การบูร หอมน้ำมันระเหย

24 พฤษภาคม 2558 สมุนไพร 0

การบูร เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-30 เมตร ใบดกทึบ ใบเดี่ยว สีเขียว ยาว 7-10 เซนติเมตร รูปรีปลายแหลม ดอกช่อ สีขาวอมเขียวหรือเหลือง ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ในเดือน มิ.ย.-ก.ค. ผลขนาดเล็กมีเมล็ด ผิวสีชมพูหรือน้ำตาลม่วง เปลือกต้นผิวมันเกลี้ยง สีน้ำตาลอมเขียว เกิดตามป่าดงดิบเขาสูง ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl.
ชื่อพ้อง Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.
ชื่อวงศ์ Lauraceae
ชื่ออื่นๆ อบเชยญวน พรมเส็ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ราก และโคนต้น ทรงพุ่มกว้าง ทึบ ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวหยาบ เปลือกกิ่งสีเขียว หรือน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบ ไม่มีขน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง

  • ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 5.5-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอมเทาหรือนวล ไม่มีขน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร เส้นใบขึ้นตรงมาจากโคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แล้วแยกออกเป็น 3 เส้น ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อม 2 ต่อม และตามเส้นกลางใบอาจมีต่อมเกิดขึ้นตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกไป ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ไม่มีขน ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ
  • ดอกช่อแบบแยกแขนงออกตามเป็นกระจุกบริเวณง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว ก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ รูปรี ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนละเอียด เกสรเพศผู้มี 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงละ 3 อัน อับเรณูของวงที่ 1 และวงที่ 2 หันหน้าเข้าด้านใน ก้านเกสรมีขน ส่วนอับเรณูของวงที่ 3 หันหน้าออกด้านนอก ก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อม 2 ต่อมอยู่ใกล้โคนก้าน ต่อมรูปไข่กว้างและมีก้าน อับเรณูมีช่องเปิด 4 ช่อง เรียงเป็น 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิดทั้ง 4 ช่อง เกสรเพศผู้เป็นหมันมี 3 อัน อยู่ด้านในสุด รูปร่างคล้ายหัวลูกศร มีขนแต่ไม่มีต่อม รังไข่รูปไข่ ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ไม่มีขน ปลายเกสรเพศเมียกลม ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม
  • ผลรูปไข่ หรือกลม เป็นผลมีเนื้อ ยาว 6-10 มิลลิเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีดำ มีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล มีเมล็ด 1 เมล็ด ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม

karaboontonkaraboonkan karaboondoks karaboonmed karaboonmeds

ประโยชน์
เมื่อนำส่วนต่างๆ ของการบูรมากลั่นจะได้น้ำมันระเหยง่าย ซึ่งประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น camphor, safrol, cineole, pinene, camphene, phellandrene และ limonene สำหรับ camphor จะเป็นผลึกแยกออกมาเรียกว่า การบูร ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ทำยาทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ

karaboonpleag

ผงการบูร เป็นเกล็ดกลมเล็กๆสีขาวแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย ทิ้งไว้ในอากาศ จะระเหิดไปหมด รสร้อนปร่าเมา บำรุงธาตุ แก้ปวดท้องจุกเสียด ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย ใช้เป็นยาทาเพื่อถอนพิษอักเสบชนิดเรื้อรัง ขับเหงื่อ แก้ปวดตามเส้น เกลื่อนฝี แก้เคล็ดขัดยอก บวม แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นยาชาเฉพาะที่ ใช้ปรุงกลิ่นรสในยาอื่น ถ้าวางไว้ในห้องจะไล่แมลงรบกวน เช่น ยุง

karaboonpong

สรรพคุณ
ตำรายาไทย เนื้อไม้ นำมากลั่นจะได้ การบูร รสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้ผสมเป็นยาเพื่อป้องกันแมลงบางชนิด เปลือกและราก กลั่นได้การบูร ใช้ 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย

karaboonyodkaraboonbai

ได้จาก การกลั่นลำต้น ราก หรือใบของการบูร

องค์ประกอบทางเคมี
เนื้อไม้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้การบูรและน้ำมันหอมระเหย รวมกันประมาณ 1% ประกอบด้วย limonene, p-cymol, orthodene, salvene, caryophyllen, linalool, cineole, eugenol, acetaldehyde และ betelphenol ราก มีน้ำมันหอมระเหย 3% ประกอบด้วย camphor, safrole, carvacrol, phellandene, limonene, pinene, camphene, fenochen, cadinene, azulene, citronellol, piperonylic acid, cineol, terpineol, piperiton, citronellic acid ใบ พบ camphor และ camperol

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น