กระจับเป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ใบมี 2 แบบ คือ ใบใต้น้ำเป็นเส้นยาวคล้ายราก ส่วนใบลอยน้ำรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบใบจักแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างมีสีแดง ก้านใบยาวตรงกลางพองออก ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ บานเหนือน้ำ เมื่อเป็นผลจะจมลงใต้น้ำ ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งเขางอโค้งคล้ายเขาควาย กระจับชนิดนี้มีปลายเขาแหลม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Trapa Bicornis
ชื่อทั่วไป Water Chestnut, Horn Chestnut, Water Caltrops
ชื่อพื้นเมือง กะจับ มะแงง ม่าแงง พายับ เขาควาย Ling Ko(จีน หมายถึง Spiritual Horn)
ชื่อวงศ์ : TRAPACEAE
กระจับเป็นไม้น้ำชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมากเพราะผลมีรูปร่างประหลาด คล้ายหน้าควายที่มีเขาโค้ง ๒ เขา สีดำสนิท เมื่อกะเทาะเปลือกนอกที่แข็งออก จะได้เนื้อในสีขาว มีแป้งมาก นำมาต้มให้สุกก่อนรับประทาน หรือต้มกับน้ำตาล แล้วรับประทานกับน้ำแข็งเป็นขนมอย่างหนึ่ง กระจับมีรากหยั่งยึดดินและมีไหล ใบเดี่ยวมี ๒ แบบ ใบที่ลอยน้ำมีก้านยาว อวบน้ำ และพองเป็นกระเปาะตรงกลาง แผ่นใบมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปพัด เวียนเป็นเกลียวถี่ๆ ตามลำต้น ทำให้ดูเหมือนใบแผ่เป็นวงรอบต้น ใบอีกแบบหนึ่งอยู่ในน้ำ เป็นเส้นฝอยๆ คล้ายราก ดอกสีขาวมีกลีบ ๔ กลีบ บานอยู่เหนือน้ำ เมื่อติดผลแล้ว ก้านดอกจะงอกลับลงน้ำ และผลจะเจริญอยู่ใต้น้ำ ผลอ่อนสีม่วงอมแดงจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ส่วนที่เป็นเขาโค้ง ๒ เขานี้เจริญมาจากกลีบเลี้ยง กระจับมี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์เขาแหลม และพันธุ์เขาทู่ พันธุ์เขาแหลมมีรสชาติดี แต่ชาวบ้านนิยมปลูกพันธุ์เขาทู่มากกว่า
ลักษณะทางชีววิทยา
กระจับเป็นพืชน้ำที่ลอยได้ ชอบน้ำนิ่ง มีอายุหลายฤดูขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม รากจะหยั่งลึกลงดินใบเดี่ยว มี 2 แบบ คือใบลอยน้ำและใบใต้น้ำ ใบลอยน้ำมีก้านยาวอวบน้ำและส่วนตรงกลางจะพองออกเป็นกระเปาะทำให้ลอยน้ำได้ดี แผ่นใบของใบลอยน้ำมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู หรือรูปพัด กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. ใบจะเรียงรอบลำต้นราวกับใบกระจายอยู่โดยรอบ ใบใต้น้ำจะเป็นใบฝอยและเป็นเส้นใยคล้ายรากดอกออกที่โคนใบในช่วงฤดูฝน เป็นดอกเดี่ยวสีขาว ขนาดของดอกประมาณ 0.5 มม. ดอกบานเหนือน้ำ กลีบเลี้ยงมีโคนเชื่อมกันแต่ปลายแยกมีกลีบดอก 4 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อันรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมี ovule 1 อันเมื่อติดผลแล้วก้านดอกจะยืดยาวโค้งกลับลงน้ำเพื่อให้รังไข่ได้เจริญเป็นผล ผลเจริญอยู่ใต้น้ำ เขาโค้งสองข้างของผลพัฒนามาจากกลีบเลี้ยง 2 กลีบ
การกระจายตามธรรมชาติ
กระจับมีอยู่ 30 ชนิด กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมีอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์เขาแหลมที่มีรสชาติดี และพันธุ์เขาฟูที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะขึ้นได้ง่ายและเติบโตดี
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
กระจับมีสารอาหารพวกแป้ง ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินเอ โปรตีน และสารไบคอร์มิน (Bicormin) ใบมีรสเปรี้ยว ใช้กัดเสมหะ แก้ไข้ ขับเมือกในลำไส้ให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ใบช่วยเป็นยาเสริมสมรรถภาพตาของเด็ก ส่วนก้านต้นใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ ผลเป็นอาหารได้ โดยทานเนื้อในของผลที่มีสีขาว ผลกระจับมีปริมาณแป้งสูง มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอ และมีโปรตีน ในการบริโภคจึงต้องต้มให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้ เพราะอาจจะมีปัญหาของพยาธิใบไม้ ในบางภัตตาคารจะใช้กระจับแทนแห้ว แม้แป้งของกระจับก็ใช้แทนแป้งของถั่วเขียวได้ บางแห่งจะทำน้ำกระจับ จำหน่าย นอกจากนี้ยังมีปริมาณแคลเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารไบคอร์มิน (Bicormin)
การใช้ประโยชน์
ใบมีรสเปรี้ยว ใช้กัดเสมหะ แก้ไข้ ขับเมือกในลำไส้ให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ใบช่วยเป็นยาเสริมสมรรถภาพตาของเด็ก ส่วนก้านต้นใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ ผลเป็นอาหารได้ โดยทานเนื้อในของผลที่มีสีขาว ผลกระจับมีปริมาณแป้งสูง มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอ และมีโปรตีน ในการบริโภคจึงต้องต้มให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้ เพราะอาจจะมีปัญหาของพยาธิใบไม้ ในบางภัตตาคารจะใช้กระจับแทนแห้ว แม้แป้งของกระจับก็ใช้แทนแป้งของถั่วเขียวได้ บางแห่งจะทำน้ำกระจับจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีปริมาณแคลเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสาร bicornin
กระจับขยายพันธุ์ด้วยผลและไหล มีการปลูกตามคูคลองหนองบึงทั่วไปที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ใช้เวลา ๕ – ๖ เดือน จะสามารถเก็บผลิตผลได้ ไม้น้ำชนิดนี้สวยงามแปลกตา ใบรูปคล้ายพัดแผ่รอบๆ ต้น ผิวด้านบนสีเขียวเป็นมันเงางาม ส่วนแผ่นใบด้านล่างมีสีม่วงแดง ปลูกประดับในสวนน้ำได้ดี
การปลูกกระจับ
ทำกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะบึงบรเพ็ดและเพชรบุรีที่แคชเมียร์ของอินเดียก็มีการปลูกกันมาก ผลิตได้ปีละ 4,000-5,000 ตัน ช่วยชีวิตคน 30,000 คน ตลอดในช่วงเวลา 5 เดือนที่ออกผล นอกจากนี้ยังมีการปลูกในปากีสถาน ศรีลังกา อินโดนีเชีย จีนตอนใต้ ญี่ปุ่นตอนใต้ ในประเทศจีนจะมีเทศกาลทานกระจับในกลางฤดูใบไม้ร่วง ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อฉลองการล้มล้างอิทธิพลของมองโกลเหนือแผ่นดินจีน และทำติดต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งราชวงศ์หยวน
กระจับถือเป็นยาเย็น เปลือกใช้แก้ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ฝีหนอง ผลทานเป็นอาหารชูกำลัง บำรุงทารกในครรภ์ แก้อ่อนเพลีย บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์บำรุงกำลังคนไข้ เป็นอาทิ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน
อยากได้ต้นเอามาปลูกจังเลย