กระเจียว ปทุมมาดอกสวยกินได้

14 มกราคม 2557 ไม้ใต้ดิน 0

พืชในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เป็นที่รู้จักของชาวไทยกันมานาน ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็น ผักเครื่องเทศ สีย้อม และสมุนไพร พืชสกุลขมิ้น (Curcuma) เป็นพืชวงศ์ขิงสกุลหนึ่งที่เกี่ยว ข้องกับชีวิตประจำวันของชาวไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งขมิ้นซึ่งถูกนำมาใช้ เป็นเครื่องเทศ และสีย้อมผ้า กระเจียวก็เป็นพืชสกุลขมิ้นที่ชาวชนบทของไทยในภาคเหนือและ ตะวันออกเฉียงเหนือได้นำมาบริโภคโดยใช้ดอกมารับประทานกับน้ำพริก และกระเจียวส้มหรือ กระเจียวแดงก็เป็นไม้ดอกที่ผู้เดินทางผ่านถ้ำขุนตาลได้พบเห็นว่ามีชาวบ้านนำมาจำหน่ายในช่วง ฤดูฝน อย่างไรก็ตามพืชพื้นเมืองสกุลนี้ของไทยเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะไม้ดอกเมืองร้อน ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยไม้ดอกสกุลนี้ซึ่งกำลังได้รับความสนใจก็คือกลุ่มปทุมมาและ กระเจียว

krajeawdok

กระเจียวและปทุมมา เป็นไม้หัวล้มลุกอายุหลายปี มีลำ ต้นใต้ดินแบบเหง้าอยู่ในสกุลขมิ้น(Curcuma)ของวงศ์ขิง (Zingiberaceae) พืชในสกุลนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด โดยมีอยู่ในประเทศไทยราว 30 ชนิดกระจายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศ พืชสกุลนี้แบ่งเป็น 2 สกุลย่อย คือEucurcuma ซึ่งมีกระเจียวเป็นตัวแทนที่รู้จักกันดีในด้านไม้ดอก จึงเรียก
เป็นกลุ่มกระเจียว และ Paracurcuma ซึ่งมีปทุมมาเป็นตัวแทนที่รู้จักกันดี ในด้านไม้ดอก จึงเรียกเป็นกลุ่มปทุมมา

ชื่อสามัญ Siam Tulip , Patumma
ชื่อวิทยาศาสตร Siam Tulip , Patumma
วงศ์ Patumma
ชื่อไทย : กระเจียว , ปทุมมา , บัวสวรรค์

ลักษณะทั่วไป
หัวมีรูปไข่ ขนาด 2×1 ซม. ภายในมีสีน้ำตาลอ่อน เหง้าสั้นมาก ลำต้นเหนือดินสูง 15-50 ซม. แผ่นใบมีรูปรี ผิวใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ฐานใบรูปลิ่มหรือมน ปลายใบเรียวแหลม มีขนาด 7-40 x 2.5-14 ซม. ช่อดอกออกกลางลำต้น ก้านช่อยาว 7-30 ซม. ส่วนช่อดอกยาว 3.5-8 ซม. ใบประดับสีเขียว ใบประดับส่วนยอด สีขาว กลีบดอกมีสีขาว สเตมิโนด รูปไข่กลับ มีสีขาวล้วนหรือมีแต้มสีม่วงหรือน้ำเงินที่ส่วนปลายขอบหยักเป็นคลื่น กลีบปาก รูปไข่กลับ มีสีขาว ส่วนปลายแต้มสีน้ำเงินขอบหยักเป็นชายครุย ปลายแยก 2 แฉก อับเรณูไม่มีเดือย รังไข่ค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 2 มม. สีขาว ผิวเกลี้ยง

krajeaws krajeawkor

ชนิดและพันธุ์
พืชตระกูลกระเจียว ที่มีการส่งหัวพันธุ์ไปต่างประเทศมากที่สุด คือ ปทุมมา รองลงมาคือ บัวลาย กระเจียวส้ม และกระเจียวดอกขาว ตลาดต่างประเทศที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รวบรวมพันธุกรรมของกระเจียวเพื่อการศึกษาลักษณะต่าง ๆและศักยภาพในการพัฒนาเป็นไม้ใหม่ในตลาดโลก ซึ่งไม้สกุลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มปทุมมา ที่มีรายงานได้แก่ ปทุมมา บัวลายปราจีน บัวลายลาว บัวลายกาญจน์ บัวขาว บัวขาวดอกใหญ่ เทพรำลึก ทับทิมสยาม ปทุมรัตน์ ช่อมรกต
  2. กลุ่มกระเจียว ได้แก่ บัวชั้น กระเจียวส้ม พลอยไพลิน พลอยทักษิณ พลอยชมพู และกระเจียวพื้นเมืองตามภาคต่างๆ ของประเทศ

