กระถินเทพาจัดเป็นไม้บุกเบิกชนิดหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ซึ่งสภาพแวดล้อมถูกทำลาย ดังนั้นจึงมีการนำไปปลูกเป็นสวนป่าในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ เนปาล บังคลาเทศ เป็นต้น
ชื่อสามัญ: กระถินเทพา
ชื่ออวิทยาศาสตร์: Acacia mangium Willd.
วงศ์: Leguminosae – Minosoideae
กระถินเทพา เป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย, หมู่เกาะโมลัคคาส์ ประเทศอินโดนีเซีย และแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศปาปัวนิวกินี โดยพบขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตติดต่อระหว่างป่าชายเลนและแนวป่าไม้พุ่มเตี้ย ตลอดจนป่าตามริมฝั่งแม่น้ำและทุ่งหญ้าต่าง ๆ ไม่พบขึ้นในป่าดิบชื้นที่มีไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น แต่มีขึ้นบ้างตามแนวชายป่าที่มีแสงแดดส่องถึง
สำหรับประเทศไทยเริ่มนำเข้ามาปลูกในปี พ.ศ. 2523 เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสมดังนี้ คือ
ลักษณะทั่วไป
การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ มีเนื้อไม้แข็ง กระพี้สีเหลืองอ่อน หรือสีครีม แก่นไม้มีสีน้ำตาล เนื้อไม้มีเสี้ยนตรงบริเวณด้านสัมผัส และมีเสี้ยนสนเล็กน้อยบริเวณด้านรัศมี มีความแข็งแรงทนทานดีปานกลาง โดยคุณสมบัติของเนื้อไม้ชนิดนี้ในสวนป่าอายุ 9 ปีจะมีความหนาแน่นไม้สด 420-483 กก/ม3 และในกรณีความหนาแน่นอบแห้งมีค่า 500-600 กก/ม3 ขณะที่ไม้จากสวนป่าอายุ 12 ปี ที่รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย มีความหนาแน่น 570 กก/ม3 เนื้อไม้กระถินเทพาสามารถใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างทุกชนิดที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ทำเครื่องเรือน วงกบ ประตู หน้าต่าง เฟอร์เนิเจอร์ ปอกเป็นแผ่นไม้บาง เยื่อกระดาษ ไม้อัด ปาร์ติเกิลบอร์ด ไฟเบอร์บอร์ด และไม้ใช้สอยในรูปฟืน-ถ่าน ซึ่งให้ค่าความร้อนเท่าๆ กับไม้กระถินณรงค์ประมาณ 4,800-4,900 Kcal/kg สำหรับเยื่อกระดาษที่ได้จากไม้กระถินเทพานั้น เส้นใยมีความยาว 1-1.2 มม. ผลผลิตของเยื่อที่ได้รับมีเปอร์เซนต์สูง เกิน 50% และนำไปผลิตเป็นกระดาษชนิดดี
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศเป็นเมล็ดพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปักชำ และการตอน แต่ส่วนใหญ่นิยมด้วยการเพาะเมล็ดใน 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดประมาณ 80,000-110,000 เมล็ด สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดและจัดเตรียมกล้าไม้ปลูกนั้น ก่อนเพาะเมล็ดจะเร่งการงอกด้วยการแช่เมล็ดในน้ำร้อนที่ต้มเดือน 30 วินาที เทน้ำร้อนออกแล้วใส่น้ำเย็นลงไปแทนปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นหว่านลงแปลงเพาะที่จัดเตรียมไว้เมล็ดจะงอกภายใน 8-10 วัน เมื่อกล้าที่งอกเริ่มมีใบคู่แรกสูง 5-10 ซม. ให้ย้ายชำลงถุงพลาสติกและดูแลประมาณ 2-3 เดือน ขนาดกล้าที่เหมาะสมย้ายปลูกในแปลง 25-30 ซม.
