จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทำเอง

23 กุมภาพันธ์ 2560 จุลินทรีย์ 0

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นแบคทีเรียพบกระจาย ทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง น้ำที่มี ความเป็นกรด น้ำพุร้อน น้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย บทบาทของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 – assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี ยังมีบทบาท สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมา ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ในน้ำเสียจากบ้านเรือนและนำเสียจากการทำปศุสัตว์สามารถบำบัดด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


จุลินทรีย์สีแดงหรือแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (PHOTOSYNTHETIC BACTERIA) ใช้ในงานเกษตรกรรมต่างๆอุตสาหกรรม หลากหลาย ใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกมานานกว่า 50 ปี โดยเฉพาะญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับจุลินทรีย์ตัวนี้ ได้ให้ประชาชน ทุกๆ วงการรู้และเข้าใจในประโยชน์ของจุลินทรีย์นี้อย่างกว้างขวาง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแบ่งออกเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วง(purple photosynthetic bacteria) และ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีเขียว (green photosynthetic bacteria) แต่ สำหรับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วงที่นำมาใช้ในทางด้านการเกษตร และสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จะอยู่ ในกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีม่วงกลุ่มไม่สะสมกำมะถัน ซึ่งพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติใน ชั้นน้ำที่มีแสงสว่างส่องถึงมีสารอินทรีย์ และพบการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในแหล่งน้ำที่ไม่มีออกซิเจนมี แสงเล็กน้อย ในแหล่งน้ำจืดที่มีซัลไฟด์อยู่จะพบน้อยมาก แต่บางชนิดก็อาศัยอยู่ได้ในที่ที่มีปริมาณ ซัลไฟด์อยู่สูง นอกจากนี้ ยังพบได้ในพื้นดิน สระน้ำ คลอง หรือแหล่งน้ำที่สกปรก เช่น บ่อบำบัดน้ำ เสีย ซึ่งมีปริมาณสารอินทรีย์สูง จึงเป็นแหล่งที่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่มดังกล่าวเจริญได้ดี เช่น Rhodopseudomonas capsulate , R. sphaeroldes

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทำเอง

วัสดุอุปกรณ์

  • น้ำเปล่า จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำคลอง หนอง บึง แม่น้ำ เป็นต้น
  • ไข่
  • ผงชูรส หรือ น้ำปลาแท้
  • ขวดพลาสติก
  • ครกหรือเครื่องปั่นแล้วแต่จะหาได้

วิธีทำ
1. นำขวดพลาสติกใส (ขวด PET) ขนาด 1.5 ลิตร ใส่น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แค่คอขวดให้เหลือพื้นที่ไว้เติมหัวเชื้อและอาหาร


2.ตีไข่ 1 ฟอง ใส่ผงชูรสลงไป 2 ช้อนชา หรือ น้ำปลาแท้ ช้อนโต๊ะ ตีให้เข้ากันเหมือนกับเราจะทำใข่เจียว


3.เปลือกไข่ ถ้าใช้ครกก็ตำเปลือกไข่ให้ละเอียด ผสมลงในไข่ที่ตีแล้วในข้อ 1 ถ้ามีเครื่องปั่นก็นำทุกอย่างใส่เครื่องปั่นรวมกันได้เลย


4.เติมหัวเชื้ออาหารที่เราผสมไว้แล้ว 1 ช้อนโต๊ะ และเหลือพื้นที่ไว้ให้เกิดแก๊สเวลาเขย่าเพื่อจะได้เกิดแก๊สไข่เน่าเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์สีแดง เสร็จเรียบร้อยแล้วปิดฝา เขย่าให้เข้ากัน


5.นำขวดจุลินทรีย์ที่เราผสมแล้วไปตั้งทิ้งไว้ให้โดนแสงแดด เขย่าทุกเช้า เย็น จนจุลินทรีย์ของเรากลายเป็นสีแดง ถ้าขยันเขย่าก็จะแดงเร็ว เอาเป็นว่าแดงก็ใช้ได้เลย

หมายเหตุ
แต่ละขวดอาจจะมีสีแตกต่างกัน เช่น สีแดง สีม่วง สีเขียว ให้นำขวดที่เห็นเป็นสีแดง สีม่วง ไปใช้งาน เพราะเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือนำไปขยายเชื้อต่อได้

