กระทิง สารภีทะเล

16 กรกฏาคม 2557 ไม้ยืนต้น 0

กระทิง เป็นไม้ดอกหอมที่พบได้ทั่วไป ตามชายหาดกับป่าบก ทำให้สามารถทนทานต่อไอเกลือและลมทะเลที่พัดรุนแรงได้เป็นอย่างดี กระทิงเป็นไม้ต้น แตกกิ่งจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม แผ่กว้าง

ชื่อวิยาศาสตร์ Calophyllum inophyllum L.
ชื่อวงศ์ CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ชื่ออื่นๆ : กากะทิง (ภาคกลาง) ทิง (กระบี่) เนาวกาน (น่าน) สารภีทะเล (ระยอง ประจวบคีรีขันธ์) สารภีแนน (ภาคเหนือ)

ลักษณะ
ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง ๑๕ – ๓๐ เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว ๘ – ๑๕ เซนติเมตร ปลายใบกลมหรือเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันวาวทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง เกสรเพศผู้ สีเหลือง จำนวนมาก ผลสดมีเมล็ดเดียว ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ผลสุกสีเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่

  • ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-30 ม.เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมและหนาทึบ ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนมียางสีเหลืองอมเขียว
  • ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 8-15 ซม. ปลายใบกลมหรือเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันวาวทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบจำนวนมาก
  • ดอก ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง เกสรเพศผู้สีเหลือง จำนวนมาก
  • ผล ผลสดมีเมล็ดเดียว ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. ผลสุกสีเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่

kratington kratingking kratingbai kratingdok kratingpon

การกระจายพันธุ์
พบตั้งแต่ประเทศแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค จนถึงออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายหาด ที่โล่งชายป่าใกล้ชายฝั่งทะเล ระดับความสูงไม่เกิน ๒๐๐ เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และกระดูกงูเรือ น้ำมันใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และใช้ผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ด

ฤทธิ์ทางชีวภาพ
สารสกัดชั้นน้ำและชั้นเมทานอลยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase (Kashman et al., 1992) ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากเปลือกรากของกระทิงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สาร Calophyllolide ซึ่งเป็นสารจำพวก lactone ที่แยกได้จากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สารสกัดและสารที่แยกได้จากเปลือกรากของกระทิง มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจำพวกแกรมบวก และสารจำพวก coumarin ที่ได้จากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการยับยั้งretrovirus หลายชนิด ฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สารจากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของ phagocyte ฤทธิ์ในการต้านเชื้อ HIV สารคูมารินส์ 2 ชนิด ที่พบในใบและกิ่งของต้นกระทิง คือ inophyllum B และ P มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ของ HIV-1

การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีข้อดีที่ รูปทรงสวยงาม ดูแลง่าย แต่ต้องใช้เวลานานในการปลูก ประมาณ 3 ปีจึงจะออกดอก
การตอนกิ่ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงออกราก ต้นที่ได้จากการตอนมีข้อดีที่ออกดอกเร็วภายใน 3 – 6 เดือนหลังตัดกิ่งตอนปลูก

kratingkla

ข้อดีของพันธุ์ไม้ : ใบไม่ร่วงง่ายและเป็นมันเงา ทนดินเค็ม แดดจัด และลมแรงได้ดี ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน ปลูกได้ตั้งแต่ชายทะเลถึงบนเขาสูง ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง

ข้อแนะนำ :

  • ไม่ควรปลูกพันธุ์ไม้นี้ใกล้อาคาร เพราะระบบรากแข็งแรงทำความเสียให้กับอาคารได้เหมือนต้นไทร
  • นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา และชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
  • เป็นไม้ทีมีการเจริญโตค่อนข้างช้า สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้ (กิ่งที่ได้จากการตอน)
  • การตัดแต่งพันธุ์ไม้ชนิดนี้ต้องระมัดระวัง เนื่องจากมีน้ำยางสีเหลืองที่เป็นพิษอยู่ทั่วไปทั้งต้น

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น