ดิน เจริญเติบโตได้ดีบนดินที่มีสภาพความเป็นกรด-กรดจัด (pH 4.0-4.5) ดินหลายชนิด เช่น ดินที่หินปะปน ดินที่ถูกชะล้างมาก่อนมีความสมบูรณ์ต่ำ สำหรับดินที่มีฟอสเฟตน้อย การเจริญเติบโตจะไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังขึ้นได้ดีบนดินลึกที่เกิดจากการสลายตัวของวัตถุต้นกำเนิดหรือดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนในบริเวณที่ลุ่ม
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมพื้นที่ปลูกจะใช้วิธีเผาหญ้าและตัดโค่นต้นไม้ออกหมด เมื่อถึงเวลาปลูกอาจต้องดายหญ้ารอบ ๆ หลุมอีกครั้งหนึ่ง
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ปักหลักระยะปลูกและขุดหลุมปลูก 25x25x25 ซม. โดยปลูกในช่วงฤดูฝน ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก ถ้าต้องการไม้ขนาดเล็ก เพื่อทำชิ้นไม้สับใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษปาร์ติเกิลบอร์ดไฟเบอร์และไม้ฟืน ควรปลูกระยะ 2×2 เมตร, 2×3 เมตร และ 2×4 เมตร แต่ถ้าปลูกเพื่อต้องการเนื้อไม้ ทำเครื่องเรือนหรือก่อสร้าง ควรปลูกระยะห่าง 3×3 เมตร หรือ 4×4 เมตร หรือ 6×6 เมตร ที่นิยมในปัจจุบัน คือ 3×3 เมตร
อัตราการเจริญเติบโต ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม กระถินเทพาจะเจริญเติบโตเร็วมากในช่วงอายุ 10-13 ปี ในรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย มีความสูงถึง 20-25 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางโต 20-30 ซม. และที่อายุ 10 ปี อาจมีความเพิ่มพูนของผลผลิตเฉลี่ยรายปีสูงถึง 44 ม3/เฮกแตร์ (7.01 ม3/ไร่)
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อุณหภูมิ กระถินเทพาจะขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้น ซึ่งมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนอากาศเย็นจะมีอุณหภูมิระหว่าง 15-22 องศาเซลเซียส กระถินเทพาจะไม่ขึ้นในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือต่ำถึงจุดน้ำค้างแข็ง
ปริมาณน้ำฝน กระถินเทพาสามารถขึ้นได้ในพื้นที่มีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 1,000 มิลลิเมตร จนถึง 4,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่สวนป่าที่ปลูกกระถินเทพาประสบความสำเร็จนั้นจะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และพื้นที่มีความชุ่มชื้นในดินค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี
ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์หรือมีสภาพเป็นกรดสูง เช่น ดินลูกรัง ดินที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย เป็นต้น
การทนร่ม กระถินเทพาเป็นพืชที่มีความต้องการแสงแดดจัด ดังนั้นจึงไม่ควรปลูกพืชชนิดนี้ในที่มีร่มเงา เพราะจะทำให้ต้นแคระแกร็นผอมชะลูดและไม่แข็งแรง
การขยายพันธุ์
กระถินเทพาสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการตัดชำ การตอนกิ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่ที่สะดวกประหยัด รวดเร็วและได้ผลดีที่สุด คือการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
การปลูกและบำรุงรักษา
กล้าไม้อ่อนของกระถินเทพาเมื่อนำไปปลูก จะต้องผ่านการพรุนรากและสร้างความแข็งแรงก่อน โดยการลดปริมาณการให้น้ำแก่กล้าไม้จนถึงการให้น้ำวันเว้นวัน และเปิดหลังคาเรือนเพาะชำให้กล้าไม่ได้รับแสงเต็มที่ประมาณ 20-30 วัน ซึ่งจะทำให้กล้าไม้แข็งแรงทนต่อสภาพแวดล้อมนอกเรือนเพาะชำและอัตราการรอดตายมีสูงขึ้น
การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูกกระถินเทพาในเชิงเศรษฐกิจจะต้องทำการไถเตรียมพื้นที่แล้วกำหนดระยะปลูกที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ระยะ 3X3 เมตร จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง X ยาว X ลึกประมาณ 30 X 30 X 30 เซนติเมตร แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในกรณีที่พื้นที่ปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์ หากจะใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟตในรูปของหินฟอสเฟตรองก้นหลุมก่อนปลูกในอัตรา 50-100 กรัม ต่อหลุม
