ฝอยทอง กาฝากขึ้นเกาะ

12 กรกฏาคม 2558 ไม้เลื้อย 0

ฝอยทองเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นเกล็ดขนาดเล็กๆ รูปสามเหลี่ยม มีจำนวนไม่มาก ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยมีจำนวนมาก ไม่มีก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก รูปกลมรี ดอกมีขนาดเล็ก ดอกเป็นสีขาว กลีบดอกยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบดอกมน แยกออกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 2 อัน ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร เป็นสีเทา ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีเหลืองอมเทา ผิวเมล็ดหยาบ

foythongton foythongsea foythongpan

ชื่ออื่น : เครือขาคำ (เหนือ) ผักไหม (อุดรฯ) และฝอยไหม (โคราช) , กิมซีซ่า, โท้วซี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cuscuta chinensis Lann.
วงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฝอยทองเป็นไม้เถาจำพวกกาฝากอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น เถาสีเหลือง ใบ เป็นใบลดรูปมีลักษณะเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ออกเรียงสลับ สีเขียว ออกเหลือง ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเล็กสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผล รูปทรงค่อนข้างกลมเล็ก

  • พืชล้มลุก เจริญเติบโตอยู่บนต้นไม้อื่น ดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัยอยู่ ลำต้นกลม เป็นเถาเลื้อยยาว และอ่อนนุ่ม เป็นสีเหลืองทอง แตกกิ่งก้านมาก ใบมีลักษณะเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ออกจากลำต้น โดยออกเรียงสลับ ใบเป็นสีเหลืองเหมือนสีของลำต้น
  • ดอก มีขนาดเล็กมาก บางครั้งมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ออกเป็นช่อสีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบรูปกลมมน
  • ผล รูปกลม ขนาดเล็ก ดอกออกตลอดปี

สรรพคุณและประโยชน์
ทั้งต้น รสจืดฝาด ต้มเอาน้ำดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ถ่ายเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้ตกเลือด แก้เลือดกำเดาไหล แก้ดีซ่าน ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาวมากผิดปกติ แก้พิษทั้งภายนอกและภายใน ตำพอกหรือทาแก้ฝ้า ผดผื่นคัน แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด แก้โรคผิวหนังด่างขาวเป็นปื้น ต้นรับประทานได้ เป็นยาห้ามเลือด เลือดกำเดาไหล ตกเลือด อุจจาระเป็นเลือด ช่วยบำรุงไต ขับลม ขับเหงื่อ แก้ปวดเอว รักษาแผลเรื้อรัง และผดผื่นคันที่เกิดจากอากาศร้อน

  • เมล็ด รสฝาดเผื่อน ต้มหรือบด เป็นผงรับประทาน บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้ปวดเมื่อย ทำให้ตาสว่าง แก้กระหายน้ำ แก้น้ำกามเคลื่อนเวลาหลับ
    ตำหรับยาแก้นิ่ว
  • ทั้งต้น จำนวน 1 กำมือ หรือประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำสะอาด กะตามต้องการ จนเดือดแล้วดื่มขณะยังอุ่น ๆ ครั้ง ละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ต้มดื่มเรื่อย ๆ ไม่จำกัดเวลาว่าจะนานแค่ไหน จะช่วยทำให้อาการนิ่งที่เป็นอยู่ ค่อย ๆ ทุเลาลงและหายได้ในที่สุด

วิธีการใช้ :

  • แก้อาการร่างกายอ่อนเพลีย นำลำต้นแห้งประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าหรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา
  • ยาแก้โรคดีซ่าน และแก้พิษ นำลำต้นนำมาต้มกับน้ำอาบรักษาอาการตัวเหลืองจากโรคดีซ่าน
    แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ตาแดงหรือเจ็บตา นำลำต้นสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำ ใช้เป็นยาทารอบๆ ขอบตา
  • ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อุจจาระเป็นเลือด ตกเลือด ยาแก้บิด รักษาลำไส้อักเสบ เป็นบิดแบคทีเรีย แก้อาการตัวบวม นำลำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  • ช่วยแก้ปัสสาวะขัด นำลำต้นสดประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับเหง้ากูไฉ่สด ประมาณ 60 กรัม แล้วนำมาใช้ล้างหน้าท้องน้อย
  • แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ช่วยรักษาระดูขาวตกมากผิดปกติ และน้ำกามเคลื่อน นำลำต้นแห้งประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าหรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา
  • ผดผื่นคัน ผดผื่นคันจากอากาศร้อน แผลเรื้อรัง และใช้ห้ามเลือด นำลำต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาหรือพอกบริเวณที่เป็น
  • บำรุงกำลัง ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยทำให้ตาสว่าง แก้ตามัว แก้อาการเวียนศีรษะ ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ยาขับลม ขับเหงื่อ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ช่วยรักษาระดูขาวตกมากผิดปกติ ช่วยบำรุงน้ำอสุจิในเพศชาย แก้สมรรถภาพทางเพศชายเสื่อม แก้น้ำกามเคลื่อน ยาบำรุงตับ บำรุงไต นำเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดหรือทำเป็นยาผงรับประทาน

foythongpen

ฝอยทองจัดเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป ในวงศ์เดียวกันยังมีฝอยทองอีกหลายชนิด คือ ฝอยทองยุโรป

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น