การขยายพันธุ์

  1. การเพาะเมล็ด เนื่องจากว่าพืชสกุลนี้มีการพักตัวโดยธรรมชาติ จึงควรนำเมล็ดไปเก็บไว้ก่อน แล้วนำมาเพาะในฤดูปลูกถัดไป (ราวกลางเดือนเมษายน เป็นต้นไป) กระเจียวหลายชนิดติดเมล็ดได้ง่ายตามธรรมชาติ จึงสามารถนำเมล็ดมาเพาะได้แต่จะพบความแปรปรวนของต้นกระเจียวในการขยายพันธุ์แบบนี้ เพราะเมล็ดที่ได้อาจเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติ
  2. การแยกหัวปลูก เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ ช่วงฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากสามารถให้ดอกได้เร็ว
  3. การผ่าเหง้าปลูก เป็นวิธีการเพิ่มชิ้นส่วนของหัวพันธุ์ให้มากขึ้น โดยผ่าแบ่งตามยาวเป็น 2 ชิ้น เท่าๆ กัน แนวการผ่าจะต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างตาที่อยู่สองข้างของเหง้า ชิ้นเหง้าที่ได้ควรมีตาข้างทีสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 1 ตา และมีรากสะสมอาหารติดมาด้วยอย่างน้อย 1 ราก วิธีนี้จะเป็น การประหยัดค่าหัวพันธุ์เริ่มต้น แต่เกษตรกรไม่นิยมเนื่องจากมีปัญหาเรื่องโรคเข้าทำลายบริเวณบาดแผล
  4. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการเลี้ยงจากส่วนของช่อดอกอ่อนที่ได้จากต้นที่ไม่เป็นโรค และยังมีกาบใบห่อหุ้มอยู่จะดีที่สุด มีข้อดีคือปราศจากเชื้อ หรือมีการปนเปื้อนน้อย เปรียบเทียบกับการใช้ชิ้นส่วนจากหัว จะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราสูงมาก ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี ที่จะให้ดอกและหัวพันธุ์ที่ได้คุณภาพ

krajeawkla

การเตรียมแปลง
ควรไถตากดินนาน 10 14 วัน และโรยปูนขาวก่อนปลูก เพื่อช่วยลดปัญหาจากการเกิดโรค ขนาดแปลง 1.5 เมตร ระยะปลูก 30 X 30 เซนติเมตร จะปลูกได้ 4 แถว เพื่อสะดวกและง่ายต่อการดูแลรักษา การปลูก ควรรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และโรยปุ๋ยรอบโคนต้นทุกเดือน ในอัตรา 0.5 กก.ต่อต้น ลักษณะการวางเหง้าปลูกแบบวางเหง้านอน จะได้ช่อดอกมากกว่า ทั้งนี้เกษตรกรสามารถปลูกเพื่อผลิตช่อดอกและผลิตเหง้าในเวลาเดียวกัน

krajeawplang

กระเจียวจะฟักตัวในช่วงอากาศแห้งแล้งและช่วงวันสั้นปกติเหง้าจะฟักตัวช่วงเดือนกันยายน และพร้อมจะงอกต้นใหม่อีกครั้งประมาณเดือนมีนาคม เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบาย น้ำดี การปลูกในแปลงต้องใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 3-6 ตันต่อไร่ แปลงปลูกควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ไม่ ควรใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก เพราะจะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด เหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียสาเหตุ โรคเน่า และควรโรยปูนขาวก่อนเตรียมแปลงปลูก ซึ่งจะทำให้ดินมีสภาพเป็นด่าง ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคเน่า ดังกล่าว
สำหรับการปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติกควรใช้ดินผสมโดยใช้ทราย : ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ อัตรา 2 : 1 : 2 และผสมทรายหยาบเพิ่มในอัตราส่วน 1 : 1 ช่วยเพิ่มการระบายน้ำให้ดีขึ้น การปลูกที่ทำให้เกิดการแตกกอได้ดีคือการปลูกให้ยอดของเหง้าชี้ลงดิน กลบหัวลึก 5 ซม. การปลูกด้วย วิธีนี้จะทำให้อิทธิพลการข่มของตายอดลดลงตามขวางของหัวพันธุ์ที่มีอยู่ 3 – 5 ตานั้นจะเจริญเป็นหน่อใหม่ได้ ทำให้เกิดยอดขึ้นจำนวนมากทรงพุ่มงดงามและเกิดดอกมากตามไปด้วย

