กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีสารเบต้าแคโรทีนมาก ช่วยบำรุงสายตา ชะลอริ้วรอยและความเสื่อมของเซลล์ได้ดี แต่เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง จึงควรรับประทานอย่างพอดี กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ชื่อสามัญ Pisang Mas
ชื่อพ้อง กล้วยกระ กล้วยเจ็กบอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) “Kluai Khai”
ลักษณะทั่วไป
ไม้ล้มลุก ขึ้นบนบกในที่กลางแจ้ง ความสูง 1.2 เมตร ความกว้าง 1 เมตร รูปร่างคล้ายรูปร่ม ลำต้นอยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นหัว ผิวของลำต้นเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนมีสีขาว ต้นแก่สีน้ำตาล มียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนมีสีเขียว ใบแก่มีสีน้ำตาล แผ่นใบกว้าง 30 – 45 เซนติเมตร ยาว 100 – 200 เซนติเมตร ใบจะแผ่กว้างยาว การเรียงตัวของใบเรียงแบบสลับ แผ่นใบรูปแถบปลายใบม้วน โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด และแปรรูป
กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษในเรื่องของสาร ต้านอนุมูลอิสระที่เรารู้จักดี คือ เบต้าแคโรทีน โดยธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือเกิน 22 ปีไปแล้ว ความเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มหยุดชะงัก ความเสื่อมในส่วนต่างๆ ของร่างกายก็เริ่มมาเยือน ช่วงนี้เอง มี 2 สิ่งที่สำคัญเกิดขึ้นในร่างกายเราซึ่งก็คือ เซลล์ในร่างกายทุกเซลล์ก็จะผลิตอนุมูลอิสระมากขึ้น และส่วนที่สองคือ ความสามารถในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นความสามารถในการจำกัดอนุมูลอิสระ ก็ลดลง ในกล้วยไข่ 1 ขีด มีสารเบต้าแคโรทีนถึง 492 มิลลิกรัม
ถ้าเทียบกล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ในปริมาณ 1 ขีดเท่ากัน กล้วยไข่จะมีเบต้าแคโรทีนมากที่สุดถึง 492 ไมโครกรัม ขณะที่กล้วยน้ำว้ามีเพียง 9 ไมโครกรัม
นอกจากนี้กล้วยไข่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ซึ่งสารนี้สามารถช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจาก
ความชราชะลอริ้วรอยต่างๆ ตลอดจนชะลอความเสื่อมของเซลล์ ที่สำคัญยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้ายได้
กล้วยไข่ยังมีสารอาหารที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น เกลือแร่ วิตามินเอ บี2 บี6 และวิตามินซี
ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผลกล้วยเท่านั้น ในหัวปลียังมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเป็น
ประโยชน์ต่อกระดูกและเนื้อเยื่ออย่างมาก ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างดี เพราะเนื้อกล้วยไข่มีไฟเบอร์
ชนิดไม่ละลายน้ำสูง แต่น่าเป็นห่วงที่ว่า กล้วยไข่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตอยู่พอสมควร จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ
ลดน้ำหนัก
กล้วยไข่นำมาแปรรูปเป็นอาหารได้ เช่น กล้วไข่เชื่อม ข้าวเม่าทอดกล้วยไข่ บวดชีกล้วยไข่
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่:
ลักษณะดิน:
สภาพภูมิอากาศ:
แหล่งน้ำ:
พันธุ์
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง
พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
การปลูก
การเตรียมดิน:
ฤดูปลูก:
วิธีการปลูก:
การดูแลรักษา
การพรวนดิน:
ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก
การกำจัดวัชพืช:
ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ
การให้ปุ๋ย:
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยหลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ย
วิธีการใส่ปุ๋ยโรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ
การให้น้ำ:
ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
ในฤดูแล้งเริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม
วิธีการให้น้ำ:
ใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้แปลงอื่นต่อไป
เทคนิคที่ควรทราบ
การพูนโคน:
โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย
การแต่งหน่อ:
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ การแต่งหน่อทุกครั้ง โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม 45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่ 2 ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว แต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาที่เหมาะสม ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้ สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม
การตัดแต่งและการไว้ใบ:
การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต และคุณภาพผล
ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลัง
กล้วยตกเครือแล้ว ควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย ระยะกล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผา เป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้
การค้ำเครือ:
เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น
การปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับลำต้นกล้วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือ โดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช้
การตัดปลี:
กล้วยไข่ที่มีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์ หลังจากปลูก 7-8 เดือนก็จะแทงปลี แต่ถ้าการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ไม่ดี การแทงปลีก็จะช้าออกไปอีก ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแทงปลีจนถึงปลีคล้อยตัวลงมาสุดจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นปลีจะบาน ระยะเวลาตั้งแต่ปลีเริ่มบานหวีแรกจนสุด หวีสุดท้ายจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี จนสามารถตัดปลีทิ้งประมาณ 15 วัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้วยและช่วงฤดูที่กล้วยตกปลี
การเก็บเกี่ยว
ปกติหลังจากตัดปลีแล้วประมาณ 45 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ผลกล้วยอาจแตก และสุกคาต้น หรือที่ชาวสวนเรียกว่ากล้วยสุกลม รสชาติไม่อร่อย สีและผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม
กล้วยไข่ที่ตกเครือในช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลจะแก่ช้ามีผลทำให้อายุการเก็บเกี่ยวต้องยาวนานออกไปถึง 50-55 วัน หลังตัดปลี
กล้วยไข่เชื่อม
เครื่องปรุง + ส่วนผสม
วิธีทำ
ป้ายคำ : ผลไม้