กระท้อนใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลายชนิด ทั้งอาหารคาว เช่น แกงฮังเล แกงคั่ว ผัด ตำกระท้อน และอาหารหวาน เช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง แยม กระท้อนกวนและเยลลี่ หรือกินเป็นผลไม้สด กระท้อนเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในบิโกล ประเทศฟิลิปปินส์ นำกระท้อนไปแกงกับกะทิ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sandoricum koetjape Burm.f. Mer.
ชื่อสามัญ: Santol
วงศ์: MELIACEAE
ชื่ออื่น : เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 6 8 ม. เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีเทา มีจุดสีขาวเป็นวงบริเวณลำต้น ผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดออกมียางสีแดงหรือสีน้ำตาลใบใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี โคนใบกลมหรือมนปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นคลื่น มีไขนวลปกคลุมด้านล่างเส้นใบนูนเด่น ใบมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลือง แล้วค่อยๆแดง แล้วจะร่วงหล่นก้านใบมนดอก เป็นช่อตั้ง เกิดตามปลายกิ่งผล ผลเดี่ยวแบบผลสด เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ผิวขรุขระเนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรีมีเยื่อหุ้มสีขาวเกิดมาจากเปลือกกระท้อนเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีเทาใบประกอบมีใบย่อย 3ใบการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณกว้าง6 – 15 ซม. ยาว 8 – 20 ซม.เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่งดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวลผลผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาวเมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลงรูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5 – 15เซนติเมตรภายในผลจะมีเมล็ด 3-5 เมล็ด และมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ปุยที่รับประทานได้นี้พัฒนามาจากเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งลักษณะ ของปุยและรสชาติจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์ เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม
กระท้อน สามารถแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ คือ กระท้อนเปรี้ยวและกระท้อนหวาน (กระท้อนห่อ)กระท้อนเปรี้ยว เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองที่มีขึ้นอยู่ทั่วไปมากมายในทุกภาคของประเทศไทยลักษณะมีลำต้นสูงใหญ่เป็นทรงพุ่มหนาแน่น ผลมีรสฝาดและเปรี้ยวกระท้อนหวาน ได้แก่ กระท้อนห่อที่ชาวสวนนิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่มากมายหลายพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า พันธุ์ปุยฝ้าย
พันธุ์อีล่า
