ในกล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส (sucrose) ฟรักโทส (fructose) และกลูโคส (glucose) ให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันที โดยมีรายงานวิจัยยืนยันว่า กล้วยหอม 2 ใบให้พลังงานเพียงพอต่อการทำงานถึง 90 นาที
กล้วยหอม ผลไม้ที่มีสารทริปโตแฟน (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะทำให้คุณผ่อนคลาย มีความสุข หายจากความกังวลทั้งปวง ในกล้วยหอมยังถือเป็นแหล่งรวมวิตามินบี ช่วยการทำงานของระบบประสาท หากคุณต้องนั่งเครื่องบินหรือขับรถเป็นเวลานาน มักทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งล้า กล้วยหอมช่วยได้ เพราะว่ามีโพแทสเซียมช่วยป้องกันตะคริว และหากการเดินทางทำให้คุณไม่ได้กากใยของผักผลไม้เลย การกินกล้วยหอมก็ช่วยลดอาการท้องผูก
กล้วยหอมทองที่ปลูกในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปจะมีลำต้นสูงประมาณ ๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า ๒๐ ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีประด้า ด้านในสีเขียวอ่อน มีลายเส้นสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง เส้นกลางใบสีเขียว ส่วนของดอก ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนมีสีแดงอมม่วง กล้วยเครือหนึ่งมี ๔-๖หวีหวีหนึ่งมี๑๒-๑๖ ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม
รสหวานน่ารับประทาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum L.,Musa paradisiaca L. var sapientum (L.) O. Kutnze
ชื่อวงศ์ Musaceae
ชื่ออังกฤษ Banana, Cultivated banana
ชื่อท้องถิ่น กล้วยหอม กล้วยหอมจันทน์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นที่รู้จักกันดีว่าการกินกล้วยหอมจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้เนื่องจากในกล้วยหอมมีสาร ทริปโตแฟน (Tryptophan) อันเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายคุณสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะทำให้คุณผ่อนคลาย มีความสุข หายจากความกังวลทั้งปวง
การกินกล้วยหอมยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จึงช่วยป้องกันการเป็นโรคที่เกี่ยวกับสมองได้ด้วย
ในกล้วยหอมยังถือเป็นแหล่งรวมวิตามินบีที่สูงมาก ซึ่งวิตามินบีนี้จะช่วยในการทำงานของระบบประสาท และทำให้การทำงานของสมองได้สมดุล
นอกจากนี้กล้วยหอมยังช่วในการกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมอง ช่วยให้สมองทำงานได้เต็มที่ ดังนั้นถ้าสามารถกินเป็นอาหารเช้าร่วมด้วยจะดีมาก และถ้ากินในช่วงกลางวันหรือบ่ายก็จะทำให้รู้สึกสดชื่นกระปี้กระเปร่า
ประโยชน์อื่นๆของกล้วยหอม
คนที่มีอาการเป็นตะคริวบ่อยๆ สาเหตุสำคัญก็คือการขาดโปตัสเซียม แต่ถ้าคุณได้กินกล้วยหอมเป็นประจำจะช่วยได้เพราะกล้วยหอมมีโปตัสเซียมสูงมาก และยังช่วยบำรุงกล้ามเนื้อไม่ให้อ่อนล้า
การปลูกกล้วยหอมทอง
เตรียมดิน
เกษตรกรต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม น้ำไม่ท่วม ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดีหากดินตรงไหนเป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ถ้าจะให้ดินมีแร่ธาตุ มี
อินทรียวัตถุสูง เพิ่มธาตุอาหารในดินควรปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ ถ้าเป็นดินเหนียวควรท้าการยกร่อง และปลูกบนสันร่องทั้ง ๒ ข้าง ขุดหลุมขนาดกว้าง ๕๐ ซม.ึก ๕๐ ซม. น้าดินที่ขุดกองตากไว้ ๕-๗ วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชที่ตกค้างในดิน หลังจากนั้นคลุกเคลำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบน แล้วจึงเอา
การปลูก
หน่อ ที่เตรียมไว้วางกลางหลุม กลบดิน รดน้ำ กดดินให้แน่น ระหว่างต้นระหว่างแถวแต่ละหลุมห่างกัน ๒ เมตร เพื่อสะดวกในการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตัดใบ หมุนเวียนอากาศได้ดี
เมื่อต้นกล้วยมีอายุ๒๐-๓๐ วัน ท้าการปาดหน่อเพื่อให้ต้นและแตกใบเสมอกัน ต้นกล้วยอายุได้ ๔-๖เดือน จะเริ่มมีการแตกหน่อ หน่อที่เกิดมาเรียกว่า หน่อตาม ควรเอาหน่อออก เพื่อไม่ให้หน่อแย่งอาหารจากต้นแม่ เก็บหน่อไว้ประมาณ ๑-๒ หน่อเพื่อพยุงต้นแม่เมื่อมีลมแรงและเก็บเกี่ยวผลผลิตในปี
การให้น้ำ
ในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ จะใช้วิธีสูบน้ำจากบ่อบาดาล หรือบ่อกักเก็บที่อยู่ใกล้สวน สูบน้ำขึ้นมารดต้นกล้วย การให้น้ำแค่พอชุ่มชื่น ในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ และขณะที่กล้วยตั้งตัวและก้าลังติดปลี ติดผลดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุกวันเหมือนพืชชนิดอื่น
การให้ปุ๋ย
กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ได้รับ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ตั้งแต่เริ่มปลูก การปลูกกล้วยหอมเพื่อส่งออกจะต้องเป็นการผลิตที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและไม่ฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด จะท้าให้กล้วยหอมที่ได้ปราศจากสารพิษปนเปื้อน
แต่งหน่อกล้วย
การตัดแต่งใบกล้วย ขณะที่มีการแต่งหน่อควรท้าการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วย จนกว่ากล้วยตกเครือ ติดใบกล้วยไว้กับต้น ๑๐-๑๒ ใบ ต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้นอย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมา เมื่อเหี่ยวจะท้าให้รัดลำต้น ทำให้ลำต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร การปล่อยให้ใบกล้วยมีมากเกินไป จะท้าให้ปกคลุมดิน คลุมโคนต้น ท้าให้แดดส่องไม่ทั่วถึงพื้นที่ท้าให้ดินมีความชื่นมากเกินไป
การค้ำลำต้นกล้วย
กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องหักล้มง่าย เครือใหญ่หนัก และคออ่อน เมื่อขาดน้ำหรือลมพัดก็หักโค่นเสียหาย จึงต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้นที่ออกปลีแล้ว และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงประมาณ ๑๐ เดือน หลังจากปลูกกล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา เมื่อกล้วยแทงปลีจนสุดให้ตัดปลีทิ้ง หาก
ไม่ตัดปลีกล้วยทิ้งจะท้าให้ผลกล้วยเติบโตไม่เต็มที่
การห่อถุง
การปลูกกล้วยหอมเพื่อส่งออก หลังจากตัดปลีแล้ว ควรท้าการคลุมถุง ถุงที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกที่ฟ้าขนาดใหญ่และยาวกว่าเครือกล้วย เปิดปากถุงให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี(เก็บเกี่ยว) ประมาณ ๙๐-๑๑๐ วัน กล้วยจะแก่พอดีก็จะท้าการเก็บเกี่ยว สามารถสังเกตได้จากกล้วยหวีสุดท้ายเริ่มกลม สีผลจางลงกว่าเดิม ถ้าปล่อยให้แก่คาต้นมากเกินไปจะท้าให้เปลือกกล้วยแตก ผลเสียหาย
ป้ายคำ : ผลไม้