หลุมขนมครก โคก หนอง นาโมเดล

1 มกราคม 2558 ศาสตร์พระราชา 0

“โคก หนอง นา” เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติได้จัดทำขึ้นตามแนวพระราชดำรัสการสร้างหลุมขนมครก ที่เรียกว่า โคก หนอง นา โมเดล เป็นแบบที่ใช้ได้ผลจริง เป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร มักอยู่ในพื้นที่กลางนํ้าผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ เป็นวิธีการจัดการนํ้าแบบบ้านๆ แต่ทำได้ง่ายและเก็บนํ้าได้จริงไม่ว่าจะท่วมหรือแล้ง มีหลักการดังนี้

loomnomkoknong

โคก บนโคกให้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ

  1. ป่าไม้ใช้สอย
  2. ป่าไม้ใช้กิน เช่น ผลไม้ ผัก
  3. ป่าไม้เศรษฐกิจ เพื่อปลูกไว้ขายสร้างรายได้ เช่น ไม้สัก โดยปลูก 5 ระดับ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน พืชหัว ประโยชน์เพื่อ
    3.1.พอกิน (อาหาร ยาสมุนไพร)
    3.2. พออยู่ (ไม้สร้างบ้าน)
    3.3.พอใช้ (ไม้ใช้สอย ไม้ฟืน)
  4. พอร่มเย็น (คืนสมดุลระบบนิเวศ) เพราะการปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศ ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับนํ้าฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรม

หนอง เพื่อกักเก็บนํ้าไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับยามนํ้าท่วม (หลุมขนมครก) ขุดคลองไส้ไก่ หรือคลองระบายนํ้ารอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้นํ้ากระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดนํ้าต้นไม้ ทำฝายทดนํ้า เพื่อเก็บนํ้าเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บนํ้า นํ้าจะหลากลงมายังหนองนํ้า และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดนํ้าเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
ยกหัวคันนา-พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณนํ้าในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน

loomnomkoknam

จากข้อมูลการวิจัยของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงฯ พบว่า พื้นที่ 1 ไร่ ในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล นี้จะสามารถอุ้มนํ้าได้ถึง 1,600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสถาบันฯ และมูลนิธิฯ ได้มีการฝึกอบรมให้ชาวบ้านมานาน 16 ปีแล้ว และมีผลสำเร็จให้เห็นได้ที่ชุมชนมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี และชุมชนบ้านหนองโน จังหวัดสระบุรี ดังนั้น หากสามารถขยายการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนที่อยู่ในลุ่มนํ้าป่าสักได้ทั้งหมด ให้ร่วมกันสร้างหลุมขนมครกอย่างน้อยหนึ่งแสนหลุม ในพื้นที่เพียง 2.4 ล้านไร่จาก 10 ล้านไร่ของลุ่มนํ้าป่าสัก ประกอบกับการขุดเส้นทางนํ้า เพื่อเชื่อม หนอง คลอง บึง การปลูกป่าชุมชน และทำฝายชะลอนํ้า ก็จะสามารถป้องกันภัยแล้งและแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้.

loomnomkokna

โคก หนอง นา โมเดล คือการใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนหนึ่ง ในพื้นที่หนึ่งแปลงเราสามารถขุดดินเพื่อสร้างหนองน้ำหรือสระน้ำไว้ในบ้าน เริ่มแรกเดิมทีชาวบ้านมาลงแรงช่วยกันขุดบ่อ โคกคือเอาดินในหนองน้ำมาปั้นเป็นโคกเพื่อปลูกบ้านบนที่สูง เวลาหน้าน้ำ ไก่หรือสัตว์เลี้ยงทั้งหลายก็สามารถอยู่บนโคกได้ พืชผักสวนครัวหรือป่าก็ปลูกบนโคก ถึงน้ำท่วมเราก็เก็บผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาอยู่บนโคกได้ ส่วนหนองน้ำเราก็เลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำพวกผักกะเฉดผักบุ้ง ส่วนนาเน้นการปั้นคันนาให้สูงอย่างน้อยหนึ่งเมตร เพราะถ้าคันนาเล็กพอแค่รถเกี่ยวข้าวผ่านได้ จะไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ แต่ถ้าคันนาใหญ่จะสามารถอุ้มน้ำเก็บน้ำได้ นาข้าวได้น้ำฝนที่กักเก็บทำให้คุณค่าทางอาหารของข้าวสูง

