กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)
ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้ว
กะเม็งยังเข้ายาอายุวัฒนะหลายตำรับ มีทั้งใช้เดี่ยวๆ และใช้เข้ายาตำรับร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยทำเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาชงกินแทนน้ำชาทุกวันก็ได้ และมีตำรับที่ใช้การตำคั้นกะเม็งผสมน้ำผึ้งกินทุกวันเดือนดับก็มี จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด
นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยนำต้นกะเม็งตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปคั่วให้พอหอม ชงน้ำร้อนดื่มเป็นน้ำชารับประทานดียิ่งนัก
หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย
กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล แก้ปวดฟันหรือจะใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และกะเม็งยังใช้รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ
กะเม็งยังสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ
กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี
กะเม็ง
ชื่ออื่น ๆ : กะเม็งตัวเมีย กะเม็ง(ภาคกลาง) ฮ่อมเกี่ยว(ภาคเหนือ) บั้งก็เช้า(ประเทศจีน)
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eclopta prostrata Linn.
วงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทั่วไป
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นในที่โล่งแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้น ค่อนข้างมาก มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ดอก ราก
สรรพคุณ : ลำต้น ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงอวัยวะเพศ แก้ตกขาว โรคมะเร็ง คอตีบ ปัสสาวะเป็นโลหิต ไอเป็นโลหิต อุจจาระเป็นโลหิต อาเจียนเป็นโลหิต โรคลำไส้อักเสบ บำรุงไต วิธีใช้ด้วยการนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือนำลำต้นมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำหอม ใช้สูดดม แก้โรคดีซ่านและแก้ไข้หวัด และเมื่อนำมาผสมกับพริกไทยและน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นกลอนเล็ก ๆ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อย ใบ นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ใส่ผมดก ดำเป็นมัน และยังแก้ผมหงอกก่อนวัย เมื่อนำมาผสมกับน้ำผึ้งกิน แก้โรคหวัด น้ำมูกไหลใช้กับทารก ตำเอากากมาพอกแผล แผลห้ามโลหิต แก้โรคหนังกลากเกลื้อน จากเชื้อรา ดอกและใบ ใช้ต้มและนำมาทา บริเวณเหงือก หรือฟันที่ปวด ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน แก้โรคเลือดจาง ท้องร่วง โรคบิด หอบหืด หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ อาการแน่นหน้าอก รักษาโรคเกี่ยวกับตา
ถิ่นที่อยู่ : กะเม็ง เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามริมคูน้ำ ตามทรายหาด นาข้าว และสองข้างทาง
หมายเหตุ : กะเม็งตัวเมีย กะเม็งกะเม็ง(ไทย) หอมเกี่ยว หญ้าสับ(พายัพ) บั้งกีเช้า(จีน).in Siam. Plant Names,1948,p.201., Eclipta alba Burkill, I,1935,p.889 Urang-aring, Aring-aring, Ari-aring, Aaghing-aghing, Keremak jantan, Keremak hutan, Rumput kunang puteh (white firefl grass); in Siam, Kameng,
A weed of the wholeof the tropics, and extending into the warm temperate belt., Eclipta erecta Vanpruk,1923,p.12 กะเม็ง.
กะเม็งตัวผู้
ชื่ออื่น ๆ : ฮ่อมเกี่ยวคำ(เชียงใหม่) กะเม็งตัวผู้(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia chinensis
วงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทั่วไป
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ
สรรพคุณ : ลำต้น เอาลำต้นมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับข้าว ใช้พอกแก้ปวดบวม หรือนำเอาลำต้นที่ตากแห้งแล้วนำมาชงเป็นยาอาเจียนเป็นเลือด แก้โรคกระเพาะคราก หรือโรคกระเพาะอักเสบ และยังทำให้น้ำสะอาดได้ด้วย ใบ นำมาใช้เป็นยาบำรุง แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง ปวดศีรษะ
หมายเหตุ : มะเก็งตัวผู้(ไทย) ห้อมเกี้ยวคำ(เชียงใหม่). In Siam. Plant Names,1948,p.495., Wedelia calendulacea Less.,is a medicinal plant in India and Indo-China, to some extent used vicariously cor Eclipta alba.
Its taste, and are considered tonic, useful in coughs, headaches, skin-didesaes, and baldness, Burkill,II,1935,p.2253.
พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
ป้ายคำ : สมุนไพร