ไผ่ตงเป็นไม้ยืนต้นเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มีการปลูกแพร่หลายทั่ว ประเทศ เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งเพื่อการบริโภคและ อุปโภค อีกอย่างช่วงระยะที่สถานการณ์ไผ่ออกดอก ผลผลิตลดน้อยลง จนถึงขณะนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
ไผ่ตงสกุล Dendrocalamus Nees ชื่อสกุลนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า “dendro” แปลว่า ต้นไม้ และ “kalamos” แปลว่าพืชจำพวกหวาย รวมหมายถึง “หวายที่เป็นกอคล้ายต้นไม้” จึงสื่อถึงลักษณะของไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ พบประมาณ 50 ชนิดแต่พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตอินเดีย จีน อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป
ไผ่ตงมีชื่อสามัญว่า Rough Giant Bamboo เป็นไผ่ประเภทเหง้ามีกอขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร ลำตรงอัดกันเป็นกอค่อนข้างแน่น ปลายลำโค้งถึงห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 10-20 เซนติเมตร ปล้องยาว 20-50 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1-3.5 เซนติเมตร ลำอ่อนปล้องล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปล้องบนมีขนสีขาวหรือสีเทาปกคลุม ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา ปล้องล่างยังมีขนปกคลุมหนาแน่นและมักมีรากอากาศจำนวนมากออกตามข้อ แตกกิ่งต่ำหรือตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีข้อลำ 3-5 กิ่ง กิ่งเด่นหนึ่งกิ่งอยู่ตรงกลาง กิ่งที่เหลือขนาดไล่เลี่ยกันมักมีรากอากาศที่กิ่ง
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
กล่าวกันว่าไผ่ตงนำมาจากจีน บางครั้งมีรายงานว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากอินโดเนเซีย แต่ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด ในไทยนิยมปลูกทั่วทุกภาค ไม่พบในป่าธรรมชาติ บางครั้งอาจพบขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ป่าที่เคยมีการทำสัมปทานไม้ในอดีต เช่น พื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี สันนิษฐานว่าหลงเหลือจากการนำไผ่ตงไปปลูกเพื่อใช้สอยในค่ายที่พักของคนงานที่เข้าไปทำไม้ในอดีต
ไผ่ตงมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ดังนี้
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ไผ่ตงที่เจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอกและตายในที่สุด ตามปกติแล้วไผ่ตงจะออกดอกในช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน-มกราคม และเมล็ดจะร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เราสามารถใช้เมล็ดที่หล่นนี้มาเพาะเป็นต้นกล้าใหม่ได้โดยมีวิธีการคือ
เก็บเมล็ดพันธุ์ไผ่ตงที่ร่วงหล่นตามพื้นมาทำความสะอาดและทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์โดยการใช้กระด้งฝัด จากนั้นเอาเปลือกนอกของเมล็ดพันธุ์ออกโดยใช้รองเท้าแตะที่เป็นยางนวดขัดเมล็ดพันธุ์กับกระด้งเพื่อให้เปลือกหลุดออก จากนั้นฝัดด้วยกระด้งอีกครั้งเพื่อให้เปลือกที่หลุดปลิวหล่นไป นำเมล็ดที่ได้ไปพึ่งแดดประมาณ 1 แดด เพื่อช่วยป้องกันแมลง
เพาะกล้าไผ่ตง โดยนำเมล็ดที่ได้จากการพึ่งแดดมาแช่น้ำประมาณ 2 คืน หรืออาจใช้วิธีแช่ในน้ำอุ่น 2 ชั่วโมง แล้วแช่ในน้ำปกติอีก 1 วันก็ได้เช่นกัน เมื่อครบกำหนดนำเมล็กขึ้นจากน้ำแล้วห่อหุ้มด้วยผ้าที่เปียกชื้นอีกประมาณ 2 คืน เพื่อเร่งการงอกของราก
