กระชาย โสมของไทย ราชาแห่งสมุนไพร

30 พฤษภาคม 2556 ไม้ใต้ดิน 0

กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียว ยาวอวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือสีขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr
วงศ์ : Zinggberaceae
ชื่อท้องถิ่น : กะแอน, ระแอน, หัวละแอน (ภาคเหนือ) ; ขิงแดง, ขิงทราย( มหาสารคาม) ; ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) ; จี๊ปู่, จี๊พู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน) ; เป๊าะซอเถ๊ะ, เป๊าะสี (แม่ฮ่องสอน)

กระชายมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น กระชายเหลืองกับกระชายดำ เป็นหลัก ซึ่งกระชายดำกำลังเป็นที่นิยม จนกระทั่งกระชายเหลืองรู้สึกว่าจะถูกลดลงไป แต่เขาบอกว่ากระชายเหลืองมีคุณสมบัติทางสมุนไพรดีกว่ากระชายดำ คือไม่ได้ขึ้นอยู่กับสี บางทีคนเราคิดว่าถ้าสีเข้มน่าจะมีประโยชน์ น่าสนใจมากกว่า กระชายดำถูกโปรโมชั่นทางการตลาดเข้ามาเสริมด้วย ทำให้โด่งดังระเบิด แต่ว่าเดี๋ยวนี้ก็จะซา ๆ ลงไปบ้างแล้ว
กระชายที่เห็นโดยทั่วไปจะนำมาใช้ 2 อย่าง คือ ใช้เป็นอาหารและก็เป็นยา ในส่วนของการที่นำเอากระชายมาทำอาหารก็คือ ส่วนที่ตัวรากเพราะว่ากระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แต่ส่วนใหญ่จะนำเอากระชายจริง ๆ แล้วใช้เป็นผักจิ้มรับประทานได้โดยตรง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเขาไม่ค่อยทานแบบนั้น มักนิยมมาทำเป็นเครื่องแกงมากกว่า เพราะว่ามีคุณสมบัติที่สามารถดับกลิ่นคาวของเนื้อหรือปลาได้ดีปลาที่มีกลิ่นคาวจัดอย่างเช่น ปลาไหล ปลาดุก อะไรพวกนี้ ก็จะเอากระชายมาปรุง ตัวอย่างของอาหารที่ใช้กระชายเป็นเครื่องปรุงซึ่งชาวไทยรู้จักกันดีก็คือ น้ำยาที่กินกับขนมจีน น้ำยาขนมจีนส่วนใหญ่จะใช้เนื้อปลาเป็นส่วนใหญ่ และมักจะเติมกระชายลงไปเพื่อทำให้ดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา ทำให้มีกลิ่นหอมขึ้น กระชายใช้ทำน้ำยากันทั่ว ๆ ไป ทางภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน แกงบางชนิดที่คนไทยรู้จักกันดี บางทีก็จะมีการใส่กระชายลงไปด้วย อย่างเช่น แกงบอน หรือว่าแกงขี้เหล็ก ยังมีแกงชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดี ที่เรียกกันว่า แกงปลาไหล ถึงกับมีสำนวนว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง เพราะว่าน้ำแกงปลาไหลนี่มีรสชาตอร่อย บางคนเขาก็ไม่ชอบกิน คือเวลากินทีไรมักนึกถึงงู แต่ว่าน้ำแกงปลาไหลนี่จะอร่อย น้ำแกงปลาไหลจะมีกระชายเป็นส่วนประกอบ เช่นเดียวกับพวกแกงปลาดุก หรือแกงอะไรที่มีกลิ่นคาวจัด มีอาหารไทยอีกอย่างที่เป็นที่นิยมชมชอบกันตั้งแต่อดีต แต่ปัจจุบันนี้รู้จักกันน้อย คือต้มยำโฮกฮือ เขาบอกว่าเป็นแกงสำหรับซดน้ำกำลังร้อน ๆ จะทำให้ทานข้าว กับข้าวอื่น ๆ ได้คล่องคอ ส่วนรสชาติของต้มยำที่ชื่อโฮกฮือก็คือ กระชายเป็นเครื่องปรุงสำคัญ แกงป่าเป็นแกงไทยดั้งเดิมซึ่งไม่ใส่กะทิ นิยมใช้กระชายเป็นเครื่องปรุงเครื่องแกงโดยเฉพาะแกงป่าที่ใส่พวกปลา เพราะอาหารดั้งเดิมของคนไทยเรา คือ มีปลาเป็นหลัก ส่วนพวกหมูมาทีหลัง มีกลิ่นคาว ดังนั้นกระชายจะช่วยดับกลิ่น และช่วยให้มีกลิ่นหอมขึ้นนอกจากนี้ในอาหารชนิดต่าง ๆ ยังใช้กระชายในการปรุงอาหารอื่นอีกมากมาย เช่น พวกหลนต่าง ๆ งบปลา แกงส้ม แกงต้มเปรอะแกงเขียวหวานมรกต แกงคั่วหัวตาล แกงหน่อไม้ แกงใส่ใบย่านาง กะปิคั่ว ห่อหมกปลาดุก ข้าวแช่ แล้วก็แกงไตปลาของภาคใต้ก็นิยมใส่กระชาย

kachairak

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่

KONICA MINOLTA DIGITAL CAMERA

สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เหง้า ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง ขับลม ช่วยให้กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมอันบังเกิดแต่กองหทัยวาต แก้ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากแตกเป็นแผล แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ขับระดูขาว แก้ใจสั่น ราก(นมกระชาย) แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงความกำหนัด มีสรรพคุณคล้ายโสม หมอโบราณเรียกว่า โสมไทย หัวและราก ขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง แดง เจ็บปวดบั้นเอว บำรุงกำหนัด บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะ หัวใช้เผาไฟฝนรับประทานกับน้ำปูนใส เป็นยาแก้บิด แก้โรคบังเกิดในปาก แก้มุตะกิต
ตำรายาแผนโบราณของไทย: มีการใช้กระชายใน พิกัดตรีกาลพิษ คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้พิษตามกาลเวลา 3 อย่าง มีรากกะเพราแดง เหง้าข่า และหัวกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงความกำหนัด แก้ไข้สันนิบาต แก้เลือด เสมหะ แก้กามตายด้าน
ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้เหง้า แก้โรคบิด โดยนำเหง้าย่างไฟให้สุกแล้วโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานทั้งน้ำและเนื้อ ครั้งละครึ่งแก้ว เช้า เย็น และใช้เหง้าแก้กลากเกลื้อน โดยนำเหง้ามาโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรงทาบริเวณที่เป็นแผล
ตำรายาพื้นบ้านล้านนา: ใช้เหง้า รักษาโรคทางดินปัสสาวะอักเสบ กลากเกลื้อน ท้องอืดเฟ้อ

สรรพคุณ : กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก

  1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
  2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
  3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานก่อนอาหารเย็น
  4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำกระชายแห้งบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อน
  5. นำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ใช้ฉีดบริเวณที่มีแมลงรบกวน
  6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์
  7. บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน
  8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน
  9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
  10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
  11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

  1. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง
    ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ(น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 3-5 กรัม) ทุบพอแตกต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ หรือปรุงอาหารรับประทาน
  2. แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย)
    ใช้เหง้าหรือหัวสดครั้งละ 2 หัว (ประมาณ 15 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม

องค์ประกอบทางเคมี:
พบน้ำมันระเหยง่าย 0.08% ประกอบด้วย 1,8 cineol, boesenbergin A, dl-pinostrobin, camphor, cardamonin, panduratin นอกจากนี้ยังพบสาร flavonoid และ chromene เช่น, 6- dihydroxy 4 methoxychalcone, pinostrobin, pinocembin

วิธีปลูกกระชาย
การเตรียมดินปลูกกระชาย

  • ไถพรวนหรือขุดดินเพื่อให้ดินร่วนซุย
  • ถ้าดินระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องยกร่อง

กระชาย สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด โดยเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีไม่ท่วมขัง การเตรียมดินควรไถพรวนตอนต้นฤดูฝน และควรมีการยกร่องปลูกโดยมีระยะห่างระหว่างแถว 75 ซม. ระหว่างต้น 30 ซม.
ฤดูการปลูกกระชาย
ปลูกในช่วงฤดูฝนปลายเดือน เมษายน-พฤษภาคมและจะเก็บหัวในช่วงฤดูหนาว คือปลายเดือน ธันวาคม-มกราคม ซึ่งช่วงดังกล่าวหัวจะแห้ง
การปลูกการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย

  • คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
  • แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่น ขนาดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนัก 15-50 กรัม
  • แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง มาลาไธออน หรือคลอไพรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ
  • ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกัน กำจัดเชื้อราก่อนปลูก

การเตรียมหัวพันธุ์กระชาย
การปลูกใช้ท่อนพันธุ์มี 2 ลักษณะคือหัวแม่และแง่ง

  • การปลูกโดยหัวแม่ควรมีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ หัว
  • การปลูกด้วย แง่งพันธุ์มีปล้อง 7-9 ปล้อง / ชิ้น น้ำหนัก 15-30 กรัม ยาว 8-12 ซม.