การปลูก ควรทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อให้ต้นไม้สามารถตั้งตัวได้ โดยการปลูกจะต้องกลบดินให้ท่วมคอรากในระดับที่ตำกว่าระดับผิวดินเล็กน้อย และหลังจากปลูกแล้ว 1-2 เดือน หากมีต้นใดตายจะต้องทำการปลูกซ่อมแซมทันที
การกำจัดวัชพืช ในรอบปีแรก ควรทำการกำจัดวัชพืช 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในช่วงฤดูฝน และครั้งที่สองช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูแล้ง แต่ถ้าหากมีการปลูกพืชแซมในแปลงด้วยซึ่งได้แก่ ข้าวโพด แตงโม กล้วย สับปะรด ก็จะช่วยลดปริมาณวัชพืชลงได้มาก ส่วนในปีที่สองนั้นการกำจัดวัชพืชจะทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกิ่งก้านของกระถินเทพาจะขยายออกด้านข้างปกคลุมพื้นที่ ทำให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ในช่วงฤดูฝน เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว โดยปุ๋ยเคมีที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ยส่วนปริมาณการใช้นั้นขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การป้องกันไฟ กระถินเทพาเป็นต้นไม้ที่ไม่ทนไฟและไม่สามารถตัดแตกหน่อได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังไฟไหม้แปลงปลูกในช่วงฤดูแล้งเป็นพิเศษ โดยการป้องกันไฟกระทำโดยการทำแนวกันไฟขนาดกว้าง 5-10 เมตร รอบแปลงปลูก โดยแบ่งเป็นแปลงละ 100 ไร่ขึ้นไป นอกจากนี้การถางกำจัดวัชพืชก็จะช่วยลดการเกิดไฟไหม้และความรุนแรงของไฟลงได้
การตัดสางขยายระยะทาง ในกรณีที่ปลูกกระถินเทพาเพื่อตัดฟันไปใช้ในอุตสาหกรรมทำเยื่อกระดาษ จะใช้รอบตัดฟัน 3-5 ปี ดังนั้นจึงไม่ต้องตัดสางขยายระยะ แต่ถ้าปลูกเพื่อใช้เนื้อไม้ในการใช้สอยอื่น ๆ หรือก่อสร้างจะต้องตัดสางขยายระยะแบบต้นเว้นต้น
การตัดฟัน
ให้ทำการตัดที่โคนตัดชิดระดับผิวดิน และเมื่อนำไม้ไปใช้แล้วให้ปล่อยตอทิ้งผุพังไป ถ้าหากทำการปลูกใหม่ในรอบต่อไป ให้ทำการปลูกในช่องว่างระหว่างแนวการปลูกเดิม โดยผลผลิตเนื้อไม้ที่ได้ในประเทศไทยพบว่า กรณีปลูกระยะห่าง 1X1 เมตร เมื่อกระถินเทพามีอายุ ได้ 2 ปี ความสูงเฉลี่ย 8.23 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้น 8.3 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตเป็นน้ำหนักถึง 11.47 ตัน/ไร่/ปี
โรคและแมลงศัตรู
เมล็ดพันธุ์ ควรตากเมล็ดให้แห้งสนิทก่อนเก็บ เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลายเมล็ด
ต้นอ่อนหรือกล้าไม้ ในระยะเวลาที่เกิดฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน ให้ระมัดระวังเชื้อราเข้าทำลายโคนต้น ส่วนแมลงที่เข้าทำลายในช่วงนี้ ได้แก่ เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่พบอยู่เป็นประจำในไม้สกุลนี้
ต้นกระถินเทพาที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลาย มีเพียงกรณีตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย เรื่องปลวกทำลายรากและมอดเจาะลำต้น ซึ่งวิธีป้องกัน กระทำได้โดยไม่ปลูกต้นกระถินเทพาเพียงชนิดเดียวเป็นแปลงใหญ่ และควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกันไป ก็จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคและแมลงลงได้บ้าง นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังสัตว์เลี้ยงจำพวกโค กระบือและแพะ เข้าไปกัดกินใบในระยะเริ่มปลูกอีกด้วย
ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกระถินเทพา
ป้ายคำ : ธนาคารต้นไม้, ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง