ธนาคารจิตอาสา

28 สิงหาคม 2559 ภูมิปัญญา 0

เราเชื่อว่าสังคมไทยจะเป็นสังคมอุดมไปด้วยความรักความสุข มีความมั่นคง และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะทุกคนร่วมสร้างสังคมนี้ขึ้นมา ไม่จำกัดว่าเป็นวัยไหนหรืออยู่ในหน้าที่การงานใด เราต่างมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อสร้างประเทศไทย เราไม่นิ่งเฉยดูดาย แต่จะลุกขึ้นยื่นมือมาช่วยเหลือกัน ทุกๆ คนบนผืนแผ่นดินไทยสามารถเป็นอาสาสมัครผู้อุทิศกำลังความสามารถและเวลาอันมีค่าของตนให้แก่ประโยชน์ส่วนรวม

ธนาคารจิตอาสาเป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เข้ามาใช้เพื่อประกาศความตั้งใจที่จะแบ่งปันเวลาให้กับสังคม เวลาเหล่านี้คือทุนของความมุ่งมั่นตั้งใจของคนไทยทั้งประเทศเป็นทุน และหลักประกันความมั่นคงของสังคม เป็นเครื่องชี้ว่าจิตอาสาคือคุณค่าที่สังคมไทยยึดถือ เพราะการให้เวลาคือการมอบสมบัติล้ำค่าที่เราทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกันให้แก่ส่วนรวม และให้แก่กันและกัน จากเดิมที่เราพร้อมจะมอบเวลาให้คนที่เรารัก ธนาคารจิตอาสาช่วยเพิ่มช่องทางให้เราสามารถมอบเวลาให้กับสังคม ให้กับบ้านที่เรารัก โดยมีระบบแนะนำกิจกรรมอาสาที่เหมาะกับความสนใจ ความสามารถ และแบบแผนการใช้ชีวิต/เวลาว่าง อีกทั้งมีบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เตรียมความพร้อม ให้กับทั้งอาสาและองค์กร รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนแบ่งปันประสบการณ์หลังกิจกรรม

jitarsabanklogo

ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสภากาชาดไทย ธนาคารจิตอาสาพร้อมยินดีรับใช้และให้บริการ มาร่วมกันเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน
ให้กับชุมชนจิตอาสาและสังคมไทย ด้วยการแบ่งปันเวลาและลงมือทำกับธนาคารจิตอาสา

jitarsabanktoon

ลักษณะกิจกรรมขององค์กร
ธนาคารจิตอาสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการร่วมสร้างสังคมจิตอาสาที่ได้รับการสนับสนุนจากสภากาชาด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนและขับเคลื่อนจิตอาสาเพื่อยกระดับจิตสำนึกและจิตใจของคนในประเทศ เป็นการส่งเสริมอาสาสมัครที่เน้นการสื่อสารผ่านแนวคิดเรื่อง ธนาคารเวลา (Time Bank) ซึ่งเปรียบเสมือนต้นทุนทางสังคม ที่แต่ละคนสามารถลงทุนเวลาในชีวิตของตนทำงานอาสาเพื่อผู้อื่น สังคม และประเทศได้

jitarsabankboon

ธนาคารจิตอาสาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ระบบธนาคารเวลา (Time Bank)
Time Bank เป็นระบบสนับสนุนการทำงานอาสา ที่เข้าถึงได้ทาง Internet ให้อาสาสมัครได้แสดงความตั้งใจจะใช้เวลาเพื่อทำงานอาสา โดยรวบรวมสถิติการใช้เวลา ยังมีระบบคัดเลือกและแนะนำงาน (matching) ให้ค้นหางานอาสาที่เหมาะกับตนเอง ตรงกับความสนใจ ความถนัด ทักษะ ความสามารถ หรือความสะดวก ไม่เฉพาะแต่ในสถานการณ์ภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานอาสาสมัครเพื่อสังคมทุกประเภทที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยด้วย

jitarsabankact

2. การปฐมนิเทศและการอบรม (Orientation and Training)
การปฐมนิเทศและการอบรมอาสาเป็นกระบวนการเตรียมพร้อมอาสาสมัครก่อนลงไปทำงานอาสา เพื่อให้อาสาได้เกิดประสบการณ์ที่ดี ได้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านทั้งทางกาย ทางใจ และทางสังคม นอกจากนี้การจัดอบรมให้กับองค์กรที่รับอาสาเข้าไปทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับอาสานั้นจำเป็นต้องมีทั้งความเข้าใจและทักษะ
รวมถึงมีการจัดทำคู่มือรวบรวมองค์ความรู้เรื่องการปฐมนิเทศและการอบรมด้วย

jitarsabanksa

3. อาสาสัมพันธ์ (Volunteer Relation Managaement: VRM)
งานอาสาสัมพันธ์เป็นการสร้างความต่อเนื่องในการมีกิจกรรมความร่วมมือและสื่อสาระะหว่างอาสาสมัครและองค์กรที่จัดกิจกรรม นอกจากจะเป็นช่องทางในการสื่อสาร งานอาสาสัมพันธ์ยังช่วยให้กำลังใจ เปิดโอกาสการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความประทับใจ จากการทำงาน ตลอดจนสามารถพัฒนาเป็นชุมชนเครือข่ายความร่วมมือตามประเด็นความสนใจ หรือตามพื้นที่ต่อไป

jitarsabankwong

ที่มา
http://www.jitarsabank.com

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น