สมไทย เป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียว นำยอดและใบอ่อนมารับประทานได้ เช่น ผัดกับเนื้อสัตว์ แกงส้ม แกงเลียง จิ้มน้ำพริก (ได้ทั้งดิบ ๆ และลวก) แกงจืดหมูสับก็ได้ โดยเฉพาะผัดกับน้ำมันหอย แบบผักบุ้งไฟแดง กินกับข้าวต้มกุ๊ย อร่อยมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Talinum paniculatum Gaertn.
ชื่ออื่น ว่านผักปัง โสมคน
ชื่อวงศ์ Portulacaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก ขนาดเล็ก มีอายุหลายปี สูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดินเมื่อรากโตเต็มที่จะมีรูปร่างเหมือนโสมจีน ต้นเป็นเหลี่ยม ลำต้นฉ่ำน้ำ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กลับปลายโตแหลม ยาว 6-13 เซนติเมตร โคนสอบแหลม ปลายใบมนหรือแหลมสั้น แผ่อยู่เหนือดิน ใบมีสีเขียวเรียบเป็นมัน ดอกมีขนาดเล็ก เป็นช่อที่ส่วนยอดหรือปลายกิ่ง สีชมพู มี 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ร่วงง่าย เกสรตัวผู้มี 10 อัน ก้านช่อตั้งสูง ผลสีแดง กลมรี มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเทา เมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน สีดำ ใบและต้นนำมาผัด เป็นผักที่มีรสดี ใช้แทนผักโขมสวนได้ เป็นพืชที่อุดมด้วยวิตามิน เป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้
“โสมไทย” มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัสเหล็ก วิตามิน เอ / บี1 / บี2 / มี เอสเซนเซียลออยล์ (essential oils) มีสารที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) มีโครมีน (chromene) มีน้ำมันหอมระเหยเล็กน้อย และมีสารสำคัญ เช่น ทูจีน (thujene) บอร์นีออล (borneol) เมอร์ซีน (myrcene) ไลโมนีน (limonene) ไพนีน (pinene) แคมฟีน (camphene) การบูร (camphor) ซินีออล (cineol) รูบรามีน (rubramine) และ พินโนสโตรบิน (pinostrobin) เป็นต้น
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ เหง้า รสหวานร้อน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย หรือทาภายนอกแก้อักเสบ ลดอาการบวม ใบ แก้บวมอักเสบมีหนอง ขับน้ำนม ราก บำรุงปอด แก้อาการอ่อนเพลีย หรือหลังฟื้นไข้ ปัสสาวะขัด เหงื่อออกมาก ศีรษะมีไข้ ไอเป็นเลือด แก้ไอ บำรุงปอด ประจำเดือนผิดปกติ ท้องเสีย
โสมไทย เป็นผักฤทธิ์เย็น สามารถนำมาทำเเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ได้
สรรพคุณของโสมไทยและวิธีใช้
ส่วนที่ใช้ประโยชน์คือ ยอดอ่อน ใบ และหัว
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน, สมุนไพร