krajeawnor

การปลูก
การปลูกในกระถางนั้นควรปลูก 3 หัวต่อกระถาง แต่ถ้ามีหัวพันธุ์จำนวนน้อยให้ใช้วิธีผ่าหัวตามยาว ให้ หัวพันธุ์ทั้งสองซีกมีตาข้างติดอยู่ 1-2 ตา ทายาป้องกันเชื้อราหรือป้ายปูนแดงที่บริเวณรอยแผล แล้วนำชิ้นพันธุ์ ทั้งสองไปแยกปลูก ให้รอยแผลหันขึ้น จะมีโอกาสมากที่สุด พืชสกุลนี้มีปริมาณความต้องการน้ำที่ต่างกันคือชนิดที่มีใบค่อนข้างบาง จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มี ความชื้นในอากาศสูง ส่วนพวกใบค่อนข้างหนาเจริญเติบโตใด้ดีในสภาพที่ความชื้นในอากาศต่ำควรรดน้ำวันละครั้งช่วงเช้า ยกเว้นวันที่ฝนตกการรดน้ำต้องมากเพียงพอที่จะทำให้ดินชื้นตลอดทั้งวันและแห้งก่อนหัวค่ำ ควรพรางแสงลง 50-70 เปอร์เซ็นต์ ให้กับพวกที่มีใบบาง และประมาณ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับพวกที่มีใบหนา ต้นที่ได้รับแสงน้อยลำต้นจะอวบอ้วนและสูง อ่อนแอต่อโรค และอาจทำให้ใบประดับเหี่ยวได้ง่าย แต่ถ้าแสงมากเกินไปจะทำให้ขอบใบไหม้ สีใบประดับซีดเร็ว ก้านช่อดอกสั้นและอ่อน หักล้มได้ง่าย

krajeawsuan

การให้ปุ๋ย ควรให้เดือนละครั้ง โดยช่วงเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนหรือตัวหน้าสูง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นและใบ เมื่อต้นโตแล้วก็ให้ปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงเพื่อช่วยให้มีการสะสมอาหารไว้ในเหง้าและรากมากขึ้นทำให้เหง้ามีขนาดใหญ่สมบูรณ์ ซึงจะให้ดอกที่มีคุณภาพสูง โรยปุ๋ยรอบโคนต้น อัตรา 0.5 – 1 ช้อน หลังจากโรยปุ๋ยแล้วควรพรวนดินให้เมล็ดปุ๋ยแทรกตัวเข้าใกล้ระบบรากของพืช
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ยกเว้นฝนตก ต้องดูแลเรื่องความชื้นในดินให้เพียงพอและสม่ำเสมอ การให้น้ำที่ดีไม่ทำให้ดอกเสียหายคือการให้นำแบบสปริงเกลอร์และคลุมด้วยฟางเพื่อช่วยรักษาความชื้น หลักจากที่ปทุมมาเติบโตเต็มที่ ออกดอก จนกระทั่งดอกโรย ใบโทรมและเหลือง จนถึงช่วงที่ใกล้ลงหัวแล้ว ช่วงนี้เริ่มงดน้ำ เพื่อให้ต้นยุบตัวและทำให้เก็บผลผลิตได้เร็วจึ้น

โรคและแมลงศัตรู
โรคที่สำคัญคือโรคหัวเน่า ใบจุด และใบใหม้ ซึ่งจะระบาดช่วงฝนตกชุก แต่ไม่พบแมลงศัตรูสำคัญ โรคเน่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดของพืชสกุลนี้ โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum ซึ่งเป็นเชื้อโรคเหง้าเน่า เชื้อนี้เติบโตได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นด่างโรคนี้เป็นปัญหาสำคัญในการป้องกันกำจัด เนื่องจากเชื้อนี้สามารถพัฒนาพันธุ์ให้ต้านทานสารเคมีได้เร็ว มีพืชอาศัยหลายชนิดและยังสามารถพักตัวอยู่ในดินได้นานนับปี ลักษณะอาการของโรค ระยะเริ่มแรกใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยวตกลู่ลง ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง ลามจากล่างขึ้นไปยังส่วนบน จนเหลืองแห้งตายทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกจากหัวได้ง่ายเมื่อผ่าต้นดูจะเห็นข้างในเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้มและมีเมือกเป็นของเหลวสีขาวข้น ซึมออกมาตรงรอยแผล หัวอ่อนที่เป็นโรคจะมีรอยช้ำฉ่ำน้ำ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นหัวจะเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น เมื่อผ่าหัวจะพบรอยคล้ำเป็นสีม่วงน้ำเงินจาง ๆ จนถึงสีน้ำตาลและมีเมือกสีขาวซึมออกมาตรงรอยแผล พืชอาศัยของเชื้อ Pseudomonas solanacearum เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดในเขตร้อน เขตกึ่งร้อน และเขตอบอุ่น ได้แก่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือ พริก ถั่วลิสง พริกไทย กล้วย ขา ขิง ต้นสัก มะกอก หม่อน มันสำปะหลัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถเกาะกินพักตัวกับพืชนอกฤดูปลูก วัชพืชมากกว่า 64 ตระกูล และไม้ดอกอีกหลายชนิด

การเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อ
การตัดดอกควรตัดดอกในระยะที่ดอกจริงบานแล้วทั้งหมด 3 5 ดอก โดยให้ใบติดมาด้วย 1 2 ใบ ในกรณีปทุมมาพันธุ์เชียงใหม่ จะใช้เวลา 35 120 วัน หลังจากปลูก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพหัวพันธุ์ ควรเก็บเกี่ยวในตอนเช้า และแช่โคนก้านช่อดอกในน้ำสะอาดทันที การเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ เมื่อใบ และลำต้นเตรียมแห้งและยุบตัวลง เหลือแต่เหง้าและตุ้มรากฝังตัวอยู่ในดิน ในช่วงนี้ต้องเริ่มงดน้ำ เพื่อให้หัวพันธุ์มีการสะสมอาหารที่หัวเต็มที่ และป้องกันไม่ให้เหง้าและรากสะสมอาหารเน่า แต่ก่อนขุดควรรดน้ำจะช่วยให้ดินอ่อนตัวลงเพื่อความสะดวกในการขุด และแยกหัวพันธุ์ที่ขุดได้ออกจากดินหลังจากขุดแล้วต้องนำไปล้างทำความสะอาด แล้วนำมาจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อราและแมลง ผึ่งบนตะแรกงในที่ร่ม ระบายอากาศดีเพื่อให้ผิวนอกของเหง้าแห้งสนิท การคัดขนาดหัวพันธุ์ส่งออก แบ่งเป็น 3 เกรด คือ หัว กลาง ท้าย หัว คือ หัวพันธุ์ที่คัดเลือกว่ามีลักษณะดีเด่นที่สุด มีตุ้มอาหารมากว่า 4 ตุ้มอาหารขึ้นไป มีน้ำหนักมาก ซึ่งจะเก็บไว้เป็นหัวพันธุ์ต่อไป กลางคือหัวพันธุ์ที่มีตุ้มอาหาร 3 4 ตุ้มอาหารขึ้นไป สามารถส่งออกได้และท้ายคือหัวที่มีตุ้มอาหารน้อยกว่า 3 ตุ้ม ไม่สามารถส่งออกได้ การบรรจุหีบห่อ เป็นแบบกล่องกระดาษ ขนาดความสูงประมาณกล่องลำไย ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองก้นกล่อง เจาะรูหัว ท้าย และด้านข้างกล่อง เพื่อให้มีการระบายอากาศ

สรรพคุณ
ดอกกระเจียวทานได้ ให้นำดอกอ่อนมาลวกจนสุกจิ้มกับน้ำพริก หรือจะกินดอกสดก็ได้ บางบ้านนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือไม่ก็นำมาแกล้มกับขนมจีน ลาบ ก้อย ดอกกระเจียวมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
krajeawdokkeb krajeawkang

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ใต้ดิน

แสดงความคิดเห็น