กระเทียม (Garlic) เป็นทั้งเครื่องเทศและสมุนไพร ซึ่งขาดไม่ได้เลยสำหรับเมนูอาหารไทย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ต้มยำ ยำ รวมถึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำพริกประเภทต่างๆ และยังเป็นองค์ประกอบของอาหารในเกือบทุกประเทศ นอกจากกระเทียมจะช่วยทำให้อาหารมีรสชาติที่หอมอร่อยขึ้นแล้ว ยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสรรพคุณทางยามากมาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum L.
ชื่อวงศ์ Alliaceae
ชื่ออังกฤษ Garlic
ชื่อท้องถิ่น หอมเตียม หอมขาว (ภาคเหนือ) กระเทียมขาว หอมเทียม (อุดรธานี) ปะเช้วา ( แม่ฮ่องสอน) เทียม (ภาคใต้ ปัตตานี)
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว โดยมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวมีลักษณะเกือบกลม ประกอบไปด้วยกลีบเรียงกันอยู่เป็นชั้นๆ ในแต่ละหัวจะมีจำนวนกลีบมากน้อยต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วในหนึ่งหัวจะมีกลีบราวๆ 10 20 กลีบ กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประเภทหนึ่ง โดยปลูกมากทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ประโยชน์ของกระเทียม
ประโยชน์หลักของกระเทียมคือเป็นเครื่องเทศสำหรับประกอบอาหารเกือบทุกชนิด ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด และอื่นๆ นิยมทั้งแบบรับประทานแบบสดและแบบดอง ช่วยให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นดีขึ้น
สรรพคุณทางยาของกระเทียม
กระเทียมนับได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลายมากที่สุดประเภทหนึ่ง ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย บรรเทาและรักษาอาการของโรคต่างๆได้ เช่น ลดความดันโลหิตและป้องกันโรคหัวใจ ลดระดับไขมันและคอลเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยขับลม ป้องกันโรคมะเร็งเนื่องจากมีสารซีลีเนียมที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับเสมหะ ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดี ดูสะอาด และช่วยฆ่าเชื้อรา จำพวกกลาก เกลื้อน รวมถึงเชื้อราตามเล็บและหนังศีรษะ
กระเทียม ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
มีการนำไปแปรรูปเป็น สารสกัดน้ำมันกระเทียม กระเทียมสกัดผง กระเทียมเสริมอาหาร
ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
สาระสำคัญในกระเทียม
จากข้อมูลในหนังสือคู่มือคุณค่าอาหารของกระทรวงเกษตรในสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงคุณค่าทางอาหารของกระเทียมว่า มีปริมาณสารอาหารไม่มากนัก มีคาร์โบไฮเดรท 31% โปรตีน 6% นอกจากนั้นก็มีพวก วิตามินบี1, 2 วิตามิน C และแร่ธาตุพวกแคลเซียม, ฟอสฟอรัส, เหล็ก, โซเดียม, โปตัสเซียม ซึ่งจะเห็นว่าสารอาหารแต่ละตัวมีน้อยมากแต่มีสารอาหารที่น่าสนใจ อยู่ 2 ชนิด คือ ซีลีเนียมและวิตามิน B1 ชนิดพิเศษ
ซีลีเนียม เป็นสารที่ร่างกายต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้ เพราะต้องใช้ในขบวนการเมตาโบลิสม์ (Metabolism) มีหน้าที่เป็นตัวต้านไม่ให้ออกซิเจนหลุดออกจากเม็ดเลือดแดง ทำให้เลือดของเราบริสุทธิ์ และเชื่อว่าซีลีเนียม ป้องกันไม่ให้โลหะหนักบางอย่าง เช่น ปรอท หรือตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย และเป็นการป้องกัน โรคหัวใจ ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำลาย ซึ่งทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตันได้
วิตามินบี1 ชนิดพิเศษชื่อ อัลลิไทอามีน (Alli thiamine) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบประสาท และการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท ให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย โดยไม่สะสมในรูปของไขมัน ทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์ พบสารตัวอื่นๆ อีกหลายชนิดในกระเทียมซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