นำเมล็ดที่งอกแล้วไปเพาะปลูกลงแปลงขี้เถ้าแกลบผสมดินเล็กน้อยตามสัดส่วนที่เหมาะสม อาจใช้หญ้าหรือฟางที่แห้งคลุมหน้าดินเพื่อไม่ให้โดดแดดมากเกินไป รดน้ำให้ชุ่มพอเหมาะ
ภายหลังการเพาะลงแปลง 15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ จะได้ต้นกล้าไผ่ตงที่สูงประมาณ 2-3 นิ้ว ให้ทำการย้ายต้นกล้าไปปลูกลงถุงเพาะชำเพื่อนำไปปลูกเป็นต้นขนาดใหญ่ตามความต้องการ
การขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า
เลือกก่อไผ่ที่มีอายุ 1-2 ปี เพื่อใช้ในการขุดเหง้า จากนั้นตัดลำที่ต้องการขุดให้สูงประมาณ 1 เมตร
ขุดเหง้าตรงลำที่ตัดไว้โดยให้ลึกลงไปประมาณ 20-50 เซนติเมตรหรือตามความลึกของเหง้า
ระวังอย่าให้ส่วนเหง้าที่ขุดขาดหรือลำไผ่ฉีกโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตาเหง้าเพราะอาจทำให้ไผ่ฟื้นตัวหรือแตกกิ่งไม่ได้
นำเหง้าที่ขุดได้ไปปลูกลงดินและลดน้ำให้ชุ่มพอเหมาะ การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะมีโอกาสรอดตายค่อนข้างสูงแต่ต้องใช้แรงและเวลามากในการขุด
การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ซึ่งการใช้ท่อนตัด 1 ข้อ จะต้องตัดตรงกลางและให้รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และควรเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่โดยจะต้องตัดให้แขนงเหลือยาวประมาณ 1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ตงให้เต็ม และคอยเติมน้ำให้อยู่เต็มอยู่เสมอ การเพาะวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำให้ความชุ่มชื่นอยู่เสมอหลังจากนั้น ประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ ประมาณ 6-12 เดือน ก็ทำการย้ายปลูกได้
การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
กิ่งแขนงคือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะ สะดวกและง่าย โดยมีการคัดเลือกดังนี้
การคัดเลือกกิ่งแขนง
ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนง
เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
สภาพพื้นที่ปลูกไผ่ตง
ไผ่ตง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทั่ว ๆ ไป แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปลูกเป็นการค้า คือดินร่วนปนทราย ซึ่งสามารถระบายน้ำได้ดี ไผ่ตงไม่ชอบสภาพดินปลูกที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าโดนน้ำท่วมจะทำให้รากเหง้าหรือหน่อเน่าตายได้โดยง่าย ดังนั้นถ้าจะปลูกในบริเวณที่ลุ่มหรือที่น้ำท่วมถึง จึงควรยอร่องปลูกให้สูง ให้พ้นน้ำ และถ้าเป็นดินเหนียวจัดหรือค่อนข้างเหนียว ก็ควรปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่ร่วนซุยดีเสียก่อน จึงปลูกไผ่ตง
ปกติไผ่ตงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีพอสมควร พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ 1,000 มิลลิเมตรขึ้นไป ก็สามารถปลูกไผ่ตงได้ดี แต่สำหรับการปลูกเป็นการค้าหรือการปลูกเพื่อหวังผลอย่างเต็มที่แล้ว ควรมีแหล่งน้ำธรรมชาติไว้สำหรับให้แก่ไผ่ตงในเวลาที่ต้องการด้วย ยิ่งถ้ามีระบบชลประทานเข้าช่วย จะเป็นการเพิ่มผลผลิตของหน่อได้เป็นอย่างดี
การตัดแต่งกอ
แต่งกอในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ควรตัดแต่งกอให้สะอาด ดังนี้
เทคนิคการทำหน่อไผ่ตงหมก
การทำหน่อไม้ไผ่ตงหมก ใช้ดิน ขี้เถ้าแกลบ ใบไผ่ตงหรือวัสดุอื่น หมกพูนโคนกอไผ่ เมื่อไผ่ตงเริ่มแทงหน่อพ้นดินประมาณ 2-3 นิ้ว
โดยใช้วัสดุพูนโคนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
การทำหน่อไม้หมก คือ การป้องกันไม่ให้หน่อไม้ถูกแสงแดด ซึ่งมีวิธีทำได้หลายวิธี เช่น
1. การใช้ดินพอก เป็นวิธีที่คุณภาพของหน่อดีที่สุด โดยใช้ดินบริเวณรอบ ๆ กอไผ่มาพอกรอบ ๆโคนกอให้สูงประมาณ 1 ศอก พอหน่อพ้นดินที่หมกไว้สักเล็กน้อยก็ทำการตัดหน่อได้ วิธีการตัดหน่อต้องขุดดินซึ่งหมกไว้บริเวณหน่อออกเสียก่อน จึงลงมือตัดด้วยเสียมตัดหน่อไม้ตรงบริเวณกาบที่ 3 นั่นเอง
ในการทำหน่อไม้ไผ่ตงหมก หรือหน่อไม้หวานโดยวิธีใช้ดินพอกนี้ มีข้อคำนึงถึงถือ จะทำให้เราไม่สามารถเลี้ยงลำแม่ที่แข็งแรง สมบูรณ์ที่สุดได้ เนื่องจากเราขุดหน่อไปขายจนลืมนึกถึงการเลี้ยงลำแม่ หรือบางทีนึกถึงได้ แต่ไม่ทราบตำแหน่งของหน่อที่ควรจะเป็นลำแม่ เพราะถูกดินกลบไว้ ทำให้ไม่เห็นหน่อนั้นได้ ฉะนั้นลำที่ปล่อยให้เป็นลำแม่อาจะเป็นลำที่ไม่ดีพอ รวมทั้งการกะระยะห่าง(หรือการเดินกอ) ก็ทำได้ยาก และเมื่อมีการพูนดินขึ้นทุกปีแล้วไม่มีการเอาดินที่พูนออก หรือเอาออกไม่หมด จะทำให้กอไผ่ลอย เป็นผลให้กอไผ่ทรุดโทรมได้เร็ว และออกหน่อน้อยในปีต่อ ๆ ไป การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจทำได้ดังนี้คือ
2. การใช้ขี้เถ้าแกลบ ทำในลักษณะเดียวกับการหมกด้วยดินคือใช้ขี้เถ้าแกลบมาพอกรอบ ๆ โคนกอ การหมกด้วยวิธีนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ตัดหน่อได้ง่ายหน่อไม่สกปรกและยังเชื่อว่าทำให้หน่อหวานขึ้น
การตัดหน่อไผ่ตง
แมลงศัตรูของไผ่ตงที่สำคัญ ได้แก่
ไผ่ในบ้านเรามีอยู่มากมายหลายชนิด แต่พันธุ์ที่สำคัญ และเป็นที่นิยมในการบริโภคหน่อทั้งภายในประเทศ และยังสามารถส่งเป็นสินค้าออก ทำเงินตราเข้าประเทศได้ปีละนับร้อยล้านบาท ได้แก่ ไผ่ตง ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมีความสำคัญยิ่งขึ้นตามลำดับ เนื่องจากคุณค่าและประโยชน์ซึ่งมีหลายประการด้วยกัน ดังนี้คือ
หน่อใช้รับประทานสด นำมาแปรรูปเป็นหน่อไม้ปี๊บ(ต้มบรรจุปี๊บ) หรือนำมาตากแดดเป็นหน่อไม้แห้ง ซึ่งส่วนของหน่อนั้น นอกจากรับประทานภายในประเทศแล้วสามารถส่งขายในรูปของหน่อไม้ปี๊บ หน่อไม้แห้งและหน่อไม้สด(แช่แข็ง) ไปยังต่างประเทศเกือบทั่วโลก ประเทศที่นำเข้ามากที่สุด คือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ซาอุดิอาระเบีย ปีละมากกว่าร้อยล้านบาท
คุณค่าทางอาหารของหน่อ
(ให้พลังงาน 27 แคลอรี่)
ลำต้น ใช้เป็นไม้ค้ำยันไม้ผลต่าง ๆ ทำเครื่องจักรสาน เครื่องใช้ในครัวเรือน ทำเครื่องดนตรี เช่น ระนาด (ในวงพิณพาทย์) ใช้ก่อสร้างที่พักทำเยื่อกระดาษ ทำรั้วบ้าน นั่งร้าน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
ใบ ใช้ห่อขนม ทำหลังคา ทำเชื้อเพลิงและสานทำหมวกกุยเล้ย
กิ่งและแขนง กิ่งแขนงของไผ่สามารถใช้ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวสวนสามารถเพาะชำกิ่งแขนงเป็นการค้าได้ กิ่งที่ตัดเหลือสามารถนำมาเป็นค้างผักได้ ฯลฯ
ดิน ดินที่ปลูกไผ่ตงเรียกว่า ดินขุยไผ่ เป็นดินที่นิยมนำไปปลูกไม้ในกระถาง เนื่องจากเป็นดินที่ร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ดี เนื่องจากชาวสวนที่ปลูกไผ่ตง นิยมใช้ปุ๋ยคอกทุกปี ไม่นิยมใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และใบไผ่ที่ร่วงทับถมกันเป็นปุ๋ยอย่างดีของพืชทุกชนิด
ดังนั้นไผ่ตงจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ควรจะส่งเสริมให้มีการปลูกกันมากขึ้น เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งการพัฒนาวิธีการปลูก การแปรรูปให้ได้หน่อไม้ไผ่ตงที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ได้ผลตอบแทนต่อพื้นที่มากยิ่งขึ้น
ป้ายคำ : ไผ่