ปอกะบิด พิชิตเบาหวาน ลดความดัน

5 มกราคม 2557 สมุนไพร 0

ปอกะบิดหรือเกลียวทองสมุนไพรไทยใน1ปีจะออกฝักเพียงครั้งเดียวในเดือน พฤศจิกายนเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ มีสรรพคุณช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน,ลดระดับน้ำตาลในเลือด,ลดความดัน,ไทรอยด์,ปวด หัว,ปวดเข่า,ไมเกรน,เก๊าท์,บำรุงไต,ลดน้ำหนัก,ลดอาการเหน็บชา,ชาปลายมือปลายเท้า,ภูมิ แพ้,ลดไขมันในเลือดฯลฯ ดื่มง่าย รสหอมกลมกล่อม เหมือนน้ำชา ดื่มแทนน้ำได้เลย ดื่มเป็นประจำทุกวันจะเห็นผลเร็วขึ้น

pokrabidton

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Helicteres H.isora
ชื่อวงศ์ : Malvaceae
วงศ์ย่อย : Helicteroideae
ชื่อเรียกอื่น ๆ : ปอบิด ( East Indian screw tree ) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก มะบิด (ทางภาคเหนือ) ปอทับ (จังหวัดเชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ประเทศลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง)
นาคพต มะปิด

ลักษณะ
ปอกะบิด จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว และอ่อนคล้ายเถา
บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและจะมียางเหนียว ๆ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ผิวสัมผัสแผ่นใบจะสาก ท้องใบจะมีขน กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว และจะยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ
จะออกเป็นกระจุก ระหว่างลำต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ มีกลีบรองกลีบดอกออกสีเหลือง ๆ มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บน มีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน
เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ส่วนของผล มีลักษณะเป็นฝักยาว กลม บิดเป็นเกลียว มีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ผลจะออกประมาณช่วงเดือน ธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ
เวลาแก่จัดเต็มที่ ฝักจะอ้าออก ส่วนของลำต้นกลมเรียวอ่อนดูคล้ายเถา

pokrabidkor pokrabidking pokrabidyod pokrabiddokspokrabidpon pokrabiddokhang

จะสามารถพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือในที่รกร้างว่างเปล่า ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ไปถึงอินเดียและจีนตอนใต้ ไล่ไปทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ระดับความสูง 100-400 เมตร

ส่วนของราก เอามาใช้ต้ม เอาน้ำกิน รสชาติจะฝาดเฝื่อน แต่สามารถบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต
ส่วนเปลือกลำต้น จะมีสารเฮมิเซลลูโลส 15.8%, เซลลูโลส 18.6%, ลิกนิน 2.89%, เพคติน 0.4%, น้ำมัน 3.11%, กรดไฮดรอกซี่คาร์บอซีลิค, ไฟโตสเตอรอล, phobatanin
ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิดได้และรักษา ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ
ฝัก สามารถนำมาใช้แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้โรคลำไส้ในเด็ก
ส่วนของแก่น รสจะจืดเฝื่อน บำรุงน้ำเหลืองดี บำรุงกำลัง แก้เสมหะ แก้น้ำเหลืองเสีย
ผล ใช้ผลแห้ง 10-15 กรัม นำมาต้มแล้วเอาน้ำที่ได้มากินแก้ท้องอืดได้ แก้ปวดเคล็ดบวม แก้เสมหะ แก้ลงแดง กระเพาะอาหารเป็นแผล อักเสบ หรือเรื้อรัง

pokrabidtak

นับว่าเป็นสมุนไพรไทยที่จัดว่าหายากอีกตัวหนึ่ง สาเหตุเป็นเพราะสมุนไพรชนิดนี้ 1 ปี จะออกเพียงแค่ครั้งเดียว ส่วนใหญ่จะพบได้จากป่าที่เป็นธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี 100% สมุนไพรปอกะบิด
จะช่วยให้โรคต่าง ๆ บรรเทาลง และส่งผลให้เห็นได้อย่างชัดเจน คนที่ใช้จึงเชื่อกันว่าเป็นสมุนไพร

มีสารเฮมิเซลลูโลส 15.8%, ลิกนิน 2.89%, เซลลูโลส 18.6%, เพกทิน 0.4%, น้ำมัน 3.11%, กรดไฮดรอกซี่คาร์บอซีลิค, ไฟโตสเตอรอล, phobatanin ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ

pokrabiddok

ประโยชน์สรรพคุณของสมุนไพรปอกะบิด

  • ลดน้ำตาลในเลือดในโรคเบาหวาน
  • ลดความดันและลดไขมันในเลือด
  • ลดน้ำหนักได้
  • แก้โรคเหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า
  • แก้ไมเกรน
  • บรรเทาอาการของโรคไต
  • โรคเก๊าท์ ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง
  • ภูมแพ้ ไทรอยด์

วิธีการทำ
ให้ใช้ ฝักปอกะบิด 50 ฝัก ล้างให้สะอาดดี แล้วจึงค่อยนำไปต้มกับน้ำ 3 ลิตร 50 ฝักสามารถต้มได้ 4 ครั้ง ให้สังเกตุสีของน้ำว่าจางหรือยัง จึงค่อยเปลี่ยนครับ หรือ น้อยหน่อยก็
ใช้ต้มในน้ำร้อน 25 ฝัก ต่อน้ำ 1.5 ลิตร ต้มประมาณ 15-20 นาที

วิธีต้มปอกะบิด : ปอกะบิด 25 ฝัก ต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่ปอกะบิดลงไป ก่อนจะนำไปต้มควรล้างน้ำ แล้วจึงนำไปต้ม ทิ้งไว้ 15 นาที หรือรอจนมีสีเข้ม บางท่านนำไปชงดื่มเหมือนน้ำชา ระยะแรกควรดื่มเป็นประจำทุกวันจะได้ผลเร็วขึ้นหรือดื่มแทนน้ำ ดื่มง่าย มีรสหอมกลมกล่อม รสาชาติเหมือนดื่มน้ำชา สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น และสามารถนำปอกะบิดที่ต้มแล้ว กลับมาต้มได้อีกถึง 4 ครั้ง หรือจนกว่าจะมีสีจางลง

วิธีรับประทาน
ดื่มง่ายได้ทั้งร้อนและเย็น ดื่มแทนน้ำได้เลย เหมือนน้ำชา รสชาติ กลมกล่อม หอม ดื่มง่าย ให้ดื่มติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนจะเห็นผล

pokrabidhang

การกระจายพันธุ์ : เป็น พืชที่ขึ้นเองตามริมป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ที่รกร้าง แม้กระทั่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร พบได้ทั่วไปทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอินเดีย ออกดอกและติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน

การขยายพันธุ์ของสมุนไพรปอกะบิด
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

pokrabidtons

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น