ก่อนปลูกกระชาย หัวพันธุ์ควรแช่ด้วยยาป้องกันเชื้อรา และยาฆ่าเพลี้ยโดยแช่ไว้ประมาณ 30 นาทีการปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก และวางท่อนพันธุ์ กลบดินหนาประมาณ 5-10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอก ประมาณ 30-70 วัน หลังปลูก

kachaiton

การปลูกกระชาย

  • ระยะระหว่างต้น และระหว่างแถว 3030 ซม.
  • ขุดหลุมขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 1515×15 ซม.
  • ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณหลุมละ 200 กรัม ( 1 กระป๋องนม )
  • นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินหนา 5 ซม.
  • คลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าคาหน้าประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน
  • รดน้ำให้ชุ่ม

การใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช
กระชายงอก ยาวประมาณ 5-10 ซม. ควรรีบทำการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย เชื้อกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ควรพรวนดินกลบโคนแถว

น้ำกระชาย
สรรพคุณกระชายปั่นคั่นน้ำ

  • ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบาง
  • ช่วยบำรุงตับ ไตให้แข็งแรง ดูแลระบบมดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เต็นสมั่าเสมอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น
  • ช่วย ฟื้นฟูต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น ต่อมไธรอยด์ ต่อมใต้สมองต่อมหมวกไต และตัวอ่อน เมื่อต่อมไธรอยด์ปกติดี จะไม่เป็นโรคคอพอก และยังมีส่วนในการช่วยลดกรดยูริด
  • ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิง คือ แอสโตรเจน และ ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน ซึ่งมีอยู่ในร่างกายของทุก ๆ คน ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศหญิงในตัวมากเกินไปก็อาจจะเป็นเต้านม หรือมีน้อยไปก็อาจเป็นมะเร็งปากมดลูก ส่วนผู้ชายนั้น น้ำกระชายจะช่วยคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต
  • ช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น ถ้ากินคู่กับใบบัวบก จะบำรุงสมองได้โดยตรง ต้องกินเป็นประจำเพื่อป้องกันความจำเสื่อม
  • ปรับความดันโลหิตให้พอดี ไม่ให้สูงมากหรือต่ำมากเกินไป
  • กินน้ำชายเป็นประจำ ช่วยให้เส้นผมไม่หงอกก่อนวัย เล็บมือ เล็บเท้า แข็งแรง
  • ช่วยขับน้ำคาวปลา สตรีหลังคลอดบุตร

ในน้ำกระชายมีอาหารอยู่ 2 กลุ่ม

  1. กลุ่มละลายในน้ำ
  2. กลุ่มที่ละลายในไขมัน

เมื่อกินน้ำกระชายเข้าไปแล้ว ในกระเพาะเรามีน้ำ มีไขมัน และจุลินทรีย์ สองกลุ่มจะแยกกันทำหน้าที่ของมันเอง ตัวจุลินทรีย์ในกระเพาะจะทำให้เกิดแอลกอฮอล์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สกัดตัวยากลุ่มที่ละลายในน้ำออกมาจากน้ำกระชายได้เอง ส่วนกลุ่มที่ละลายในไขมันก็ทำงานของเขาเอง
คนปกติควรกินน้ำกระชายเพื่อบำรุงเอาไว้ จะช่วยปัองกันไม่ให้เป็น โรคไต ผู้ชายปัองกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ผู้หญิงปัองกันไม่ให้เป็นมดลูกโต

kachainam

ในน้ำกระชาย 1 แก้ว มีคุณค่าสูงกว่านม 1 แก้ว หลายเท่า ถ้าให้เด็กกินเป็นประจำ จะช่วยสร้างกระดูกให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง กินคู่กับมะม่วงสุกแล้วปั่นก็ดี ต้องการให้หวานก็เติมน้ำผึ้งได้ ปั่นกระชายแล้วเก็บน้ำกระชายใส่ขวดแช่เย็นไว้เป็นหัวเชื้อได้หลายวัน เวลาจะทำเครื่องดื่มก็นำหัวเชื้อน้ำกระชายมาเจือจางในน้ำ แล้วจะเต็มน้ำดอกอัญชันก็ได้ หรือเติมน้ำผลไม้ปั่นอื่น ๆ อีกหลายอย่างแล้วแต่จะดัดแปลง ไม่มีอะไรตายตัว ขอให้ทำให้อร่อยแล้วกินได้

วิธีทำน้ำกระชาย

  • นำกระชายมาล้างน้ำเกลือหลาย ๆ ครั้งให้สะอาดประมาณ 1 ขีด (ไม่ต้องปอกเปลือก)
  • หั่นกระชายเป็นแว่นเล็ก ๆ ใส่เครื่องปั่นแล้วเติมน้ำ 3 แล้ว
  • ปั่นให้ละเอียดแล้วกรองเอาแต่น้ำ ทิ้งกากไป (ห้ามกินกาก)
  • ใช้น้ำเป็นหัวเชื้อใส่ขวดเก็บในตู้เย็นได้หลายวัน
  • เวลาจะใช้ดื่มก็เทใส่แล้วแล้วเติมน้ำสะอาดให้เจือจาง
  • เติมน้ำผึ้ง เกลือ ปรับรสชาติตามใจชอบ

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ใต้ดิน

แสดงความคิดเห็น