กระดังงาไทยที่ปลูกกันมากตามบ้านนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ดอกกระดังงาไทยนี้สามารถนำไปใช้สกัดเป็นน้ำมันและทำเป็นเครื่องอบเครื่องหอมได้อีกด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา (ตรัง ยะลา) กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (กลาง) สะบันงา สะบันงาต้น (เหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 30 ม. เปลือกสีเทา กิ่งออกหนาแน่นใกล้ยอด กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มกระจาย
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10-20 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบส่วนมากกลม มักเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างบาง มีขนสั้นนุ่มตามเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบ 8-9 เส้นในแต่ละข้าง ตรง เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันไดห่างๆ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกสั้นๆ ตามกิ่งหรือซอกใบ มีขนสั้นนุ่ม ก้านช่อยาว 2-3 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 2-5 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย
ดอก ดอกมีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน รูปไข่ ปลายแหลม พับงอ ยาวได้ประมาณ 7 มม. มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบดอก 6 กลีบ รูปแถบ มีก้านกลีบสั้นๆ กลีบยาวเท่าๆ กัน ยาว 5-7.5 ซม. ปลายกลีบแหลม เส้นกลีบจำนวนมาก มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 3 มม. อับเรณูติดด้านข้าง ปลายมีระยางค์เป็นติ่งสั้นๆ ยาวประมาณ 1 มม. รังไข่รูปขอบขนาน เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียรูปถ้วย เป็นชั้นบางๆ เรียงชิดรังไข่ติดจานฐานดอกเป็นรูปหมวก
ผล ผลย่อยรูปของขนานแกมรูปไข่ ยาว 1.5-2.3 ซม. เกลี้ยง สุกสีดำ ก้านผลย่อยยาว 1.2-1.8 ซม. เมล็ด 2-12 เมล็ด เรียง 2 แถว สีน้ำตาล ผิวเป็นจุดๆ
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ส่งกลิ่นหอมแรง การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้บริเวณต้นทางที่ลมพัดผ่าน จะทำให้ผู้ปลูกได้สัมผัสกับกลิ่นของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ได้โดยตรง
ตำรายาไทยใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในเกสรทั้งเจ็ด คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม มีการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยดอกมีฤทธิ์ไล่แมลงบางชนิด Traditional Use Leaf and wood: diuretic
สารสำคัญ : น้ำมันหอมที่สกัดได้จากดอกเรียกว่า Cananga oil หรือ Ylang-ylang oil ประกอบด้วย Caryophyllene, Benzyl acetate, Benzyl alcohol, Farnesol, Terpineol, Borneol, Geranyl acetate, Safrol, Linalol, Limonene, Methyl salicylate เป็นต้น
สรรพคุณ : น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากดอก ใช้ในทางยา เป็น Aromatherapy สำหรับเป็นยาฆ่าเชื้อโรค แก้อาการซึมเศร้า แก้อาการกระวนกระวาย ช่วยสงบประสาท บำรุงประสาท ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ขับลม แก้หืดหอบ และยังใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ทำเครื่องหอมต่างๆ กระดังงาสกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis
สรรพคุณของกระดังงา
ประโยชน์ของกระดังงา
นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าเป็นชนิดแบบเถาเลื้อย ดังนั้นควรมีค้าน หรือซุ้ม เพื่อให้ต้นกระดังงาเลื้อยเกาะจึงเหมาะที่จะปลูกเป็นร่มริมรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูกถ้าให้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มที่สวยงาม และเป็นระเบียบ ควรตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมด้วย
กระดังงาไทยเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ออกดอกตลอดปี ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนและมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
ป้ายคำ : ไม้ดอก