อัลลิซิน (Allicin) เชื่อว่าสารตัวนี้ทำให้กระเทียมมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะและแก้อาหารอักเสบได้
อัลลิอิน (Alliin) สารนี้จะถูกเปลี่ยนโดยเอนไซม์ อัลลิเนส ซึ่งมีอยู่ในกระเทียม และจะทำงานเมื่อกระเทียมถูกทุบหรือสับ สารนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและแก้การอักเสบ
ไดซัลไฟด์ (Disulfide) เชื่อว่าสารตัวนี้ สามารถลดคอเลสเตอรอลและสารไขมันอื่นๆ ได้
นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามีสารอื่นๆ อีกเช่น สารต้านเม็ดเลือดแตก ซึ่งป้องกันโรคโลหิตจาก สารต้านไขข้ออักเสบ สารปรับระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งช่วยในผู้ป่วยเบาหวานได้ สาร Antioxidant ช่วยป้องกันการเน่าเปื่อยของอาหาร สารระงับการแข็งตัวของเลือด ป้องกันโรคหัวใจ เป็นต้น
กระเทียมที่ใช้เป็นอาหารมีอยู่ 2 ประเภท คือ
พันธุ์ที่ใช้ปลูก
ภาคเหนือนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่ เชียงรายและพม่า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ และภาคกลางนิยมปลูกพันธุ์บางช้าง และพันธุ์จีน หรือไต้หวัน
พันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรา สามารถแบ่งได้ตามอายุการแก่เก็บเกี่ยวได้ ดังนี้
แหล่งเพาะปลูก
กระเทียมสามารถเพาะปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศแต่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่เป็นดินร่วน หรือระบายน้ำได้ดีและมีอุณหภูมิอากาศค่อนข้างหนาวเย็น เป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือน ดังนั้นบริเวณเพาะปลูกกระเทียมที่สำคัญของไทย ส่วนใหญ่จึงอยู่ทางภาคเหนือตอนบน ที่สำคัญได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และอุตรดิตถ์ นอกจากนี้มีเพาะปลูกข้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์
ระยะเวลาเพาะปลูก
การเพาะปลูกกระเทียมส่วนใหญ่ จะปลูก 2 ช่วง คือ
การเตรียมดินปลูก
ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกระเทียม ควรเป็นดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี
การปลูก
กระเทียมปลูกโดยใช้กลีบซึ่งประกอบเป็นหัว นิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่ จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง การนำกระเทียมไปปลูกในฤดูฝน จะทำให้กระเทียมงอกไม่พร้อมกัน โตไม่สม่ำเสมอกัน
ขนาดของกลีบจะมีอิทธิพลหรือความสำคัญ ต่อการลงหัวของกระเทียม จากการศึกษาพบว่าพันธุ์ที่มีกลีบใหญ่ ถ้าหากใช้กลีบขนาดกลางปลูกจะทำให้ผลผลิตสูง พันธุ์ที่มีกลีบขนาดเล็ก ถ้าใช้กลีบใหญ่ที่สุดปลูกจะให้ผลผลิตสูง ปกติกลีบที่มีน้ำหนัก 2 กรัม จะให้ผลผลิตสูง
การปลูกอาจให้น้ำก่อน และใช้กลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ เป็นแถวตามระยะปลูกที่กำหนด ในพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กก. หรือกลีบ 75-80 กก. ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 -15 ซม. จะให้ผลผลิตสูงที่สุด สำหรับกระเทียมจีนใช้ระยะปลูก 12-12 ซม. และหัวพันธุ์ 300-350 กก.ต่อไร่ หลังปลูกจะใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อควบคุมวัชพืช ที่จะมีขึ้นในระยะแรก เก็บความชื้นและลดความร้อนเวลากลางวัน
การให้น้ำ
ควรให้น้ำก่อนปลูก และหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงระหว่างเจริญเติบโต 7-10 วัน/ครั้ง สรุปแล้วจะให้น้ำประมาณ 10 ครั้ง/ฤดู ควรงดการให้น้ำเมื่อกระเทียมแก่จัด ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์
การคลุมดิน
หลังปลูกกระเทียมควรคลุมดินด้วยฟางข้าวแห้ง เศษหญ้าแห้ง หรือเศษวัสดุที่สามารถผุพังเน่าเปื่อยอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก รักษาความชื้นในดิน ประหยัดในการให้น้ำและลดอุณหภูมิลงในเวลากลางวัน ทำให้กระเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ดี
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน