กะหล่ำดอก พืชผักกินดอกน่ารับประทาน

3 พฤศจิกายน 2556 พืชผัก 0

กะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้

กะหล่ำดอก เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารของคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับภัตตาคาร ระดับโรงแรม หรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงตามครัวใหญ่ครัวเล็กของบ้านต่างๆ เหตุที่กะหล่ำดอกได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากเนื่องจาก มีรสชาติ อร่อย กรอบหวาน มีสีดอกเหลืองอ่อนน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งผัด แกง ใส่ก๋วยเตี๋ยวหรืออื่นๆ อีกมากมาย กะหล่ำดอกเป็นผักที่ขายได้ราคาดี ไม่ค่อยเสียหายระหว่างขนส่ง เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นหลายชนิด เพราะลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่อวบน้ำ

วงศ์ CRUCIFERAE, BRASSICACEAE
ชื่ออังกฤษ : Cauliflower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กะหล่ำดอก เป็นพืชปีเดียวหรือสองปีไม่มีเนื้อไม้ สูง 50-80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่และออกดอก สูง 90-150 เซนติเมตร ระบบรากแผ่กระจายบนชั้นดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร รากแขนงขนาดใหญ่อาจชอนไชลงในดินได้ลึกกว่านี้ ลำต้นไม่มีการแตกแขนง ส่วนของลำต้นยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบอัดเรียงกันเป็นกระจุกแบบดอกกุหลาบซ้อนมี 15-25 ใบ รูปขอบขนานเรียงอยู่โดยรอบช่อดอก ใบไม่มีก้านใบ ผิวเรียบมีชั้นของไขห่อหุ้มผิว แผ่นใบมีสีเทาจนถึงสีเขียวปนฟ้า เส้นกลางใบและเส้นใบสีขาว ใบกว้างมีขอบใบเป็นคลื่น ยาว 40-50 เซนติเมตร กว้าง 30-40 เซนติเมตร จนกระทั่งใบผอมเรียวขอบใบเรียบ ยาว 70-80 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร กระจุกช่อดอกมีลักษณะเป็นโดมสีขาว ครีม หรือเหลือง ก้านช่อดอกสั้นและฉ่ำน้ำ ช่อดอกอาจมีลักษณะหลวมหรือเบียดกันแน่น อาจมีลักษณะแบนหรือเป็นทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-40 เซนติเมตร กระจุกช่อดอกประกอบด้วยช่อดอกหลายช่อ แต่ละช่อเป็นช่อแบบกระจะยาว 40-70 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1.5-2 เซนติเมตร ดอกมีครบทั้ง 4 ส่วน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงตั้งตรงสีเขียว กลีบดอกรูปช้อนสีเหลืองจนถึงสีขาว ยาว 2.5 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน สั้น 2 อัน ยาว 4 อัน รังไข่เหนือวงกลีบมี 2 รังไข่เชื่อมติดกันโดยมีผนังเทียมกั้นบริเวณตรงกลาง มีต่อมน้ำต้อย 2 อัน อยู่ระหว่างรังไข่ และเกสรเพศผู้ที่มีลักษณะสั้น ผลแตกแบบผักกาด กว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร มี 10-30 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลมีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร

kalamdokon

บร็อคโคลี มีใบจำนวนมากกว่ากะหล่ำดอกและมีก้านใบ กระจุกช่อดอกประกอบด้วยตาดอกที่มีการพัฒนาแล้วมากกว่า ดอกตูมสีเขียวจนถึงสีม่วงอยู่รวมกันไม่หนาแน่นมากนัก ก้านช่อดอกยาวกว่ากะหล่ำดอก และมีช่อดอกที่เจริญจากกิ่งแขนงด้วย

การใช้ประโยชน์
เป็นผักที่นำส่วนของช่อดอกอ่อนที่อัดรวมกันแน่นเป็นช่อดอกขนาดใหญ่ มักนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ รับประทานสดเป็นผักสลัด หรือนำมาต้มซุปผักร่วมกับผักชนิดอื่นๆ

คุณค่าทางอาหาร
ส่วนของช่อดอกอ่อนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ของดอกกะหล่ำ ประกอบด้วย

  • น้ำ 88 กรัม
  • โปรตีน 4 กรัม
  • ไขมัน 0.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม
  • เส้นใย 1.5 กรัม
  • แคลเซียม 25 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 325 มิลลิกรัม
  • แคโรทีน 200 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 40 มิลลิกรัม

kalamdoks

ส่วนบร็อคโคลีนั้นมีค่าต่างๆ เท่ากันยกเว้น แคลเซียม 15 มิลลิกรัม แคโรทีน 800 มิลลิกรัม วิตามินซี 100 มิลลิกรัม พลังงาน 245 กิโลจูล เมล็ดมีน้ำหนักประมาณ 2.5-4 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด

ประโยชน์ / สรรพคุณของดอกกะหล่ำ (กะหล่ำดอก)
ใช้กินเป็นผักมีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ออกจากเซล คือ สารซัลโฟราเฟน ทำให้มีการผลิตเอมไซม์-phase II มากขึ้น ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอ็มไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เพราะเอ็มไซม์ชนิดแรกนี้สามารถไปทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซล พืชในวงศ์นี้รวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่าง ๆ

สารประกอบที่พบในดอกกระหล่ำนี้สามารถต้านอนุมูลอิสสระได้ดี

  • สารโพแตสเซี่ยมสูงซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิต สารต้านอนุมูลอิสระสูง ต้านการเกิดมะเร็ง
  • สารซัลโฟเรเฟน ช่วยเพิ่มปริมาณเอ็มไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลมะเร็งได้ดีมาก ควรกินเป็นประจำจะสามารถช่วยป้องกัน มะเร็งเต้านม และ มะเร็งสำไส้ใหญ่ได้ดี
  • กรดโฟลิค ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งเานม
  • สารอินโตลส์ คาดว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งบางชนิดได้ดี
  • สารอินโดล-3 คาร์ฝึบินอล ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม คั้นเอาแต่น้ำอมช่วยรักษาแผลในปาก กลั้วคอแก้คออักเสบ
  • น้ำผักสด ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง หอบหือ (ไม่ควรปรุงให้สุกเกินไปเพราะความร้อนจะไปทำลายคุณสมบัติทางยาได้)

kalamdokkae

พันธุ์ของกะหล่ำดอก
สามารถแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นคือ ประมาณ 60-75 วัน ได้แก่ พันธุ์เออลี่ สโนว์บอลล์ (Early snowball) มีอายุการ เก็บเกี่ยว ประมาณ 60-75 วัน พันธุ์ Burpeeana มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 58-60 วัน และพันธุ์ Snow drift มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 63-78 วัน
  2. พันธุ์กลาง เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ ประมาณ 80-90 วัน ได้แก่ พันธุ์ Snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน และพันธุ์ Halland erfurt improve มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน และพันธุ์ Cauliflower main crop snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน
  3. พันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานประมาณ 90-150 วัน ได้แก่ พันธุ์ Winter มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน และพันธุ์ Putna มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน

นอกจากกลุ่มพันธุ์ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอย่างมาก โดยเฉพาะในอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และยุโรป บางประเทศได้แก่

  1. พันธุ์ไวท์ คอนเทสซ่า ไฮบริด (White contessa hybrid, Sakata) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 500 กรัม เนื้อแน่น ใบมีสีเขียวเข้มและเรียบ เป็นพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งและอากาศร้อนได้ดี
  2. พันธุ์ฟาร์มเมอร์ เออลี่ ไฮบริด (Farmer early hybrid, Know-you) เป็นกะหล่ำดอกพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 1 1/2 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดีสม่ำเสมอ
  3. พันธุ์สโนว์บอลล์ เอ (Snow ball A, Takii) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว แน่นและแข็ง มีใบนอกหุ้มดอกไว้ พันธุ์สโนว์ พีค (Snow peak, Takii) เป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นสำหรับปลูกในประเทศเขตร้อนโดยเฉพาะ เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว คุณภาพดีแน่น และดอกค่อน ข้างกลม
  4. พันธุ์ซุปเปอร์ สโนว์บอลล์ (Super snow ball) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มพันธุ์ Snow ball ด้วยกัน
  5. พันธุ์สโนว์ คิง ไฮบริด (Snow king hybrid) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน
  6. นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ที่มีดอกสีม่วง ได้แก่ พันธุ์ Royal purple และพันธุ์ Purple head ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 80-85 วัน

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
กะหล่ำดอก สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วน เหนียว และควรเป็นดินที่มีการอุ้มน้ำและอินทรีย์วัตถุได้ดี ตลอดจนการระบายน้ำและอากาศดีไม่ทนต่อสภาพดินเป็นกรดจัด ลักษณะ ของดินในการปลูกจะมีผลต่อคุณภาพของดอกอย่างมาก การปลูกกะหล่ำดอกในดินร่วนโปร่ง โอกาสที่จะได้รับผลกระทบจาก อากาศ ร้อน และแห้งแล้งมีมากกว่า ดังนั้นจะได้ดอกที่หลวมคุณภาพต่ำ ส่วนการปลูกกะหล่ำในดินเหนียวแม้ว่าจะเจริญเติบโตช้าในระยะแรก แต่การเจริญทางใบก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ดอกกะหล่ำเกาะตัวเป็นก้อนแน่นคุณภาพสูงกว่า ดินที่เหมาะสมในการปลูกควรมีความ เป็น กรดเป็นด่าง ระหว่าง 6-6.8 และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ด้วย
แต่เดิมนั้นการปลูกกะหล่ำดอก ต้องปลูกในฤดูหนาว ยิ่งหนาวมากยิ่งดี แต่ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าจนได้กะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ ที่ สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน เพียงแต่ให้เป็นที่ที่อากาศในเวลากลางคืนเย็นพอสมควร แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวจะดีกว่า ความ ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกอยู่ระหว่าง 15.5-18.3 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามหากปลูกกะหล่ำดอกในที่มีอุณหภูมิต่ำ เกินไปจะทำให้ดอกกะหล่ำโตช้า และยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไป

การเพาะกล้ากะหล่ำดอก
การเตรียมแปลงเพาะกล้า ให้ไถดินให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลาย ตัวดี แล้ว ให้มากคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยชั้นผิวดินให้ละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดตกลึกลงไปในร่องดิน ทำให้ไม่งอกหรือ งอกยาก
หลังจากเตรียมแปลงเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วพื้นผิวแปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่าหว่านกล้าให้แน่น เกิน ไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินได้ หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้หว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดิน ผสม ละเอียด หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร หรือทำร่องเป็นแถวลึกประมาณ 1 1/2 2 เซนติเมตร หลังโรยเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แต่ละ แถว ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมละเอียดเช่นกัน หลักจากหว่านเมล็ด เรียบร้อยแล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อต้นกล้างอกเริ่มมีใบจริง ควรถอนแยกต้นที่อ่อนแอ ต้นไม่สมบูรณ์และขึ้นเบียดเสียดกันแน่นเกินไปออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 5-8 เซนติเมตร ช่วงนี้ควรให้ปุ๋ยพวกสารละลายสตาร์ทเตอร์โซลูชั่นแก่ต้นกล้า และหมั่นตรวจดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิด จนกระทั่วเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 30-40 วันจึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูกต่อไป
การเตรียมดินปลูกกะหล่ำดอก

kalamdokkla

กะหล่ำดอก เป็นผักที่มีระบบรากตื้น การเตรียมดินเพียงขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บ เศษหญ้า เศษวัชพืชออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่ควรละเอียดเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ยกเป็น แปลงๆ พร้อมที่จะนำต้นกล้าลงปลูก

การปลูกกะหล่ำดอก

เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ อายุได้ประมาณ 30-40 วัน ต้นสูงประมาณ 10-12 เซนติเมตร จึงทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลง ไม่ควร ปล่อยให้ต้นกล้ามีอายุแก่เกินไป จะทำให้รากเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่ายขณะทำการย้าย มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำบนแปลเพาะกล้าให้ชุ่มแต่ไม่แฉะ ควรเลือกย้ายกล้าในวันที่แสงแดดไม่จัด และย้ายในเวลาเย็นหรือช่วง อากาศมืดครึ้ม เพื่อหลีกเลี่ยนการคายน้ำมากเกินไปของต้นกล้า ซึ่งจะทำให้กล้าเหี่ยวตายได้
การปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร โดยปลูกเป็นหลุมบนแปลง หลังจากปลูกควรกลบ ดินกดบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้น เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในพื้นที่ที่มี แสงแดด จัดควรหาที่ปังแดดให้ ซึ่งอาจใช้ทางมะพร้าวคลุมไว้ประมาณ 3-5 วัน จึงเอาทางมะพร้าวออก
การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำดอก

การให้น้ำ ในช่วงแรกหลังจากย้ายปลูกไม่ต้องให้น้ำมากนัก เพียงให้ดินมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างเพียงพอก็พอ สังเกตดูว่าดินแฉะ เกิน ไปหรือไม่ ถ้าดินแฉะเกินไปก็ลดปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้งให้น้อยลง เพราะถ้าแฉะเกินไปจะทำให้ต้นกะหล่ำดอกเกิดโรคเน่าเละ ได้ง่าย เมื่อกะหล่ำดอกโตขึ้นก็ให้น้ำมากขึ้นเพราะการระเหยน้ำเกิดเร็วขึ้น ควรให้อย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและเย็น อย่า ปล่อยให้กะหล่ำดอกขาดน้ำ เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและกระทบกระเทือนต่อการสร้างดอก ทำให้คุณภาพและปริมาณ ดอกลดลง ในฤดูแล้งควรมีการคลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง จะช่วยให้รักษาความชื้นในดินไว้ได้ดี
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยไนโตรเจนนับว่ามีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของกะหล่ำดอกมาก ดังนั้นในระยะแรกควรมีการให้ปุ๋ยไนโตเจน ในรูปของ แอมโมเนียม ซัลเฟตหรือยูเรีย จากนั้นจึงใช้ปุ๋ยสูตร ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความอุดมสมบูรณ์ ของดิน โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อกะหล่ำดอกอายุประมาณ 30-40 วันหลังย้ายปลูก โดยโรยใส่ข้างต้นแล้วพรวนดินกลบลงในดิน

kalamdokplang

การพรวนดิน ควรทำในระยะแรกขณะที่วัชพืชยังเล็กอยู่พร้อมกับการกำจัดวัชพืชพร้อมกันไปด้วย
การคลุมดอก เมื่อดอกกะหล่ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร หรือดอกโตจวนจะได้ขนาดแล้วควรมีการคลุมดอก โดย รวบใบบริเวณปลายยอดเข้าหากันอย่างหลวมๆ ระวังอย่าให้แน่นเกินไป แล้วใช้ยางรัดของมัดไว้ จะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีขาวนวล น่ารับประทาน มีคุณภาพดีเหตุที่ต้องมีการคลุมดอกก็เพื่อป้องกันแสงแดดส่องถูกผิวของดอกกะหล่ำ ซึ่งจะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีเหลือง อันเนื่องมาจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งลักษณะดอกกะหล่ำที่มีสีเหลืองตลาดมักจะไม่ต้องการ ปกติแล้วหลังจากคลุมดอกจะสามารถ เก็บเกี่ยว ได้ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่า แต่ถ้าในฤดูร้อนจะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ในปัจจุบันกะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ จะมีใบ คลุมดอกได้เองโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องคลุมดอกให้
การเก็บเกี่ยวกะหล่ำดอก

kalamdoksuan

การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยว 60-120 วันหลังจากย้ายปลูก บางสายพันธุ์ที่ทนร้อนมีอายุเก็บเกี่ยว 45-55 วัน ในการเก็บเกี่ยวนิยมตัดยอดของลำต้นใต้ช่อดอกให้มีใบห่อหุ้มส่วนของช่อดอกไว้ด้วย เพื่อป้องกันความเสียหายขณะขนส่ง

kalamdok

สังเกตได้จาก ขนาดของดอกที่มีขนาดโตเต็มที่ และเป็นก้อนแน่นก่อนการยืดตัวไปเป็นช่อดอก ทั้งนี้อาจจะนับจากจำนวนวันที่ดอกเริ่ม เจริญพอสังเกตเห็นได้ต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวได้หากอากาศไม่หนาวเกินไป นอกจากนั้นอาจสังเกตได้จาก อายุการเก็บเกี่ยว โดยพันธุ์เบาจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วันหลังจากย้ายกล้า และพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วันหลังจากการย้ายกล้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดตัดดอกกะหล่ำ ให้มีส่วนของใบบริเวณใกล้ดอกติดมา ด้วย 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่ง ควรเลือกตัดดอกที่ยังอ่อนแต่โตเต็มที่แล้วคือ สังเกตจากดอกกำลังมี สีครีม และหน้าดอกเรียบ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น