กรณีขยายเชื้อ
ให้เติมหัวเชื้อที่ผสมแล้วลงไปในขวดน้ำเปล่าที่เตรียมไว้ ใส่ประมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ

การนำไปใช้
จะผสมกับน้ำแล้วรดต้นพืช แนะนำให้ใช้จุลินทรีย์สีแดง 20 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร แต่ส่วนตัวว่าเราทำเองใส่เท่าไหร่ก็ได้ ไม่เห็นเสียหายอะไร

ประโยชน์จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  • บำบัดน้ำเสีย ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมในการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมทางเคมี ช่วยป้องกัน มลพิษทางอากาศช่วยกำจัดของเสียและแร่ธาตุที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น คลอไรด์(CHLORIDE),ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) หรือก๊าชไข่เน่า,เมอร์แคปตัน (MERCAPTAN) ไดอะมายด์ (DIAMINE) ,ลดค่า BOD ธาตุ โคบอลต์ ค่าความเป็นกรด สารแขวนลอย ฯลฯ
  • วงการสัตว์น ้าและปศุศัตว์ – ในวงการปศุสัตว์และสัตว์น้ำ นำไปผสมเป็นอาหารเสริมเพราะเซลล์ของจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วยโปรตีนสูงถึง ร้อย ละ 60-65 มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนและยังมีวิตามินแร่ธาตุ เช่น วิตามิน บี 1 กรดฟอลิค (B9) วิตามิน ดี วิตามิน บี 2 วิตามิน บี12 วิตามิน อี วิตามิน บี 3 วิตามิน ซี วัตถุสีแดง(CAROTENOID) และให้สารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูนิควิโนน โคเอนไซม์ Q ออกซิน ไซโตไคนิน ซีเอติน กรดบิวทีริกและกรดอะซิติก
  • เป็นสารอาหารเสริมในสัตว์ แข็งแรง ปลอดโรค โตไว มีคุณภาพเพิ่มผลผลิต
    – ควบคุมน้ำเสียในบ่อสัตว์น้ำ ลดปัญหาโรคต่างๆในน้ำ อัตรารอดสูงและเพิ่มปริมาณผลผลิตมากขึ้น
    – กำจัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มทำให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรงต้านทานโรคดี ผลผลิตสูง
  • วงการเกษตร ใช้ในนาข้าว,พืชไร่,ไม้ผล,ไม้ประดับ ฯลฯ
    – ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลงถึง 50 %
    – ลดก๊าชไข่เน่าในดิน ช่วยให้รากพืชขยายได้ดีและกินปุ๋ยได้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 30 %
    – เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เพิ่มผลผลิตข้าวได้มากถึงไร่ละ 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะดินในบริเวณราก ข้าวจะเกิดแก๊สไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งไปยับยั้งการดูดซึมของรากข้าว แต่ SUN SMILE จะไปเปลี่ยนแก๊ส ไข่เน่าให้ไปอยู่ในรูปสารประกอบซัลเฟอร์ที่ไม่เป็นพิษต่อรากทำให้รากข้าวเจริญงอกงามสามารถดูดซึมอาหารให้ ต้นข้าวแข็งแรงและขจัดสารพิษในนา
    – ส่วนในพืชอื่นๆก็เช่นกันช่วยทำให้รากของพืชแข็งแรงสามารถหาอาหารได้เก่งสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น และ SUN SMILE ยังมีโปรตีนสูงและวิตามินแร่ธาตุมากมาย เป็นประโยชน์กับพืชอย่างมากเพิ่มคุณภาพผลผลิต
    – พืชมีความแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงต่างๆได้ดี – ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน เช่น ไมคอริซ่า,อาโซโตแบคเตอร์ ฯลฯ

สรุปประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. ช่วยลดก๊าซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
  2. ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลง 50 %
  3. ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วย ให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
  4. เซลล์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น B1 B2 B6 B12 กรดโฟลิค วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี รงควัตถุสีแดง (carotenoid) และสารโคแฟคเตอร์ เช่น ยูบิควิโนน โคเอนไซม์คิวเท็น ไซโตไคนิน ซีเอติน ออกซิน กรดอินโดล -3- อะซิติก (Indole-3-acetic acid : IAA) กรดอินโดล -3-บิวทีริก (Indole-3-butyric acid : IBA) ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด จุลินทรีย์

แสดงความคิดเห็น