นายกุล แย้มแพ ได้นำเมล็ดกระท้อนพันธุ์อีไหวมาปลูกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2471 หลังจากที่กระท้อนออกดอกและติดผลแล้วปรากฎว่าพันธุ์ดังกล่าวให้ผลดีกว่าเดิม แต่มีข้อเสียประจำพันธุ์ คือ มักจะออกผลได้ช้ากว่ากระท้อนพันธุ์อื่น ๆ จึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่”พันธุ์อีล่า”ลักษณะประจำพันธุ์โดยสภาพทั่ว ๆ ไป จะมีลักษณะคล้ายกับกระท้อนพันธุ์อื่นๆ แต่เด่นออกไป คือ ขนาดของใบจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ให้ผลดก ในต้นอายุ 4 ปี จะให้ผลได้ประมาณ 150-200 ผลมีผลขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากระท้อนด้วยกัน (ผลใหญ่หนักถึง 1.3 กิโลกรัม) ผลเมื่อแก่จะค่อยๆ เปลี่ยนสีและเมื่อแก่ใกล้สุกพร้อมที่จะเก็บผลได้ ผิวเปลือกจะเป็นสีเหลืองเข้ม หรือออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีเปลือกบางมาก ต้นที่ให้ผลในปีแรก ต้นสาวหรือที่เรียกว่า “สอนเป็น” มักจะให้ผลมีลักษณะหัวนูนขึ้น แต่พอต้นแก่การให้ผลครั้งใหม่ส่วนที่นูนจะลดน้อยลงจนเกือบเสมอคล้ายพันธุ์ปุยฝ้ัาย ลักษณะเนื้อภายในจะนิ่ม มีรสหวานเนื้อปุยยาวฟูสีขาวน่ารับประทาน ในผลหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ด และมีขนาดเล็กมาก
พันธุ์ปุยฝ้าย
เข้าใจว่ากระท้อนพันธุ์นี้กำเนิดจากพันธุ์ทองหยิบเนื่องจากมีลักษณะของผลที่คล้ายคลึงกันมาก ลักษณะประจำพันธุ์มีผลทรงแป้นขนาดใหญ่ ไม่มีจุก บริเวณขั้วผลจะแบน ผิวผลจะเนียนและละเอียด รสหวานจัดเนื้อในมีปุยสีขาวคล้ายปุยฝ้าย แต่มีข้อเสียคือติดผลน้อยกว่าพันธุ์อีล่า ส่วนขนาดของผลก็มีขนาดไล่เลี่ยกันฤดูกาล เก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
พันธุ์ทับทิม
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก และแก่เร็ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ขนาดผลค่อนข้างเล็กน้ำหนักประมาณ200กรัมต่อผลทรงผลกลมแป้นมีขั้วยาวผิวเปลือกเรียบบางมีสีเหลืองนวลเนื้อบางนิ่ม ปุยหนา มีปุยแทรกเนื้อเมล็ด มีขนาดโตปานกลางเนื้อมีรสหวานอมเปรี้ยวแต่มีปุยหุ้มเมล็ด มีรสหวานจัด ข้อเสียถ้าแก่จัดผลจะแตกง่ายและถ้ามีฝนชุกจะทำให้ไส้แดงฤดูกาล เก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
พันธุ์นิ่มนวล
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก มีอายุเก็บเกี่ยวปานกลาง จะเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ เดือนมิถุนายน ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักผลประมาณ300-600 กรัมต่อผล ทรงผลกลมแป้น มีขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาลเปลือกบางเนื้อหนานิ่มไม่กระด้าง มีปุยแทรกเนื้อ รสชาติหวานอมเปรี้ยวปุยหุ้มเปลือกหนาฟูรสหวานจัด เมล็ดมีขนาดกลางฤดูกาล เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม
พันธุ์เทพรส
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก มีอายุเก็บเกี่ยวปานกลาง จะแก่ช้ากว่าพันธุ์ทับทิมเล็กน้อย ประมาณเดือนมิถุนายน ผลมีขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 250-500 กรัมต่อผล ทรงผลกลมสูงเล็กน้อย มีขั้วสั้นผิวเปลือกเรียบมีขนอ่อนที่ผิวนุ่มมือด้านข้างผลจะมองเห็นชั้นนูนขึ้นมาตามฟูของเมล็ดชัดเจนกว่าพันธุ์ อื่นๆเปลือกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อหนานิ่มไม่กระด้างมีปุยแทรก เนื้อมีรสหวานจัด เมล็ดมีขนาดโตฤดูกาล เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม
พันธุ์ทับทิมทอง
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นพันธุ์เบาสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤษภาคม ผลมีขนาดกลางถึงค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 400-800 กรัมต่อผล ทรงผลกลมสูงเล็กน้อย ด้านก้นเรียบ ผิวมีรอยขรุขระเล็กน้อย แต่ด้านขั้วผลขรุขระมาก ขั้วสั้นเปลือกบาง ผิวเปลือกมีสีเหลืองทอง เนื้อหนาแน่น มีปุยแทรกเนื้อ รสหวาน
ประโยชน์ของกระท้อน
กระท้อนผลไม้ทรงกลมแป้น ผลดิบเปลือกสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีขนสั้นนุ่มคล้ายกำละหยี่ปกคลุมทั่วผล ภายในมีเมล็ด 3-5 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุยนุ่มหนาสีขาวความหนานุ่มของเนื้อแตกต่างกันไปตามแต่ละพันธุ์
กระท้อนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ กระท้อนพื้นเมืองvหรือกระท้อนเปรี้ยว มีผลขนาดเล็กนิยมปลูกกันตามบ้านเรือนไม่นิยมกินสด มักนำไปแปรรูป เช่น กวน ตากแห้ง แช่อื่ม หรือ ดอง
ต่อมามีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นกระท้อนห่อ หรือ กระท้อนหวาน ที่ให้ผลใหญ่เมล็ดเล็ก เนื้อหุ้ม เมล็ดฟู หนานุ่ม รสหวานอมเปรี้ยว อร่อยกว่าพันธุ์พื้นเมือง กระท้อนมีสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างวิตามินเอและซี ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ป้องกันหวัดและโรคลักปิดลักเปิด มีเพกตินซึ่งเป็นเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำอยู่สูง จึงดีต่อระบบขับถ่ายและเป็นยาระบายอ่อนๆนอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัสที่จำเป็นต่อการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันแลโปร-ตีนในร่างกาย สรรพคุณตามตำรายาไทยโบราณของกระท้อน คือ ใบสดต้มน้ำอาบแก้ไข้ ขับเหงื่อ เปลือกผลรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เปลือกต้นนำมาต้มดื่มแก้ท้องเสีย รากใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด และเป็นยาธาตุ
กระท้อน เป็นผลไม้ที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง จึงไม่ค่อยเหมาะนักสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว จึงต้องควบคุมการรับประทานโพแทสเซียมเป็นพิเศษ และสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรคไตก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากมีการตรวจพบว่ากระท้อนก็มีสารฟอกขาว (สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ปนเปื้อนได้เช่นกัน ซึ่งหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะเกิดอาการอักเสบตามอวัยที่สัมผัส เช่น ปากและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงมีอาการแน่นหน้าอก ปวดท้อง อาเจียนอีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อนต่อ 100 กรัม (สีเหลือง)
การขยายพันธุ์
1. การทาบกิ่ง
เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการขยายพันธุ์กระท้อนมากที่สุดในปัจจุบันเนื่องจากสะดวก สามารถทำได้เป็นจำนวน มาก ต้นที่มีทรงพุ่มที่ดีและได้พันธุ์ตรงตามพันธุ์ดีที่ต้องการ ขั้นตอนในการทาบกิ่งมีดังนี้ควรเลือกทาบกิ่งพันธุ์ดีที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป ควรเป็นกิ่งที่เจริญเติบโตในปีนั้น มีดที่ใช้จะต้องคมสะอาด (นิยมใช้มีดตัดโฟมหรือคัตเตอร์)ปาดเข้าเนื้อไม้ให้แผลยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ส่วนต้นตอทำเป็นรูปปากฉลาม นำไปประกบกับรอยแผลบนกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยแผลทับกันสนิท ถ้ากิ่งพันธุ์ดีมีขนาดใหญ่กว่าต้นตอให้จัดขอบของ รอยแผลชิดกันด้านใดด้านหนึ่งพันผ้าพลาสติกให้แน่น ประมาณ 45-50 วัน ก็สามารถตัดลงมาได้ก่อนตัดควรพิจารณาดูว่ารอยแผลประสานกันดีหรือยังที่ถุงบรรจุต้นตอจะต้องมีรากงอกออกเต็มถุง และ ไม่อยู่ระหว่างกำลังแทงยอดอ่อน เพราะจะเหี่ยวได้ง่าย ควรมีการบากเตือนก่อนตัดอย่างน้อย 7-10 วัน หลังจาก ตัดมาแล้วนำไปเก็บดูแลรักษาในที่ร่มรำไร ก่อนนำออกจำหน่ายต่อไป
2. การติดตา
เป็นวิธีการขยายพันธุ์กระท้อนอีกวิธีหนึ่ง ที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกในการปฏิบัติงานและไม่เปลืองกิ่งพันธุ์ดี ขั้นตอนในการติดตามีดังนี้การเลือกต้นตอที่จะใช้ติดตาควรมีอายุอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป จะทำให้ต้นตอมีขนาดใหญ่พอและติดตาได้สะดวก ต้นตออาจจะอยู่ในแปลงเพาะชำ เมื่อทำการติดตาและตาของพันธุ์ดีเริ่มเจริญออกมาจึงถอนขึ้นมาชำภายหลังกิ่งพันธุ์ที่จะนำตามาใช้ควรเป็นกิ่งที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป ควรมีอายุไม่เกิน 1 ปีเพราะถ้าตาแก่มากจะบังคับ ให้เจริญออกมาได้ยาก
การปลูกกระท้อน
1. การเตรียมแปลงปลูก
ถ้าในพื้นที่ที่เป็นแอ่งเป็นเนิน หรือหญ้าขึ้นรกควรปรับพื้นที่ให้ปฏิบัติงานได้สะดวก พื้นที่ปลูกถ้าเป็นแปลงขนาดใหญ่ควรจัดเป็นแปลงย่อยเพื่อให้สะดวกต่อการจัดการและควรวางแผน การให้น้ําและอนุรักษ์ดินและน้ำไปพร้อม ๆกันก่อนการเตรียมการลงหลุมปลูกต้องไถพรวนกลบวัชพืชลงในดินตามความจําเป็นในระยะแรกของการปลูกไม่แนะนํา ให้ใช้สารเคมีกําจัดวัชพืช พวกดูดซึม ระยะปลูกการปลูกกระท้อนโดยทั่วไปจะใช้ระยะปลูก8×12 เมตร ซึ่งการใช้หรือกําหนดระยะปลูกถี่หรือห่างขึ้นอยู่กับพันธุ์กระท้อน กระท้อนพันธุ์เบามักมีทรงพุ่มเล็ก มีกิ่งสั้นเช่นพันธุ์ทับทิม ควรใช้ระยะปลูกถี่กว่าพันธุ์หนักเช่นพันธุ์อีล่าเป็นต้นสภาพพื้นที่ปลูกระยะปลูกในที่ลุ่มจะถี่กว่าในที่ดอนเพราะว่าในที่ลุ่มระดับน้ําใต้ดินสูงรากของกระท้อนหยั่งลงดินไม่ลึกทําให้ทรงพุ่มเล็กลงได้เช่นระยะ8×8เมตรถ้าปลูกเป็นการค้าจะต้องใช้ระยะปลูกให้สะดวกต่อการปฏิบัติงานเช่นการห่อผลเช่น 8×8, 8×12,10×10, 12×12เมตรการปลูกเพื่อขยายพันธุ์ควรใช้ระยะปลูก2×2 เมตรการปลูกระยะชิดเพื่อการขยายพันธุ์จะได้ผลดีกว่าการปลูกระยะห่างกิ่งจะตั้งตรงเหมาะแก่การทาบกิ่งการเตรียมกิ่งพันธุ์กระท้อนกิ่งพันธุ์กระท้อนอาจได้จากการทาบกิ่งการติดตาควรเตรียมกิ่งพันธุ์ไว้เผื่อ5-10%ของจํานวนต้นทั้งหมดที่ใช้ปลูกเพื่อทดแทนต้นที่ตายหรือต้นที่อ่อนแอแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต
ขั้นตอนการเตรียมหลุม ให้ขุดหลุมกว้าง 50 x ยาว50 ซม. นําปุ๋ยคอก(มูลสัตว์เก่า ๆ )ผสมดินที่ขุดขึ้นมาแล้วนํากลบหลุมตามเดิม จากนั้น ขุดดินภายในหลุมให้มีขนาดกว้างกว่าภาชนะปลูกชํากิ่งพันธุ์ดีแล้วนํากิ่งพันธุ์วางไว้ในหลุม
หลังจากวางกิ่งพันธุ์ดีแล้วกลบดินให้ระดับโคนต้นเสมอกับดินที่ปากหลุม รดน้ําทันทีเพื่อให้ดินกระชับรากอาจหาหญ้าแห้งหรือฟางข้าวคลุมโคนต้นไว้ด้วยเพื่อป้องกันหน้าดินถูกทําลายจากแรงน้ําและช่วยรักษาความชื้น แล้ว ปักหลักยึดติดกับลําต้นกระท้อนปลูกใหม่ เพื่อป้องกันต้นล้มอันเนื่องมาจากแรงลม หรือสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปวิ่งเล่น แล้วโดนต้นกระท้อนที่ปลูกใหม่ ควรมีการ พรางแสงแดดซึ่งแดดจัดจะเป็นอันตรายกับกระท้อนที่ปลูกใหม่อาจใช้ทางมะพร้าวคลุมด้านบนใบและยอดไว้ในแนวตะวันออก-ตก พรางแสงจนกว่ากระท้อนจะแตกใบอ่อนใหม่อีก1ชุดและเปลี่ยนเป็นใบแก่จึงจะนําทางมะพร้าวออก อย่าลืมเอาพลาสติกที่พันแผลรอยทาบออกหลังจากปลูกแล้วมิฉะนั้นอาจทําให้รัดกิ่งคอดต้นกระท้อนจะชะงักการเจริญเติบโตได้
2. การให้น้ำ
การให้น้ำกระท้อนต้องสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ หลายประการดังนี้คืออายุช่วงการเจริญเติบโต และการออกดอกติดผลฤดูกาลต่าง ๆ สภาพดิน เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งการให้น้ําได้ 2 ระยะคือ กระท้อนที่ยังไม่ให้ผลนับตั้งแต่เริ่มปลูกถึง 6 เดือนการให้น้ําจะต้องให้ชุ่มอยู่เสมออย่าให้แฉะรดน้ําทุกวัน อายุ6 เดือนขึ้นไป รดน้ําวันเว้นวันก็ได้และอายุ1 ปีขึ้นไปรดน้ำ2-3วัน/ครั้งจนกว่ากระท้อนจะตั้งตัวได้จึงทิ้งช่วงการให้น้ําเช่น5-7วัน/ครั้งห้ามปล่อยให้ดินแห้งเพราะกระท้อนใบจะเหี่ยวและร่วงหล่น และตายในที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าฝนตกหรือไม่
การห่อผลกระท้อน
กระท้อนมีนิสัยทิ้งผลได้ง่ายโดยเฉพาะ ถ้ามีผลมากเกินไปกระท้อนจะทิ้งผลทันทีเพื่อให้สามารถนําเอาอาหารไปเลี้ยงผลได้ตามปริมาณอาหารที่มีอยู่ในต้นกระท้อนควรไว้ผลเมื่อต้นมีความพร้อม โดยปกติกระท้อน จะไว้ผลได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความสมบูรณ์ของต้นเป็นสําคัญ การที่จะไว้ผลจํานวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับ สภาพความสมบูรณ์ของต้นและการปฏิบัติดูแลรักษาผลใดที่ไม่สมบูรณ์ต้องตัดทิ้งเช่นผลขนาดเล็กผลมีตําหนิถูกโรค-แมลงทําลายผลเบี้ยวผลที่ติดกันมากๆในหนึ่ง ขั้วผลควรไว้1-3 ผลต่อหนึ่งขั้วผลเท่านั้น (พันธุ์อีล่าไว้เพียง1 ผลก็พอเพราะมีน้ําหนักมาก ) การห่อผลควรทําเมื่อผลมีขนาดเท่าลูกมะนาว ซึ่งพบว่าในปัจจุบันเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้ จะเริ่มเข้าทําลายจึงจะต้องเริ่มทําการห่อผลในช่วงนี้การห่อผลยังจะทําให้ผิวสวยงาม มีเนื้อนุ่มขึ้น ปุยเนื้อฟูสวยรสหวานยิ่งขึ้น ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีน้ําหนักเพิ่มขึ้น
สําหรับวัสดุที่ใช้ในการห่อผลนั้น นิยมใช้ถุงกระดาษสีน้ําตาลเช่น ถุงปูนซีเมนต์, ถุงอาหารสัตว์เป็นต้น มาพับเป็นกระโปรง สามารถใช้ห่อได้2-3 ครั้งโดยถุงไม่เสียหาย ก่อนห่อผลกระท้อนประมาณ 2-3 วัน ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกําจัดโรค-แมลง เพื่อป้องกันกําจัดโรค-แมลงก่อน ในระยะนี้อาจพบ แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทองจะวางไข่ที่ผลกระท้อน ซึ่งจะมีของเหลวภายในผลไหลออกมาตามรูที่แมลงเจาะไว้ เมื่อไข่กลายเป็นตัวหนอนจะเจาะชอนไชเข้าไป ในผลกระท้อน ทําให้มีตําหนิอันเกิดจากการวางไข่ของแมลงผลไม้เพศเมียและการชอนไชของหนอนหนอนจะอาศัยอยู่ภายในผลเป็นที่น่ารังเกียจต่อผู้บริโภคกระท้อนที่มีผลติดอยู่กับต้นเมื่อถูกแมลงวันผลไม้ทําลาย จะทําให้ผลร่วงหล่นก่อนกําหนดผลเน่า เสียหายบางครั้งเสียหายถึง100เปอร์เซ็นต์เลยก็ได้การป้องกันที่ดีที่สุดคือการห่อผลในระยะที่ผลเท่าลูกมะนาวขึ้นไป ก็จะป้องกันได้
การห่อผลนั้นใช้บันไดพาด ถ้าสูงมากอาจใช้ไม้ไผ่ทํานั่งร้าน รอบต้นกระท้อนให้คนห่อปีนขึ้นในปฏิบัติงานได้สะดวกกระโปรง 1ใบใช้ห่อได้เพียง 1 ผลเท่านั้น การห่อให้ใช้กระโปรงสอดหุ้มผลให้มิด แล้วรวบปากกระโปรงเข้ากับก้านของผลแล้วใช้เชือกหรือตอกมัดปากกระโปรงให้พอแน่นจะต้องห่อด้วยความระมัดระวังมือจะต้องเบา เพราะถ้าห่อรุนแรงมือหนักผลจะแคระแกรนหรือร่วงหล่นภายใน 7 วัน ทันที
การเก็บเกี่ยวกระท้อน
การเก็บเกี่ยวกระท้อนใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่ประมาณ 6-7 เดือน ซึ่งพันธุ์อีล่าจะแก่ช้ากว่าทุกพันธุ์
ประมาณ 30 วัน การที่ผลกระท้อนแก่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพันธุ์, อุณหภูมิของอากาศถ้าอากาศร้อน ผลกระท้อนจะสุก
เร็วขึ้นกว่าปกติ ผลกระท้อนแก่เปลือกจะเป็นสีน้ําตาลจนถึงสีเหลืองทั้งผลยกเว้นพันธุ์เขียวหวาน การเก็บเกี่ยวให้ใช้
กรรไกรตัดกิ่งให้ขั้วของผลติดมาด้วยหากขั้วผลหลุดผลกระท้อนจะเน่าเสียได้ง่าย ภายใน 2 วัน เพราะเชื้อโรคจะเข้า
ทางขั้ว ที่หลุดออกไป ถ้ามีขั้วผลอยู่จะเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 4-7 วัน ในสภาพอุณหภูมิห้องและถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิ
7-9 องศาเซลเซียสที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 85-90 เปอร์เซ็นต์จะเก็บรักษากระท้อนได้นานถึง 3-4 สัปดาห์กระท้อนจะเกิด
ความเสียหายได้หากมีการเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ํากว่าที่แนะนําไว้ โดยจะแสดงอาการเป็นจุดสีซีดจางเกิดจุดฉ่ำ
น้ำที่ผิวผลและเน่าเสียในที่สุดอาการเหล่านี้จะปรากฏชัดเจนขึ้น หลังจากนําผลกระท้อนออกไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น
ในส่วนของกระโปรงห่อผลนั้นสามารถเก็บรวบรวมไว้ใช้ในปีต่อไปได้อีก
โรคและแมลง
1. ไรแดง
ไรแดงจะเข้าทำลายกระท้อนในระยะตั้งแต่ใบอ่อนจนถึงใบแก่ทำให้ใบหงิกงอเป็นปุ่มปมด้านใต้ใบจะมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล ถ้ามีระบาดมากจะทำให้ใบอ่อนหงิกงอหมดเมื่อพบว่าเริ่มมีไรแดงระบาดควรทำการตัดแต่งใบที่ถูกทำลายไปเผาทำลายทิ้งและฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดไรแดง
เช่น กำมะถันผง ไดโคโฟล อามีทราส ไดโนบูตัน โดยฉีดพ่นหลังจากตัดแต่งกิ่งและเริ่มแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง ทุก 4 วัน
2. หนอนผีเสื้อยักษ์
หนอนผีเสื้อยักษ์จะมีขนาดตัวใหญ่ สีฟ้า จะเข้ากัดกินใบและยอดอ่อนทำให้ต้นกระท้อนชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง ถ้ามีระบาดควรจับตัวหนอนมาทำลายและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เมทโธมีลประมาณ 1-2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน
3. หนอนร่านกินใบ
ตัวหนอนมีขนาดเล็กมีขนถ้าถูกผิวหนังจะรู้สึกแสบและคัน ตัวหนอนเข้ากัดกินใบเสียหาย ถ้ามีระบาดมากจะพบว่าตัวหนอนจะรวมกันเป็นกระจุกกัดกินใบแหว่งเป็นวง กำจัดโดยตัดใบที่มีตัวหนอนอยู่ด้วยไปทำลายทิ้งและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่น เพอร์เมททริน เมทโธมมีล ประมาณ 1-2 ครั้ง
4. หนอนเจาะขั้ว
หนอนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรังที่ทำจากกลีบดอกกระท้อนแห้ง ๆ และ เข้ากัดกินขั้วผลขณะที่ผลกระท้อนยังเล็กอยู่ทำให้ผลแห้ง และร่วงหล่น การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ โดยการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง เมื่อเริ่มติดผลขนาดเล็ก ควรมีการพ่นละอองน้ำล้างช่อดอกจะช่วยลดการทำลายลงได้ ถ้าระบาดมากควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่นโมโนโครโตฟอสประมาณ 3-4 ครั้งทุก7-10วัน
5. เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายกระท้อนตั้งแต่ระยะยอดอ่อน ระยะช่อดอกจนถึงติดผลขนาดเล็กทำให้ดอกแห้งร่วง ผลจะมีผิวลายและจะติดไปจนผลแก่ หากพบว่ามีเพลี้ยไฟระบาดควรรีบทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่นคาร์โบซัลแฟนฟอร์มีทาเนท ในช่วงเริ่มออกช่อดอก และก่อนดอกบาน แต่งดการฉีดพ่นช่วงดอกบานหลังจาก ติดผลแล้วจึงฉีดพ่นใหม่ประมาณ 2-3 ครั้งห่างกัน7-10 วัน
6. แมลงวันผลไม้
แมลงวันผลไม้จะเข้าวางไข่บนผลที่ผิวเปลือกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีกระดังงาเป็นต้นไป ตัวหนอนจะชอนไช เข้าไปกัดกินเนื้อ ทำให้ผลเน่าและ ร่วงหล่น การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การห่อผลในระยะที่ผลกระท้อนเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีขี้ม้า(ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีกระดังงา) ก็จะป้องกันได้
7. โรคใบจุด
โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อมีการระบาดจะทำให้เกิดเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ บนใบ ขอบแผลมีสีเข้มตรงกลางมีสีเหลืองจุดเล็ก ๆ จะขยายไปจนทั่วใบตามความยาวของใบ เมื่อพบว่ามีโรคดังกล่าวระบาดมากควรทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเช่น บิโนมีล คาร์เบนดาซิมทุก 10 -15 วัน
ป้ายคำ : ผลไม้
ARE THERE ANY THAILAND PEOPLE WHO CAN SELL TO MR. CHIN-CHERNG LAN FOR
VIABLE SEEDS OF SANTOL (SANDORICUM KOETJAPE), WITH 1 PHYTO-SANITARY CERTIFICATE, BE ISSUED BY “QUARANTINE AUTHORITY, THAILAND GOVERNMENT”
E MAIL: sungodtw@ms69.hinet.net fax: 886-2-26478096 mb: 886-928421179