเคล้าให้เข้ากันในถุง อาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น
  • รองก้นหลุมและการหว่าน ใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า 1กิโลกรัม ต่อ รำละเอียด 5 กิโลกรัม ต่อ ปุ๋ยหมัก 40กิโลกรัม ผสม3อย่างนี้ให้เข้ากัน เพื่อใช้รองก้นหลุมและใช้หว่าน
    1. ใช้ในพืชผัก รองก้นหลุม อัตรา 10-20 กรัม/ต้น
    2. ใช้หว่านในแปลงปลูก อัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร
    3. ใช้ในพืชสวน หว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา 3-5 กิโลกรัม/ต้น
  • ผสมกับวัสดุปลูก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า1ส่วน ต่อวัสดุปลูก 4ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนบรรจุลงในภาชนะเพาะเมล็ด หรือภาชนะเพาะกล้า
  • ไตรโคเดอร์มา อัตรา 50-100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้น ราดดิน หรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น
  • ไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กิโลกรัม ผสม ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก 50 กิโลกรัมคลุกให้เข้ากัน จากนั้นนำไปโรยรอบๆโคนต้น ต้นละ ครึ่งกิโลกรัม
  • ไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 กรัม ต่อ สารละลาย 200 ลิตร สำหรับพืชผักระบบไฮโดรโพนิกส์
  • ควรใช้ ไตรโคเดอร์ม่า ซ้ำ อย่างน้อยเดือนละ 2-4 ครั้ง เพื่อป้องกันและรักษาไม่ให้เกิดโรครากเน่าและโคนเน่าซ้ำขึ้นมาอีก

ในการรักษาโรครากเน่าโคนเน่า

  • ไม่ควรใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า เพราะสารเคมีจะทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและระบบนิเวศน์ เป็นผลให้ในระยะยาวพืชที่นำมาปลูกใหม่นั้น ขาดภูมิคุ้มกันที่เคยได้รับจากระบบนิเวศน์ ทำให้ต้องพึ่งสารเคมีที่เป็นอันตรายมากขึ้น แต่เชื้อโรคที่ทำให้เกิดรากเน่าโคนเน่าก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม หรืออาจเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีกด้วย
  • การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในการป้องกันและกำจัดโรครากเน่าโคนเน่านั้นไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันและกำจัดโรคเท่านั้นแต่ยังช่วยรักษาระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรักษาต้นพืชให้มีความปลอดภัยอีกด้วย เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ได้มาจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยต่อพืช เกษตรกรผู้ใช้ และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

raknawbai

โรครากเน่าโคนเน่า สามารถป้องกันได้ตั้งแต่พืชยังไม่เป็นโรค ไม่ควรให้พืชแสดงอาการก่อน แล้วค่อยรีบมารักษาทีหลัง เพราะถ้าพืชเป็นโรครากเน่าโคนเน่าแล้ว อาจรักษาไม่ทันก็ได้
ดังนั้นควรใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าตั้งแต่ต้น ดีกว่าปล่อยให้โรคลุกลามจนรักษาไม่ทัน ซึ่งจะเกิดผลเสียตามมามากมาย รวมถึงการสูญเสียรายได้ และ สูญเสียผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

1 ความคิดเห็น

  1. บันทึก พฤศจิกายน 20, 2018 ใน 19:10

    สุดยอดเลยค้บ

แสดงความคิดเห็น