ดต.นิรันดร์ พิมล วิถีป่าภาคใต้ … คนอยู่กับป่า

ได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบมาใช้เมื่อประมาณ ปี 2542 หลังจากได้พบกับ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โดยที่ก่อนหน้านี้ เมื่อประมาณ ปี 2530 ได้ทำการเลิกเหล้า – บุหรี่ เนื่องจากให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจครัวเรือน และให้ความสำคัญกับการศึกษาของลูก ๆ และตั้งใจทำมาหากินประกอบอาชีพจนกระทั้งสามารถส่งลูกเรียนจนจบชั้นปริญญาทุกคน

องค์ความรู้ ( Knowledge Base )
ที่มาขององค์ความรู้ทางด้านการเกษตรที่สำคัญของ ดต. นิรันดร์ ประกอบด้วย

  • จากการอบรมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติของอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร ที่สำคัญได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง /การคืนชีวิตให้แผ่นดิน/ การปลูกหญ้าแฝก/การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  • จากการฝึกอบรม นพค. (หน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่) ที่สำคัญได้แก่ การเลี้ยงสัตว์/การประมง
  • จากประสบการณ์ การใช้สมุนไพรต่าง ๆจากการเป็น ตชด. ซึ่งได้ปฏิบัติงานและอาศัยอยู่ในป่าเป็นเวลานาน
  • จากการถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพรจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นหมอสมุนไพร

nirunpimonl

ความชำนาญพิเศษ

  • เศรษฐกิจพอเพียง
  • โรคพืช และการใช้สมุนไพรโรคพืช
  • การทำปุ๋ยชีวภาพ

ที่อยู่ 204/26 27 ถนนทุ่งสง สุราษฎร์ธานี ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง
ที่ตั้งศูนย์ : 282 หมู่ 4 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ก่อนหน้าที่จะตั้งศูนย์ ฯ ดต.นิรันดร์ ก็ได้ทำการให้การฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ โรคพืช การใช้สมุนไพรแก้ปัญหา โรคพืช ต่อมาประมาณ ปี 2548 ได้มีผู้บริจาคที่ดิน จำนวน 21 ไร่ โดยได้ทำสัญญาให้ใช้ประโยชน์ 25 ปี เพื่อใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ พร้อมทั้งบริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในศูนย์ ฯ ซึ่งศูนย์เห็นให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2549โดยที่ศูนย์ฯได้ดำเนินการอบบรมโดยยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้รับการถ่ายทอดจากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติของอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร

nirunpimonsoon

แนวคิดในการสร้างศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ คือ บริเวณพื้นที่ที่เป็นไม้ใหญ่หรือป่าจะสงวนเอาไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม้ทุกชนิดจะอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ผลผลิตที่ได้จากแปลงสาธิตจะไม่เน้นในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการปลูกฝังและแก้จิตสำนึกคน เพื่อให้รู้จักการให้และเสียสละ

วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของภาคใต้ ซึ่งทุก ๆคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้
เป้าหมาย เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมที่จบออกไปต้องมีคุณภาพสามารถนำความรู้ไปขยายผลได้
กลยุทธ์ การให้ทั้งความรู้ โดยไม่หวังผลตอบแทนและใช้ความจริงใจ

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ ฯ

  • เป็นฐานการเรียนรู้ฝึกอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์
  • โรคพืช
  • การปลูก / ดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน ยางพารา และทุเรียน

เนื้อหาหลักสูตรที่ได้เปิดทำการฝึกอบรม

  1. ) เศรษฐกิจพอเพียง
  2. ) การแก้ปัญหาโรคพืช
  3. ) สมุนไพรสำหรับใช้ในการเกษตร
  4. ) ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอัดเม็ด)
  5. ) ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เช่น น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาล้างจาน
  6. ) น้ำมันไบโอดีเซล

nirunpimonpah
แนวทาง/ที่ใช้ในการจัดการอบรม
พยายามปลูกฝังให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้น

  1. การพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะเรื่องการปลูกข้าวเพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้ โดยกรณีที่เป็นปาล์มน้ำมัน หรือยางพารา ในปีแรก ๆ ที่ยังไม่ได้รับผลก็ให้ปลูกข้าวไร่ในระหว่างร่องอกที่ปลูก เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้
  2. การชี้ให้เห็นถึงโทษ พิษภัยของสารเคมีและให้หันมาใช้สารอินทรีย์ชีวภาพ
  3. การปลูกหญ้าแฝก
  4. การปลูกพืชเพื่อให้ครอบคลุมรายได้ 4 แบบ คือ
    – รายได้ประจำวัน
    – รายได้ประจำสัปดาห์
    – รายได้ประจำเดือน
    – รายได้ประจำปี
  5. การประยุกต์ใช้วัสดุที่เหมาะสม และมีในท้องถิ่น เช่น การใช้ต้นอ้อ ต้นสาคู แทนการใช้แกลบซึ่งเป็นวัตถุดิบ
  6. การตรวจวิเคราะห์สภาพดินในที่ของตนเอง เพื่อจะได้ทราบว่าที่ดินของตนเองมีลักษณะเป็นอย่างไร ขาดธาตุอาหารอะไร หรือมีธาตุอาหารอะไรมาก เพื่อจะได้ปรับปรุงที่ดินให้เหมาะสมต่อไป
  7. การจดบันทึก / การทำบัญชีครัวเรือน เพื่อจะได้ทราบว่าที่ผ่านมาผลการดำเนินงานของตนเองเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้นำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

แนวทางการดำเนินงานอบรมของศูนย์ฯ (Knowledge Management)

  • เมื่อจะมีการฝึกอบรมจะเชิญวิทยากรที่เกี่ยวข้องมาเพื่อชี้แจง และซักซ้อมความเข้าใจโดยการฝึกอบรมแต่ละรุ่นจะยึดผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลาง และเน้นการมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติของผู้เข้ารับการอบรม
  • ช่วงอบรมจะมีทั้งส่วนที่เป็นภาคบรรยายที่เป็นทฤษฎีและมีการแบ่งกลุ่มลงมือฝึกปฏิบัติ และในตอนกลางคืนจะแบ่งกลุ่มย่อยและให้ตัวแทนออกมาสรุปบทเรียนและปัญหาที่พบในแต่ละวัน
  • สำหรับวิทยากรจะมีการสรุปประเมินผลการฝึกอบรมเพื่อหาส่วนที่บกพร่องเพื่อจะให้ทำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป (โดยในการประชุมของวิทยากรจะเป็นการพูดถึงสิ่งไม่ดีหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป)

nirunpimonfi
การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายของศูนย์ฯ

  • การช่วยเหลือด้านบุคคลากร โดยที่หากศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติใดขาดวิทยากร หรือมีวิทยากรเรื่องใดไม่เพียงพอ ก็อาจจะให้วิทยากรของอีกศูนย์ในเครือข่ายมาช่วยบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในศูนย์นั้น
  • การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและเสริมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ของวิทยากรและผู้สนใจ โดยเฉพาะการประชุมที่จัดขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น