ไม้ริมน้ำ อายุหลายปี ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าแข็ง ลำต้นเหนือดินสร้าง ช่อดอก แตกเป็นกอ พบกระจายอยู่ทั่วโลก มีประมาณ 4,000 ชนิด ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำ ตามหนอง บึง ทางระบาย มีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus alternifolius L.,
ชื่อสามัญ: Umbrella plant, Flatsedge)
สกุล Cyperus
มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาดากัสการ์ ถูกนำไปปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับทั่วโลก กกรังกามีชื่อสามัญอื่น ๆ อีกคือ กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง และ กกราชินี
ลักษณะทั่วไป
กกรังกาเป็นพืชที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียว ใบจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม. ดอกแก่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ผล (Fruit) ผลแห้ง รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 0.4-0.5 มิลลิเมตร ยาว 0.9-1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียว
ประโยชน์ : ใบตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล ดอกต้มเอาน้ำแก้แผลพุพองในปาก ปลูกประดับในสวนน้ำ
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : เปลือกแก้อาเจียนเนื้อฝัก ยาระบาย แก้ไข้
ถิ่นอาศัย และการขยายพันธุ์
กกรังกาเป็นพันธุ์ไม้มักจะขึ้นตามบริเวณที่ ๆ เป็นโคลนหรือน้ำ เช่นข้างแม่น้ำ ลำคลอง สระ หรือบ่อน้ำ และที่ลุ่มทั่วไปอยู่ในทวีปแอฟริกา มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและใช้เมล็ด
ป้ายคำ : ไม้ประดับ