หญ้าตองกง ไม้กวาดดอกหญ้า

15 สิงหาคม 2558 ไม้พุ่มเตี้ย 0

หญ้ามีลักษณะเป็นกอไม่ค่อยใหญ่มากนัก ใบของหญ้าก็ไม่ค่อยยาวและปลายยอดของหญ้ามีปลายแหม นำไปทำไม้กวาดตองกง เป็นไม้กวาดที่ทำมาจากดอกตองกง ซึ่งเป็นไม้ป่าที่คล้าย ๆ กับต้นหญ้าสูงกลุ่มผู้ทำจะนำดอกตองกงมาทักเป็นไม้กวาด ด้ามทำด้วยหวาย คุณลักษณะพิเศษจะแข็งแรง ทนทานใช้ได้นาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hornem) Honda (syn. T. maxima (Roxb.) O.Kuntze)
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่อสามัญ ตองกง, ก๋ง(เหนือ)., เค้ยหลา(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)., เลาแล้ง(สุโขทัย)., หญ้ากาบไผ่ใหญ่(เลย)., หญ้าไม้กวาด, หญ้ายูง(ยะลา)., bamboo grass., tiger grass

ลักษณะ
หญ้าตองกงเป็นพืชอายุหลายปี ลำต้นตั้ง มีกอที่แข็งแรงมาก ลำต้นคล้ายต้นไผ่ สูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 7.6-17.6 มิลลิเมตร ใบเป็นแบบรูปใบหอก(lanceolate)ขนาดใหญ่ ใบเรียวยาวไปที่ปลายใบ(acuminate) ใบยาว 41.0-76.7 เซนติเมตร กว้าง 4.7-9.1 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบไม่มีขน ขอบใบเรียบ(entire) กาบใบเรียบ สีเขียวอมขาวนวล ยาว 7.5-20.9 เซนติเมตร แต่ละใบเรียงตัวห่างตลอดลำต้น ลิ้นใบ(ligule) เป็นแผ่นเยื่อบางๆ(membranous entire)สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดทั้งปี ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง(panicle)ขนาดใหญ่แผ่แบบไม้กวาด ช่อดอก(inflorescence)ยาว 72.6-112.3 เซนติเมตร ส่วนของHeadยาว 50-70 เซนติเมตร ช่อดอกมีขนนุ่มละเอียด กลุ่มดอกย่อย(spikelet)มีขนาดเล็กมีดอกย่อย(floret) 2 ดอก ดอกล่างลดรูปเป็นเยื่อบางๆเป็นดอกหมัน (infertile) ดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (fertile) เมล็ดมีขนาดเล็กแบบผลธัญญพืช(caryopsis) ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและส่วนลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน

yatongkongs

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์
พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 45-1058 เมตร ตามริมธารน้ำ เนินเขา บนแนวเทือกเขา เช่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านสานตม ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (SN 239, PC 553, PC 578, PC 601, LP 211)

คุณค่าทางอาหาร
ส่วนของใบและยอดอ่อน มีค่าโปรตีน 10.9เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 15.9 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.7 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 5.6 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.10 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.38เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 1.01 เปอร์เซ็นต์

yatongkongtak yatongkongmai

การใช้ประโยชน์

  • ใบและยอดอ่อนเป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ช้าง สัตว์ป่า
  • ช่อดอกนำมาใช้ทำไม้กวาด

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น