สุพจน์ โคมณี ปราชญ์พอเพียงเพื่อเพียงพอ

13 กุมภาพันธ์ 2558 ปราชญ์ของแผ่นดิน 0

ความขยันอดทน ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่หาประสบการทำให้เกิดการสั่งสมความรู้ โดยเฉพาะการได้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ จัดโดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ จึงมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน ตัดสินใจเปลี่ยนความคิดจากการทำเกษตรเพื่อขาย มาทำการเกษตรแบบพออยู่พอกินหากเหลือจึงนำไปขาย ไม่คิดแข่งขันกับใคร ทำตามกำลังของตนเองและครอบครัว

พลิกชีวิตจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการเกษตรผสมผสานในพื้นที่ 5 ไร่ ต่อมาได้ขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 20 ไร่ มีแรงจูงใจจากการได้เข้ารับการฝึกอบรม “โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่” และจากการศึกษาค้นคว้าส่วนตัวเกี่ยวกับแนวพระราชดำริด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมี ความมั่นใจและเกิดพลังใจที่จะปรับเปลี่ยนตนเองจากแนวคิดที่ว่า ทำการเกษตรเพื่อขาย มาเป็นเพื่อพออยู่ พอกิน เมื่อเหลือค่อยนำไปขาย ไม่คิดแข่งขันกับใคร

จากครอบครัวเกษตรกรแต่กำเนิด ได้สืบทอดอาชีพการทำนาในพื้นที่ 20 ไร่ของบรรพบุรุษ และซื้อพื้นที่ทำนาเพิ่มเติมรวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300 ไร่ แต่ก็ไม่ประสพผลสำเร็จในการทำการเกษตร เนื่องจากเกิดปัญหาด้านภัยธรรมชาติ คือ เกิดน้ำท่วม ความแห้งแล้ง ศัตรูพืชเข้าทำลายพืชผลการเกษตร เป็นหนี้สินมากกว่า 700,000 บาท ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน ต้องไปเป็นกรรมกรแบกข้าวสารเพื่อหาเงินมาไถ่หนี้ที่ติดค้างชำระและซื้อพื้นที่นา 20 ไร่ของบรรพบุรุษกลับคืนมา

ปีพ.ศ.2538 พลิกชีวิตจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการเกษตรผสมผสานในพื้นที่ 5 ไร่ ต่อมาได้ขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 20 ไร่ ถัดมาในปี พ.ศ.2539 มีแรงจูงใจจากการได้เข้ารับการฝึกอบรม โครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ และจากการศึกษาค้นคว้าส่วนตัวเกี่ยวกับแนวพระราชดำริด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีความมั่นใจและเกิดพลังใจที่จะปรับเปลี่ยนตนเองจากแนวคิดที่ว่า ทำการเกษตรเพื่อขาย มาเป็นเพื่อพออยู่ พอกิน เมื่อเหลือค่อยนำไปขาย ไม่คิดแข่งขันกับใคร

ปี พ.ศ. 2541 มาทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้วยการปลูกพืชที่หลากหลายชนิด ทำให้ลดความเสี่ยงในทุกด้าน มีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี โดยเน้นใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักปัจจุบันมีหน่วยงานที่เห็นความสำคัญส่งเกษตรกรเข้าอบรมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ธ.ก.ส. สาขา จ.อุทัยธานี อบต.เทศบาลนครนครสวรรค์ฯ

supojkomaneeob supojkomaneetan
นายสุพจน์ โคมณี ได้รับการยอมรับให้เป็นประธานเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ และจากเพื่อนพี่น้องเกษตรกรในหมู่บ้านให้ทำหน้าที่ ประธานกองทุนหมู่บ้าน ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และประธานประชาคม

กิจกรรมและการดำเนินการ

  1. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองข่อย ได้ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ประมาณ 2 ล้านบาท ปี 2551 ทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองข่อย ได้จัดอบรมเกษตรกรไป 31 รุ่นๆ ละ 60 คน รวม 1,800 คน ส่วนเกษตรกรที่ไปดูงานอีกราว 300 คนต่อปี ส่วนในปี 2552 ได้เริ่มจัดอบรมไปแล้วราว 1,000 คน และตลอดทั้งปีน่าจะมีเกษตรกรผ่านการอบรม 1,800 คน ในแต่ละวันจะใช้วิธีเช้าบรรยาย บ่ายทำ ค่ำสรุป วันสุดท้ายของการอบรมจะให้ทุกคนเขียนแผนชีวิต นอกจากนั้นยังต้องมีการติดตามผลของเกษตรกรที่ผ่านการอบรม กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดจะอยู่ในพื้นที่ 20 ไร่ พืชหลากหลายชนิดกว่า 155 ชนิด

    หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมมี 2 หลักสูตร คือ 3 คืน 4 วัน และ 2 คืน 3 วัน โดยแบ่งฐานการเรียนรู้ออกเป็น 16 ฐานย่อย ดังนี้
    1.1 ฐานปรับแนวคิด เป็นฐานที่ปรับเปลี่ยนจากการท่องจำ เป็นการทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตน
    1.2 ฐานพึ่งพาประหยัด เรียบง่าย ใช้ประโยชน์สูงสุด
    1.3 ฐานธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ ใช้จุลินทรีย์มาทำให้ธรรมชาติดีขึ้น
    1.4 ฐานการผลิตก๊าซชีวภาพ
    1.5 ฐานการห่มดิน เป็นแนวคิดที่มาจากหากคนดูแลดิน ดินดูแลพืช แล้วพืชก็จะเลี้ยงคน
    1.6 ฐานเล่นขี้ ปลดหนี้ หายจน เป็นฐานการฝึกอบรมการทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
    1.7 ฐานน้ำยาเอนกประสงค์
    1.8 ฐานโรงปุ๋ยมีชีวิต
    1.9 ฐานปลูกไม้ 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง
    1.10 ฐานเลี้ยงปลาด้วยวิธีธรรมชาติ มีบ่อปลาทั้งหมด 5 บ่อ อาหารที่ให้ปลาในบ่อนั้น จะผลิตจากวัสดุธรรมชาติ อันมีสูตรในการผลิต คือ 6:4:2:4 ดังรายละเอียด
    – กากมะพร้าว 6 ส่วน เพื่อให้อาหารปลาละลายน้ำ
    – รำข้าว 4 ส่วน เป็นการเพิ่มโปรตีนที่มีในรำข้าว
    – ปลาป่น 2 ส่วน เป็นการเพิ่มโปรตีน
    – พืช เช่น ผักตบชวา 4 ส่วน เพื่อเพิ่มโปรตีนเช่นกัน
    เมื่อนำมาบดผสมรวมกันแล้วตากแห้งเก็บไว้เป็นอาหารปลา
    1.11 ฐานสมุนไพร มีสมุนไพรมากกว่า 100 ชนิด
    1.12 ฐานการทำบัญชี
    1.13 ฐานเกษตรทฤษฎีใหม่
    1.14 ฐานการขยายพันธุ์กิ่งพืช มีทั้งการทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ทำการขยายกิ่งได้ 70,000 80,000 กิ่ง/ปี
    1.15 ฐานพืชพลังงานทดแทน เพื่อการผลิตไบโอดีเซล จะผลิตจากสบู่ดำเพราะควันไม่แสบตา
    1.16 ฐานต้นไม้มงคล 9 ชนิด

  2. ขุดสระน้ำเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย และปลูกไม้มงคลประจำจังหวัดตามแผนที่ไว้ครบ
  3. กิจกรรมปิดทองหลังพระ ช่วยเหลือคนชายขอบ บ้านเกาะญวณ ต้นน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะญวณ จ.นครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามถูกกั้นด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความกว้างเพียง 400 เมตร เป็นการช่วยเหลือในด้านการดำรงชีวิตชุมชนบนเกาะ ด้วยหลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นงานที่ต้องทำทั้ง 6 มิติ คือ ดิน น้ำ ป่า เกษตร สิ่งแวดล้อม และพลังงานทดแทน

คติประจำใจ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ใช้หลักความพอประมาณด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเหมาะกับตนเองไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินตัว มีหลักการมีเหตุผล ใช้สติโดยยึดหลักธรรมในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ส่วนภูมิคุ้มกันได้ใช้ความรัก ความสามัคคี อดออม อดทนต่อสู้กับชีวิต มีความรอบรู้ ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ใช้ชีวิตด้วยความสุจริต ซื่อสัตย์ อดออม แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนทำให้ชีวิตครอบครัวประสบความสำเร็จหมดหนี้สิน ครอบครัวมีความสุข และเป็นแหล่งเรียนรู้การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด

supojkomaneebann supojkomaneena

ที่มา
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
สำนักศึกษาและขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น