ตะบันน้ำ เครื่องสูบน้ำแบบชาวบ้าน

24 กรกฏาคม 2555 น้ำ 1

Hydraulic Ram pump หรือที่คนไทยเรียกกันในชื่อว่า ตะบันน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้น และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายร้อยปี เป็นอุปกรณ์ที่สามารถส่งน้ำขึ้นไปบนที่สูง โดยใช้พลังงานที่มีอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์มาเป็นตัวขับดันอุปกรณ์ตะบันน้ำ หรือปั๊มน้ำธรรมชาติ อาศัยปรากฏการพลังงานน้ำ จากน้ำตก ฝาย นบ น้ำที่ไหลจากพื้นที่สูง ลงสู่ที่ด่า โดยเมื่อต่อน้ำที่มีความเร็วเข้าท่อ น้ำจะถูกปิดกั้นด้วยวาส์วเกิดเป็นระบบสูญญากาศ แรงกระแทกจะอัดน้ำขึ้นสู่ด้านบน แบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงเร่งความเร็วน้ำเข้า ช่วงส่งน้ำ การไหลย้อน

ปั๊มน้ำธรรมชาติ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เศรษฐกิจพิเพียง คือสำหรับการปลูกผักสวนครัว นาข้าว กักเก็บน้ำไว้บนที่สูงโดยใช้อุปกรณ์จัดเก็บได้แก่แท๊งน้ำ
เป็นนวัตกรรมที่สอดคล้องกับท้องถิ่น ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน อาศัยพลังงานธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ใช้เงินทุนน้อย

tabannumtok

หลักการทำงานของตะบันน้ำ

น้ำที่กำลังใหลอยู่ในเส้นท่อจะมีพลังงานอยู่ในตัวของมันเอง พลังงานจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในเส้นท่อ และความเร็วของการใหล

ที่ปลายเส้นท่อที่น้ำกำลังใหล ถ้าถูกปิดอย่างทันทีทันใด ด้วยแรงเฉื่อยของน้ำที่กำลังเครื่อนที่อยู่ จะทำให้เกิดแรงดันในเส้นท่อเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ด้วยปรากฏการนี้ได้ถูกนำมาสร้างเครื่องตะบันน้ำเริ่มโดยการต่อท่อขับดันน้ำ จากแหล่งน้ำทีมีระดับความสูงเพียงพอให้น้ำใหล ลงมาตามเส้นท่อได้ด้วยตัวของมันเอง ที่ปลายท่อด้านล่างสร้างกลไก ที่เป็นวาวล์เปิดปิดน้ำไว้สองตัว ในตำเหน่งใกล้เคียงกัน ตัวหนึ่งมีขนาดใหญ่ปกติจะเปิดให้น้ำใหลออกได้ แต่จะปิดได้เองด้วยแรงผลักของน้ำที่ใหลผ่านวาวล์

วาวล์อีกตัวหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าจะเป็นวาวล์ที่ยอมให้น้ำใหลผ่านได้ทางเดียวเมื่อวาวล์ตัวใหญ่ถูกผลักให้ปิดตัวเอง แรงดันของน้ำที่เพิ่มขึ้นในขณะนั้นจะดันให้วาวล์ตัวเล็กเปิดออก น้ำส่วนหนึ่งจะถูกดันผ่านเข้าไปในถังอัดอากาศ ที่จะทำการดูดซับแรงดันที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อแรงทีเกิดขึ้นหมดลง ลิ้นกันกลับตัวเล็ก จะปิดไม่ให้น้ำใหลกลับเข้ามาในเส้นท่อ แรงดันในเส้นท่อกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ วาวล์ตัวใหญ่จะเปิดออกเองด้วยน้ำหนักของตัววาวล์ น้ำก็จะเริ่มใหลออกผ่านวาวล์ตัวใหญ่

เมื่อวาวล์ตัวใหญ่เปิดออก น้ำในเส้นท่อจะเริ่มใหลอีกครั้ง ผ่านวาวล์ตัวใหญ่ออกสู่บรรยากาศ ความเร็วของน้ำจะเพิ่มขึ้น จนแรงพอที่จะผลักให้วาวล์ปิด แรงเฉื่อยของน้ำที่กำลังใหลจะผลักให้น้ำส่วนหนึ่งใหลผ่านลิ้นกันกลับ เข้าไปในถังอัดอากาศอีกครั้ง

จังหวะการทำงานจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตราบที่ยังมีน้ำใหลเข้ามาในเส้นท่อ ความดันในถังอัดอากาศจะค่อยๆเพิ่มขึ้น จนสามารถดันให้น้ำที่ถูกส่งเข้ามาเป็นจังหวะ ส่งผ่านไปตามเส้นท่อขนาดเล็ก ขึ้นสู่ที่สูงได้ส่งน้ำได้สูงเท่าไร มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง สภาพพื้นที่ แหล่งน้ำต้นทุนขึ้นอยู่กับการออกแบบทั้งรูปแบบ และขนาดที่เหมาะสม รวมถึงการปรับตั้ง

เพียงคำอธิบายหลักการทำงานของแรมปั้ม หรือตะบันน้ำที่กล่าวมาในที่นี้คงไม่สามารถทำให้ ทุกคนพบทางสว่าง สามารถสร้างแรมปั้มได้สำเร็จโดยง่าย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด น้ำ

1 ความคิดเห็น

  1. P_pt007
    บันทึก พฤศจิกายน 19, 2555 ใน 14:41

    ทำเว็บได้ดีมาก ครับ ขอบคุณสำหรับแหล่งเรียนรู้ ที่ครบถ้วนทุกด้าน

แสดงความคิดเห็น