ต้นโสนหางไก่ มักขึ้นได้เองตามริมคันนา หรือในนาที่ปล่อยทิ้งร้างไว้ เพราะเป็นพืชที่ชอบน้ำชื้นแฉะ และ กลายเป็นวัชพืชที่เกษตรกรมักจะถอนหรือตัดทิ้งไว้ตามคันนา เวลาน้ำท่วมทุ่งปะปนอยู่กับข้าวและจะขึ้นตามท้องที่เคยมีต้นโสนขึ้นเป็นประจำ ออกดอกเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง มีลักษณะลำต้นกลมยาว เปลือกสีน้ำตาล โดยปล่อยให้แดดเผาจนแห้งอย่างไร้คุณค่า ต่อมาก็มีการนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งใช้มัดรวมกันไว้สำหรับปัก…ปัจจัยเพื่อติดกัณฑ์เทศน์ในงานเทศกาลเทศน์มหาชาติ หรือทำเป็น ต้นกฐิน ต้นผ้าป่าตามงานบุญต่างๆ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aeschynomene indics L.
วงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่ออื่น โสนหางไก่เล็ก โสนหิน
ลักษณะ
พืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 50 150 ซม. ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 5 12 ซม. ใบย่อยผิวเกลี้ยง 15 42 คู่ ติดบนแกนกลางแบบตรงข้าม ดอก แบบดอกถั่ว สีเหลืองอมชมพู อาจมีจุดหรือลายสีม่วง ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะ จำนวน 4 ดอก กลีบตั้งแผ่กว้าง กลีบเลี้ยงแยกกัน 4 กลับ ซ้อนกันเป็นคู่ กลีบดอกสมมาตรทางด้านข้าง เกสรเพศผู้แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 อัน ก้านเกสรยาวเท่ากัน รังไข่รูปรีโค้ง ยาว 3 5 มม. ผล เป็นฝัก แบนทางด้านข้าง กว้าง2 4 มม. ยาว 2.5 4 ซม. ผนังกั้นเป็นห้องตามขวาง เมื่อแก่จะหักได้เป็นท่อน เมล็ด รูปไต ผิวมัน สีน้ำตาลเข้มหรือดำ
การกระจายพันธุ์
อินเดียถึงเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นได้ดีทั่วไปตามริมฝั่งน้ำ ริมบึง และที่ชื้นหรือในพื้นที่การเกษตร
การประดิษฐ์ดอกไม้จากโสน
นำต้นโสนที่โตสมบูรณ์ ลำต้นอวบ และต้นแก่แล้วมาทั้งต้นและราก แล้วนำมาล้างให้สะอาดโดยใช้กาบมะพร้าวถูดินออกจากลำต้นจนหมดแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง ห้ามถูกฝน นำเก็บเข้ายุ้ง ต้นโสนที่แห้งแล้วนี้แม้ว่าจะเก็บนานถึง 2 3 ปี ก็ยังสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้
ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์ดอกไม้จากพลาสติก โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แต่ดอกไม้โสนก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่ชาวบ้านชอบและรัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ประดับในงานบวช งานศพ ที่ไม่ต้องลงทุนมากนัก นับว่าการประดิษฐ์ดอกไม้โสนที่อยุธยาเป็นงานช่างฝีมือและเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของชาวบ้านในอยุธยาที่ควรรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน