ไมยราบไร้หนาม (Mimosa invisa) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมดินในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์
ไมยราบไร้หนาม เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ที่เจริญเติบโตรวดเร็วสามารนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมดินได้ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มสัดส่วนของช่องอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และเพิ่มความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน แต่ไม่เหมาะสมนำมาเป็นอาหารสัตว์หากไม่เข้าใจวิธีดำเนินการเนื่องจากมีสารไนเตรท-ไนโตรเจน สะสมอยู่ในลำต้นและใบในปริมาณสูงพอที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้นได้ เมื่อสัตว์กินเข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะสัตว์จำพวกโค-กระบือ หากกินเข้าไปจะเป็นพิษมากกว่าแพะและม้า นอกจากนี้ในต้นไมยราบไร้หนามยังมีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบอีกด้วย.
สำหรับในประเทศไทย ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ได้ทำการวิจัยการนำไมยราบไร้หนามมาใช้ปรับปรุงบำรุงดินเป็นเวลามากกว่าสิบปี จากการศึกษา ในช่วงแรกไมยราบไร้หนามมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า เนื่องจากเชื้อไรโซเบียมที่ช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศเป็นประเภทที่มีน้อยในธรรมชาติ แต่ถ้ามีการปลูกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้มีเชื้อไรโซเบียมนี้สะสมมากขึ้น เมื่อนั้นไมยราบไร้หนามจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ไมยราบไร้หนามเป็นพืชกึ่งล้มลุกและกึ่งข้ามปี (annual perennial) ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเท่านั้น มีการเจริญเติบโตขนานไปกับพื้น ไม่เจริญในแนวตั้ง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 75 เซนติเมตร เป็นพืชที่ดูแลง่าย ไม่พบโรคและแมลงรบกวน เมล็ดไมยราบไร้หนามมีขนาดเล็กมาก (1,000 เมล็ด มีน้ำหนักเพียง 4.3 กรัม) ผลิตเมล็ดได้ครั้งละปริมาณมาก ๆ และผลิตได้ทุกปี นอกจากนั้นเมล็ดยังมีการพักตัว (dormancy or rest period) ดังนั้น จึงสามารถสร้างคลังเมล็ดไมยราบไร้หนามในดินได้ ทำให้ไม่ต้องปลูกใหม่อีก
ผลจากการทดลองของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เมื่อนำไมยราบไร้หนามปลูกร่วมกับข้าวโพด ทำให้มีผลผลิตเพิ่มเป็นเท่าตัว ให้ต้นและใบเป็นปุ๋ยพืชสดมากถึง 10 ตันต่อเฮกแตร์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน โดยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินจาก 1.21 เป็น 2.64 เปอร์เซ็นต์ ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน โดยเพิ่มสัดส่วนของช่องอากาศในดินจาก 17.3 เป็น 26.8 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ดินร่วนซุย โดยลดความหนาแน่นของดิน และเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน
ในลำต้นและใบของไมยราบไร้หนามมีสารไนเตรทและไซยาไนด์ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์กินเข้าไปจะทำให้สัตว์ตายเนื่องจากภาวะขาดออกซิเจนในเลือด (hypoxia) อาการที่พบคือ ท้องอืด กระวนกระวาย กล้ามเนื้อสั่น หายใจขัดแล้วตายหลังแสดงอาการ 1/2 ถึง 1 ชั่วโมง เหงือกมีสีม่วงคล้ำ รอยโรค เมื่อผ่าซากดูจะพบจุดเลือดออกทั่วไป โดยเฉพาะที่หัวใจ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบแดง อวัยวะภายในบวมน้ำ มีน้ำในถุงหุ้มหัวใจและในช่องท้อง การรักษา การแก้พิษจากไนเตรท ใช้ Methylene blue ขนาด 4-5 มก./น้ำหนักสัตว์ 1 กก. แล้วทำให้มีความเข้มข้น 2-4 % ฉีดเข้าเส้น (iv)
ความเป็นพิษ สารไนเตรท-ไนโตรเจน พบสะสมอยู่ในลำต้นและใบของไมยราบไร้หนาม ซึ่งมีปริมาณสูงมากพอที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้นได้ เมื่อสัตว์กินพืชชนิดนั้นๆ เข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งมีผลกระทบทำให้เกิดความเครียดในตัวสัตว์ นอกจากนี้พืชอาหารสัตว์ที่พบว่ามีไนเตรทสูงเช่นเดียวกันได้แก่ ข้าวฟ่าง เถามันเทศ ผักโขม ทองหลางใบมน และข้าวโอ๊ต เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณของไนเตรทในพืช ไต้แก่
พืชที่มีปริมาณไนเตรทในรูปไนเตรท-ไนโตรเจนโดยเฉลี่ยเกินกว่า 2,100 ppm จะทำให้สัตว์ที่กินพืชนั้นแสดงอาการเป็นพิษได้ ความเป็นพิษของไนเตรทในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เลี้ยงด้วยพืชหลายชนิดทื่มีไนเตรทสูง พบว่าสัตว์จำพวกโค-กระบือ แสดงอาหารเป็นพิษมากกว่าแพะและม้า ปริมาณต่ำสุดของไนเตรทที่มีผลต่อสัตว์ คือ โค-กระบือ ปริมาณ 88-110 มลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม สุกร 19-21 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม และ แกะ 40-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม นอกจากสารไนเตรทแล้วในต้นไมยราบไร้หนามยังมีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบอีกด้วย
อาการ
โค-กระบือที่ไปกินหญ้าในช่วงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษจากทั้งสารไนเตรทและไซยาไนด์ที่สะสมในต้นไมยราบไร้หนามที่ขึ้นปะปนในแปลงหญ้า จนทำให้สัตว์ตายจากภาวะขาดออกซิเจนในเลือด (hypoxia) อาการที่มักพบคือ ท้องอืด กระวนกระวาย กล้ามเนื้อสั่น หายใจขัดแล้วตายหลังแสดงอาการภายใน 1/2 ถึง 1 ชั่วโมง ถ้าเปิดปากดูเหงือกจะพบเหงือกมีสีม่วงคลํ้า (cyanosis) การแก้ไขในสัตว์ที่แสดงอาการแล้วมักไม่ได้ผล เนื่องจากว่าสัตว์จะขับสารพิษที่มีอยู่ในหญ้าสดที่กินเข้าไปสะสมอยู่ในกระเพาะหมัก (rumen) ต้องใช้ระยะเวลานานหลายวัน ระหว่างนั้นพิษที่อยูในหญ้าจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตไปเรื่อยๆ
รอยโรค
พบจุดเลือดออกทั่วไป โดยเฉพาะที่หัวใจ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบแดง อวัยวะภายในบวมนํ้า มีนํ้าในถุงหุ้มหัวใจ และในช่องท้อง
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เก็บตัวอย่าง อย่างน้อย 100 กรัม/ชิ้น ได้แก่
1. ตับ ไต หัวใจ
2. อาหารในกระเพาะหมัก
3. ตัวอย่างอาหาร หญ้าทื่เกี่ยวมาให้กิน
4. หญ้าและไมยราบไร้หนามบริเวณที่เกี่ยวหรือปล่อยสัตว์แทะเล็ม
เก็บตัวอย่างแยกใส่ถุง มัดปากถุงให้แน่น แช่เย็นที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส และรีบนำส่งที่ศูนย์วจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ในภูมิภาค หรือสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (กรุงเทพฯ)
การรักษา
การแก้ความเป็นพิษโดยการใช้สารต้านพิษ (antidote) ต้องสอบประวัติและอาการสัตว์จากเจ้าของสัตว์ เพื่อแยกกลุ่มของสารพิษว่าเป็นในกลุ่มไซยาไนด์หรือไนเตรท ให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะใช้ยาต้านพิษได้ถูกต้อง ประเภท ของยาต้านพิษมี 2 ชนิดคึอ
1. พิษจากไนเตรท การแก้พิษให้ใช้ methylene blue ขนาด 4-5 มก./น้ำหนักสัตว์ 1 กก. แล้วทำให้มีความเข้มข้น 2-4 % ฉีดเข้าเส้น (IV)
2. พิษจากไซยาไนด์ การแก้พิษให้ใช้สารละลาย sodium nitrate 20% ผสมกับ sodium thiosulfate 20% ในอัตราส่วน 1:3 ฉีดเข้าเสน (IV) ในขนาด 4 มล./นํ้าหนักสัตว์ 45 กก.
รายงานสัตว์ป่วย
เคยมีรายงานความเป็นพิษซองไมยราบไร้หนามในโคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน โดยสุชาติ และคณะ (2525) พบว่าโค 3 ตัวกินไมยราบไร้หนามแล้วแสดงอาการป่วยอย่างรุนแรง คือ นํ้าลายฟูมปาก ไม่เคี้ยวเอื้อง ซึม กล้ามเนื้อสั่น หายใจลำบาก cyanosis และตายภายใน 2.5-60 ชม. ผลการผ่าซากพบไมยราบเต็มกระเพาะรูเมน พบจุดเลือดออกทั่วไปในชั้นใต้ผิวหนัง หัวใจ และไต กระเพาะรูเมนและลำไส้อักเสบ ผลการวิเคราะห์ทางพิษวิทยาพบทั้งสารพิษไนเตรทและไซยาไนด์ในปริมาณที่สูง สอดคล้องกับอาการป่วยและผลจากการฝาซากดังกล่าว
ที่มา
ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทดสอบปริมาณไนเตรทในพืชอาหารสัตว์โดยประมาณ.
ชื่นจิต แก้วกัญญา, ปนัดดา ประสาทชัย และอมรรัตน์ อุปพงศ. (2555) ศักยภาพของถั่วเขตร้อนเพื่อเป็นอาหารสัตว์คุณภาพดีและการปรับปรุงบำรุงดินลูกรัง. ว. วิทย์. กษ. 43(2)(พิเศษ): 585-588.
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ท้องอืด
สาทิส ผลภาค. สารพิษในพืชยาหารสัตว์ (เคี้ยวเอื้อง).
สารพิษในอาหารสัตว์