โรคราดำ

27 กันยายน 2559 วิชาเกษตรพึ่งตน 0

ราดำ (sooty mold) เกิดเนื่องจากเชื้อราสีดำเจริญขึ้นปกคลุมผิวใบ กิ่ง และผล บนน้ำหวานที่แมลงปากดูดถ่ายออกมา พบในส้มเกือบทุกชนิดในแหล่งปลูกส้มทั่วๆไป เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางอ้อม เช่น ทำให้ใบส้มสังเคราะห์แสง สร้างอาหารได้น้อยลง ใบสกปรกและกระด้าง ถ้าเกิดกับผลทำให้ผลสกปรกไม่สวย นอกจากนี้บริเวณที่เกิดราดำปกคลุมยังเป็นที่หลบซ่อนของแมลงศัตรูส้มอีกด้วย

radambai

สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อราเมลิโอลา Meliola sp. หรือ แคปโนเดียม Capnodium citri B. & Pesm.

การแพร่ระบาด : ราดำเป็นเชื้อที่สามารถแพร่ระบาดจากต้นหนึ่งไปยังต้นอื่นๆ โดยเส้นใยและสปอร์ปลิวไปกับลม เมื่อตกลงบนน้ำหวานที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมา เชื้อราก็จะเจริญขึ้นปกคลุมเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณนั้น เชื้อราดำแพร่ระบาดภายหลังแมลงพวกดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งเข้าทำลายต้นลิ้นจี่ แล้วขับถ่ายสารเหนียวเป็นละอองน้ำหวาน (honey dew) ลงบนพืช ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราดำ

radams

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อรา

  • แปลงปลูกค่อนข้างรกทึบ ขาดการปฏิบัติดูแลที่ถูกต้อง เช่น การกำจัดวัชพืช การตัดแต่ง ทำให้ต้นส้มมีสภาพอ่อนแอไม่แข็งแรง
  • การไม่ฉีดสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลง ฉีดพ่นน้อยครั้งเกินไปหรือฉีดพ่นไม่เหมาะสมกับสภาพและฤดูกาล

ลักษณะอาการ
ราดำสามารถเจริญขึ้นปกคลุมได้ทั้งบนใบ ผล และกิ่งก้านส้ม โดยเกิดอยู่บนน้ำหวานที่แมลงปากดูดถ่ายออกมาแมลงปากดูดเหล่านี้ ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และแมลงหวี่ขาง เป็นต้น ซึ่งแมลงศัตรูส้มที่เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ อาการแรกเริมของราดำ คือ จุดขนาดเล็กมีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลดำ ต่อมาเชื้อราเจริญลุกลามเป็นจุดใหญ่มีการสร้างเส้นใยและสปอร์ขึ้นแผ่ปกคลุม ลักษณะเป็นผงละเอียดเกาะติดแน่นบนเนื้อเยื่อพืช หากใช้นิ้วมือหรือมีดขูดออกเบาๆเชื้อราดำจะหลุดลอกออกเป็นแผ่น บริเวณที่ถูกปกคลุมจะมีสีเหลืองถึงเหลืองซีด เนื่องจากเชื้อราบดบังแสงแดดทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ ถ้าเกิดมากๆอาจทำให้ส้มแคระแกร็น ในระยะที่ส้มให้ผลอาจทำให้ผลส้มร่วงก่อนกำหนด ใบ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผง มีสีดำ ขึ้นเจริญปกคลุมทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและผิวของผลไม่สะอาด เมื่อถูกน้ำฝนชะล้างคราบเขม่าสีดำของเชื้อราจะหลุดไปเอง

radamking

radamrak

การป้องกันกำจัด

  • หากราดำเริมเจริญหรือพบราดำไม่มาก ให้ควบคุมและกำจัดโดยการตัดแต่งส่วนที่มีราดำแล้วเผาทำลาย
  • สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคราซึ่งใช้กับส้มโดยปกติทั่วๆไป สามารถใช้ควบคุมเชื้อนี้ได้ แต่ถ้าพบราดำเกิดมากๆอาจใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มเบโนมิล หรือผสมกับสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มแมนโคเซบ เป็นต้น
  • ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงเพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างสม่ำเสมอ
  • การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงปากดูด เช่น คาร์บาริล ไดเมทโธเอท มาลาไธออน โมโนโครโตฟอส เป็นต้นสามารถลดปริมาณราดำลงได้
  • ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ทุก7-10วันฉีดพ่นทั้งใบและลำต้น

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น