โรงเรียน กาสรกสิวิทย์จัดตั้งขึ้นตามพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกกระบือ และให้เกษตรกรมาใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกระบือเพื่องานเกษตรกรรม โดยเกษตรกรจะเข้าพักอาศัยตามสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ไม่ดิ้นรนหาความเดือดร้อน นับเป็นการฝึกกระบือให้ทำการเกษตรได้ดี และฝึกคนให้เข้าใจถึงวิธีการใช้กระบือในการทำเกษตรกรรม
โรงเรียรกาสรกสิวิทย์ ในโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา เนื้อที่ 120 ไร่ ต.ศาลาลำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารรี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยให้เป็นศูนย์กลางอบรมเกษตรกรและกระบือในการทำนา ทำการเกษตรและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตราสัญญลักษณ์ เป็นรูปหัวกระบือสีเขียวสดใสคาบฟางสีทอง ออกแบบโดย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ มีกระบือผู้ให้ความรู้ 25 ตัว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบือทรงเลี้ยงที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย ส่วนกระบือผู้เรียนรู้นั้น จะเป็นกระบือจากธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ในปีแรกจะทำการฝึกจำนวนรุ่นละ 5 ตัว ปีละ 10 รุ่น 1 ปี รวม 50 ตัว และจะเพิ่มจำนวนกระบือผู้เรียนรู้เมื่อการฝึกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
เกษตรกร ผู้ที่จะรับกระบือจากโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจจริงในการนำกระบือไปใช้ในการเกษตรของตนอย่าง จริงจัง และจะต้องเข้ามาฝึกกับครูฝึกสอนผู้ใช้กระบือของโรงเรียน ซึ่งเป็นปราญช์ชาวบ้านที่มีความชำนาญในการฝึกและควบคุมกระบือเพื่อใช้ใน เกษตรกรรม นอกจากจะได้รับการอบรมการใช้กระบือทำการเกษตรแล้ว เกษตรกรจะได้รับความรู้ทั้งด้านการเลี้ยงและดูแลกระบือ การจัดการเรื่องหญ้าและอาหารกระบือ การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
นอกจาก นี้ โรงเรียนกาสรกสิวิทย์จะทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกให้ตรงตามสายพันธุ์และมีคุณภาพดี ไม่มีการเจือปน เพื่อขยายผลถึงเกษตรกร ให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี เพื่อนำไปปลูกให้ได้ผลผลิตต่อไป
สำหรับ เครื่องมือและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะนำมาจัดแสดงภายในบริเวณโรงเรียน เป็นสิ่งที่ทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน และอุปกรณ์ทุกชิ้นที่แสดงจะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง หลังจากการนำไปใช้แล้ว จะทำความสะอาด เก็บเข้าที่เดิม และจัดแสดงต่อไป เพื่อให้เป็นนิทรรศการที่เคลื่อนไหวและมีชีวิต สอดคล้องกับความเป็นจริง
การ ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน และยังได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างโครงการพระราชดำริ โดยได้นำราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เข้ามาถ่ายทอดความรู้ระดับท้องถิ่นสู่ท้องถิ่น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และภูมิปัญญาในระดับชาวบ้านด้วยกัน
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เป็นที่ที่ผลิตกระบือที่มีความสามารถในการทำเกษตรกรรมได้อย่างดี เพื่อให้เกษตรกรที่รับกระบือจากโรงเรียนไป สามารถใช้กระบือดังกล่าวทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองและการอยู่อย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ดูแลสภาพแวดล้อม และรักษาธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกันเกื้อกูลกันสืบต่อไป
กิจกรรมในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์
1. การอบรมเกษตรกรและการฝึกกระบือผู้เรียนรู้
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์มีปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผุ้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำการเกษตร ให้เกษตรกร เยาวชน และประชาชน ที่สนใจการใช้กระบือทำการเกษตร หลักสูตรการฝึกกระบือของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะฝึกกระบือให้เชื่องและสามารถไถนาได้อย่างชำนาญ และฝึกเกษตรกรให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตร่วมกับกระบือ สามารถใช้อุปกรณ์ ไถนาได้อย่าง ถูกต้อง ควบคุมกระบือให้อยู่ในคำสั่งสามารถเลี้อง และดูแลกระบือ มีความรู้ในการจัดการเรื่องหญ้าและอาหารเสริมนอกจากนี้จะเสริมความรู้ด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผสมผสาน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
2. นิทรรศการ
มีโรงเรือนแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำนาที่ใช้มากันตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ิแสดงจะนำไปใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่โรงเรียนหลังจากนำไปใช้แล้วจะทำความสะอาด เก็บเข้าที่เดิมเพื่อจัดแสดงต่อไป นับเป็นนิทรรศการที่มีชีวิต คือจะมีการเคลื่อนไหวและนำไปใช้จริง โดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตลอดเวลา
3. แปลงนา
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์มีแปลงนาที่ปลูกข้าวในระยะเวลาต่างกัน เพื่อให้ได้เห็นข้าวในระยะต่าง ๆและจะปลูกข้าวสลับกับพืชหลังนาและพืชบำรุงดิน เพื่อให้ดินในแปลงนามีความอุดมสมบูรณ์เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี
4. สระมะรุมล้อมรัก
มูลนิธิชัยพัฒนาได้ขุดสระน้ำมีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ในบริเวณด้านหน้าโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เมื่อวันที 10 มีนาคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปล่อยปลาไทย 9 ชนิด จำนวน 905 ตัว บริเวณโดยรอบสระได้ทำดินเป็นขั้นบั้นได ปลูกหย้าแฝกเพื่อป้องกันดินพังทลาย และได้ปลูกต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะต้นมะรุมและต้นรัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสระมะรุมล้อมรัก
5. ต้นไม้ในโรงเรียนกาสร
ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จะเป็นต้นไม้ที่รับประทานได้ทั้งสิ้น มีทั้งไม้ผล สมุนไพรและต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น มะรุม แค ขี้เหล้ก ชะอม ยอ มะดัน มะม่วง มะยม ชมพู่ ขนุน มะยงชิด มะปราง หว้า กล้วย อ้อย มะกอก กระวาน อบเชย ข่า ตะไคร้ ไผ่ รวมทั้งต้น กระเบาจากวังสระปทุม ที่สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปลูกเป็นสิริมงคลที่บริเวณหน้า สำนักงานของโรงเรียน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
6. บ้านดิน
เป็นที่พักของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและวิทยากร และเป็นต้นแบบของที่อยู่อาศัยจริงเพื่อหาขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนและสภาพของการพักอาศัย เพื่อใช้เป้นที่อยู่อาศัยต้นแบบของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ซึ่งเป็นแบบที่ผู้เข้ารับการฝึกสามารถกลับไปปลูกสร้างเองได้โดยใช้วัสดุถายในท้องถิ่นนั้น ๆ
7. ร้านควายคะนอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เปิดร้านกาแฟควายคะนอง เพื่อขายกาแฟและผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
สถานที่ติดต่อ
1. โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
เลขที่ 999 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โทรศัพท์ 0-3743-5058
2. มูลนิธิชัยพัฒนา
อาคาร 608 สนามเสือป่า พระราชวังดุสิต ถนนศรีอยุธยา ดุสิต กทม.10300 โทรศัพท์ 0-2282-4425-8
โทรสาร 0-2282-3339
3. ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ
ส่วนกลาง: กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี ตึกชัยอัศวรักษ์ ขั้น 4 กรมปศุสัตว์ถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 0-2653-4926
สวนภูมิภาค: สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ทั่วประเทศ
ป้ายคำ : เศรษฐกิจพอเพียง