loomnomkokkao

หลุมขนมครก ของในหลวงก็คือที่เป็นหนองเป็นสระส่วนหนึ่ง เป็นหลุมจากท้องนาส่วนหนึ่ง หลุมที่เกิดจากคลองไส้ไก่ที่อยู่ในครัวเรือนส่วนหนึ่ง เปรียบเสมือนว่าในพื้นที่หนึ่ง ถ้าน้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วเช่นในพื้นที่ราบติดภูเขา หากไม่มีหลุมบ่อ ไม่มีหนองน้ำเลย ความแรงของน้ำจะทำลายทุกสิ่งไปยังพื้นที่ต่ำสุด ซึ่งจะได้รับความเดือดร้อนหนัก แต่ถ้าพื้นที่บริเวณนั้นสามารถสร้างหลุมขนมครกไว้รองรับน้ำ ความรุนแรงของน้ำก็สร้างปัญหาน้อยลง แล้วในหน้าแล้งน้ำในหลุมขนมครกก็ใช้ประโยชน์ได้ โดยการคำนวณของอาจารย์ยักษ์ ถ้าหนึ่งแสนครัวเรือนสามารถสร้างหลุมขนมครกในจุดที่กำหนดไว้ จะสามารถสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ถึงสองเขื่อนโดยไม่ต้องเสียพื้นที่ป่า การสร้างเขื่อนไม่ใช่ทางออกในปัจจุบันนี้แล้ว มันมีทางเลือกใหม่คือการทำหลุมขนมครกนะ อันนี้คือประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

loomnomkok

โมเดลนี้ยังเป็นการเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ชาวบ้านจะรู้สึกรักและอยากพัฒนาที่ดินของตัวเองให้ดีขึ้น สองคือเรื่องของความสามัคคีปรองดอง ความเอื้ออารี อันที่สามคือการเข้าถึงคำสอนของพระเจ้าอยู่หัว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี อยู่อย่างเข้มแข็งและมั่นคง ในยุคสมัยนี้หลายคนอยากมีฐานะร่ำรวย จะมุ่งเข้าสู้โรงานอุตสาหกรรม แต่ฐานรากทางด้านครอบครัวต้องไปเช่าบ้านอยู่ ทั้งๆ ที่ดินตัวเองก็มีแต่กลับทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า สุดท้ายพอถึงเวลาทุกอย่างหมด ตอนนี้พยายามสอนให้ชาวบ้านกลับมาใช้ประโยชน์ที่ดินตัวเองให้มาก

ตัวอย่างหลุมขนมครกที่สามารถเก็บกักนํ้าได้ 85,200 ลูกบาศก์เมตร ถ้าทุกบ้านเก็บนํ้าได้เพียงบ้านละ 2 หมื่นลูกบาศก์เมตร หากร่วมใจกัน 1 แสนครัวเรือนจะเก็บกักนํ้าได้ถึง 2,000,000,000 ลูกบาศก์เมตร (2 พันล้านฯ) เท่ากับการสร้างเขื่อนที่มีความจุเท่ากับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ถึง 2 เขื่อน คนในชุมชนมีนํ้าใช้ และนํ้าก็จะไม่ท่วมอีกต่อไป แสนหลุมขนมครก หยุดท่วม หยุดแล้ง

loomnomkokww
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

หลักสำคัญของ โครงการแสนหลุมขนมครก หยุดท่วม หยุดแล้งลุ่มน้ำป่าสัก คือ การเปลี่ยน “คน” ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเปลี่ยนชีวิตด้วยความเชื่อมั่นในศาสตร์พระราชา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวทางการจัดการ ดิน น้ำ ป่า ในพื้นที่แตกต่างทางภูมิสังคมไว้ ร่วมกับการไม่หลงลืมรากเหง้าของบรรพชน ตามกระแสพระราชดำรัส “บรรพบุรุษท่านทำไว้ดีแล้ว”

คนที่เปลี่ยนความคิดใหม่ จะไปชักชวนเครือข่ายในพื้นที่ทั้ง 5 ภาคส่วนมาร่วมด้วย ได้แก่ ราชการ วิชาการ ประชาชน เอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน

loomnomkokfag

การร่วมมือกันของทั้ง 5 ภาคส่วน คือ ความยั่งยืนที่เกิดขึ่้นและการขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ให้เกิดเป็นทางรอดของโลก ในวันที่มนุษย์ต้องเผชิญกับวิกฤตทางธรรมชาติอย่างแสนสาหัส ทางแก้คือการลงมือทำ ให้ดิน น้ำ ป่า กลับคืนมา ในพื้นที่ของตนเอง -ลงมือทำ วันนี้ คืนดิน น้ำ ป่า ให้ลูกหลาน

loomnomkokpasaktee

loomnomkokpasak

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น