ไผ่เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นแตกเป็นกอเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ กอหนึ่งมีประมาณ 20-50 ต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 5 – 15 เมตรลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้องผิวเกลี้ยงแข็งมีสีเขียวหรือเหลืองแถบเขียวลักษณะของข้อปล้องขนาดและสีขึ้นกับชนิดพันธุ์ใบเป็นใบเดี่ยวยาวแคบลักษณะคล้ายรูปหอกขอบใบเรียบผิวใบสีเขียวมีขนอ่อนๆคลุมบนผิวในขนาดใบกว้างประมาณ 1 – 2 นิ้วยาวประมาณ512นิ้วหรือขึ้นกับชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดบริเวณข้อปล้องเมื่อดอกแห้งก็จะตายไป ผลหรือลูกคล้ายเมล็ดข้าวสาร
ขั้นตอนการเตรียมดินเพาะชำเหง้าไผ่
ขั้นตอนการขุดแยกเหง้าไผ่
1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับขุด(เสียมปากแบน)ให้มีความคมเพื่อให้ง่ายต่อการขุดและลดการใช้แรงให้น้อยลง
2. หาต้นไผ่ที่มีลักษณะสมบูรณ์ โดยมีวิธีการสังเกตคือ เราจะเลือกต้นไผ่ที่มีการแตกแขนงของการตัดหน่อมาแล้ว
3. จากนั้นทำการนำเอาอุปกรณ์สำหรับขุด(เสียม)แทงลงไปในดินเพื่อเป็นการตัดรากให้ขาดออกจากต้นไผ่ออกจากกัน เมื่อได้เหง้าไผ่มาแล้วจะสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของเหง้าไผ่ได้จากการเกิดตาบริเวณเหง้าที่เราตัดออกมาจะมีตานูนออกมาให้สังเกตเห็นชัดเจน พร้อมที่จะออกหน่อต่อไป
4. หลังจากเราตัดเหง้าออกมาแล้วนั้นเราจำเป็นต้องนำเหง้าดังกล่าวมาเตรียมความพร้อม โดยการตัดแต่งใบออก เพื่อที่จะไปกระตุ้นการเกิดใหม่ของเหง้าดังกล่าว
5. เมื่อเราได้เหง้าที่เราทำการตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้วนั้น เราจึงนำเหง้าดังกล่าวมาแช่น้ำไว้ให้ได้ขั้นต่ำประมาณ 2 ชั่วโมง โดยในน้ำที่เราใช้แช่กิ่งเราสามารถใส่ปุ๋ยน้ำหมักจากหยวกกล้วยในอัตรา 1 ลิตร : น้ำ 100 ลิตร เพื่อช่วยเร่งการเกิดรากได้เร็วขึ้น
คำแนะนำ :
สำหรับเหง้าที่มีความสมบูรณ์มากจะสังเกตเห็นได้ว่ามีการสร้างและแตกตาใหม่ขึ้นมา ใน 1 เหง้า จะเกิดตาหลายตา ในเหง้าที่มีตาโผล่ออกมานี้ จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 หน่อได้ด้วยการถผ่าครึ่ง ในหนึ่งเหง้าจึงแยกปลูกได้ 2 ต้น
วิธีการทำ
แหล่งอ้างอิง :
คุณมานิตย์ แจงเขตต์การ 65 หมู่ที่5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
ป้ายคำ : การขยายพันธุ์