คนสมัยก่อนนั้นจะปลูกไม้ใหญที่แมลงไม่ชอบ เช่น ไม้สะเดา ไม้ประดู่ ไม้ยางนา ไม้ตะเคียน ไม้สัก ฯลฯ เพื่อเป็นหลักเขตแดน และยังช่วยบังลมด้วย ใบใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติอย่างดี
ที่จริงแมลงศัตรูพืชที่ระบาดไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นเพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง (เพลี้ยแป้งสีชมพูในมันสำปะหลังไม่มีปีก. บินไม่ได้ แต่ระบาดไปทั่ว ) เพลี้ยอ่อนต่างๆ นั้นมันระบาดไปไกลๆได้ เพราะลมพาแมลงเหล่านั้นไป มันจึงไปได้ไกลทั่ว ( โดยธรรมชาติของแมลง ตัวมันเล็กมาก ปีกสั้น มันจะบินจากแหล่งกำเนิดไปได้ไม่ไกลไม่เกินหนึ่งกิโลเมตร ) แมลงปกติจะอาศัยหลบอยู่ตามที่รกๆ ตามป่าทึบ ตามที่มีหญ้าหนาๆ. เมื่อมีลมพัดผ่านแปลงพืชที่เราปลูก เช่น ลมพัดจากใต้ขึ้นเหนือ ลมจะพาเอากลิ่นพืชที่เราปลูกไปกับลมด้วย แมลงซึ่งหลบอยู่เหนือลมจะมีสัมผัสพิเศษ จะรับสัมผัสไดว่าใต้ลมมีพืชอาหารอะไรบ้าง พอมีลมพัดหวน (ลมพัดกลับทิศใต้) พัดจากเหนือลงใต้ แมลงที่หลบอยู่จะทิ้งตัวหรือไข่ไปกับ เพื่อไปยังแปลงพืชอาหารนั้น มันจึงไปได้ไกลมาก แต่เรามองไม่เห็น (ตัวมันเล็กหรือเราไม่ได้สังเกตุ) แต่มีแมลงชนิดหนึ่งคือแมลงปอ เมื่อลมพัดหวนเราจะเห็นแมลงปอบินมาเต็มท้องฟ้า มันจะมาบินกินแมลง เพราะแมลงตาโตมองได้รอบทิศทาง มันจึงเห็นอาหารของมันกำลังมา มันจึงพวกันออกมากิน ฉะนั้นในอดีตเกษตรกรจะอาศัยแมลงปอเป็นตัวเตือนภัย เมื่อเห็นมีแมลงปอมาบินในไร่ในนาจะรีบฉีดยาป้องกันแมลง แต่ถ้าสวนไหนมีไม้บังลมซึ่งแมลงไม่ชอบไปกับลม เมื่อแมลงได้กลิ่นก็ไม่อยากมาแปลงเรา หรือถึงถูกลมพามาก็จะปะทะกับไม้บังลมตกอยู่ที่แปลงข้างๆนอกแปลงของเราแทน
แต่เนื่องจากบ้านเราไปรับความรู้จากต่างชาติมา บอกให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว แล้วตัดต้นไม้ใหญ่ออก เพราะบังแดด(โดนหงำ) ทำให้พืชที่ปลูกใหม่ไม่โต เราก็ทำตาม จึงทำให้แมลงระบาดมาก เพราะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากๆจะดึงดูดศัตรูได้มาก ไม่มีอะไรมาบังก็มาเต็มๆ ทำให้ทุกวันนี้เราต้องฉีดยากันมากจนแมลงดื้อยาไม่ตาย แต่คนฉีดยาหรือคนกินตายแทน
ในแหล่งที่มีลมแรงควรเตรียมการปลูกไม้บังลมไว้ก่อนโดยพิจารณาถึง
ที่มา
นิตยสารเกษตรธรรมชาติ
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง