ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไปตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศน์และถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab)
ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลองชลประทานต่าง ๆ โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนาจะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บริเวณที่มีน้ำปูจะขุดรูในที่ ๆ น้ำท่วมไม่ถึง รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก ปากรูจะอยู่เหนือน้ำ หรือต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูส่วนใหญ่จะเป็นแนวเอียง 30-60 องศากับแนวระดับ รูจะตรง ไม่คดเคี้ยว ในที่ ๆ มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นมากรูปูจะไม่ลึกและมีรูขนาดไปกับ พื้นดิน
ตามทุ่งนาที่มีน้ำเฉอะแฉะ เช่นระยะหลังการเก็บเกี่ยว ปูจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นนามีความลึกประมาณ 1 เมตร ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริม ๆ น้ำ โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ
เมื่อปูเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขนาดประมาณ 20 มิลลิเมตร อายุ 90 วัน หรือลอกคราบประมาณ 7-9 ครั้ง ปูเพศผู้จะมีก้ามซ้ายซ้ายใหญ่กว่าก้ามขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วนเพศเมียก้ามเล็ก ก้ามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก จับปิ้งที่มีลักษณะเล็กเรียวในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศ (ที่เรียกว่าปูกะเทย) ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาด ถ้าอายุเท่ากันปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ
เมื่อเข้าฤดูฝนปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหาร ตามแหล่งน้ำ และผสมพันธุ์ ในฤดูผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ดุ เมื่อตัวผู้เข้าใกล้ ปูเพศผู้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยแสดงอาการปกป้องตัวเอพร้อมกับไล่ปูเพศเมีย เป็นระยะ ๆ เมื่อได้จังหวะ ปูเพศผู้ตัวจะขึ้นคร่อมและใช้ขาเดินคู่ที่ 2-4 พยุงปูเพศเมียไว้ข้างล่าง การจับคู่ในลักษณะนี้จะดำเนินต่อเนื่องกันประมาณ 3-4 วัน จนกระทั้งปูเพศเมียลอกคราบ ในช่วงที่ปูเพศเมียกระดองนิ่มนี้ ปูเพศผู้จะทำหน้าพะยุงปูเพศเมียไว้ เพื่อไม่ให้ปูเพศเมียที่ตัวนิ่มและบอบบางนั้นได้รับอันตราย ทำหน้าที่ปกป้องถ้ามีศัตรูเข้าใกล้ เมื่อจะผสมพันธุ์ ปูเพศผู้จะจับปูเพศเมียหงายกลับ
เอาด้านท้องขึ้น และสอดตัวเข้าไประหว่างจับปิ้งของปูเพศเมีย เพื่อสอดอวัยวะสืบพันธุ์ ที่อยู่บริเวณโคนขาคู่ที่4 ข้างละ1 คู่ คู่บนมีลักษณะ เรียวแหลมและ เล็ก ทำหน้าที่เป็นท่อทางเดินของน้ำเชื้อเพศผู้ ส่วนคู่ล่างหนามที่โคนจะทำหน้าที่ยึดให้หน้าท้องของปูเพศผู้ติดกับปูเพศเมีย และมีกลไกสำหรับฉีดน้ำเชื้อผ่านอวัยวะคู่บนเข้าสู่รูเปิดของปูเพศเมีย (gonopore) ที่บริเวณหน้าอก (ใกล้โคนขาคู่ที่สาม)ใต้จับปิ้งซึ่งมีสองรู เพื่อไปเก็บไว้ในถุงน้ำเชื้อ (spermatophore) ที่อยู่บริเวณปลายสุดของรูเปิดของปูเพศเมีย ขั้นตอนการผสมพันธุ์นี้จะกินเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง น้ำเชื้อของปูเพศผู้ที่เก็บไว้ในปูเพศมีนี้จะมีสามารถมีชีวิตประมาณ 3-4 เดือน
ปูเพศเมียเมื่อได้รับน้ำเชื้อเพศผู้เรียบแล้วก็จะกลับตัวอยู่ในท่าปกติ ปูเพศผู้ยังคงเกาะหลังปูเพศเมียต่อไปอีกประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองปูเพศเมียจนกว่าปูเพศเมียจะแข็งแร็งและสามารถดำรงชีวิต ได้ตามปรกติ จึงละจากปูเพศเมียออกไปหากินตามแหล่งน้ำหาอาหาร เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตัวเอง เพื่อเตรียมตัวพร้อมสำหรับเผชิญกับชีวิตในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคมซึ่งอากาศเย็นและมีอาหารจำกัด วิธีที่ปูนาใช้ปฏิบัติและได้ผลดีจนกลายเป็นกิจกรรมหนึ่งในวิถีชีวิตของปูนา คือการลงรูจำศีลในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ในช่วงนี้ปูจะไม่กินอาหารและไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำเป็นเพื่อประหยัดพลังงาน ที่มีอยู่จำกัด ปูจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งหนึ่งเมื่อ เมื่อระดับน้ำลดปู ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ วัชพืชต่าง ๆ งอกงาม และจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้งหนึ่งในช่วงต้นฤดูฝนตามวิธีชีวิตปูนาต่อไป
ฤดูวางไข่
ปูนาจะวางไข่ปีละครั้งในช่วง เดือนกุมพาพันธุ์-กรกฎาคม โดยมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าน้ำนั้นจะมาจากน้ำฝนหรือจากชลประทาน ปูเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูใหม่หรือซ่อมรูเก่าที่มีอยู่ตามคันนาสูง จากระดับน้ำ หรือตามทุ่งวนาที่น้ำไม่ขัง เพื่อเตรียมอุ้มไข่ และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
การพัฒนาของไข่
เมื่อได้รับการผสมจากปูเพศผู้แล้ว ไข่จะเริ่มพัฒนาอยู่ภายในช่องว่างภายในตัวระหว่างกระดอง การพัฒนาของไข่แบ่งได้เป็น สี่ ระยะดังนี้คือ
ไข่เมื่อพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อแยกเป็นเม็ดแล้วจะถูกส่งออกไปตามท่อนำไข่เพื่อผสมกับน้ำเชื้อเพศผ็ผู้ ที่จะถูกขับออกมาจากถุงเก็บน้ำเชื้อ ไข่ที่ผสมแล้วจะถูกขับออกมาทางรูเปิดที่หน้าอก รยางค์ที่2-5 จะผลิตสารเหนียวออกมายึดไข่ติดไว้กับขนของรยางค์ทั้งสี่คู่ ที่มีลักษณะเป็นแผงคล้ายขนนก ที่จับปิ้งหน้าท้อง ปูแต่ละแม่จะมีไข่ประมาณ 65-2,440 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดปู แม่ปูขนาดกระดองกว้างประมาณ 30-50 มิลลิเมตรจะมีไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 700 ฟอง
ประมาณ 10-12 วัน ไข่ที่ผสมแล้วที่ติดกับจับปิ้งในบริเวณหน้าอกก็จะฟักเป็นลูกปูขนาดเล็ก แต่ลูกปูเหล่านี้คงเกาะอาศัยอยู่กับจับปิ้งอยู่ โดยแม่ปูจะใช้รยางค์ที่บริเวณหน้าท้องโบกพัดกระแสน้ำมีอาหารและออกซิเจนมา เลี้ยงตัวอ่อน ประมาณ 20-23 วัน ลูกปูก็จะลอกคราบ เป็นลูกปูวัยอ่อนที่มีลักษณะครบถ้วนเหมือนพ่อและแม่ เมื่อแม่ปูเห็นว่าลูกปูแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้ว ก็จะใช้ก้ามเขี่ยลูกปูให้หลุดออกจากจับปิ้ง แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะ เช่นไม่มีน้ำ หรือแล้งเกินไป การพัฒนาของลูกปูในช่วงนี้อาจจะช้า บางครั้งอาจจะยึดเวลาอีก 1- 2 เดือน ถึงจะลอกคราบ แม่ปูถึงจะเขี่ยออกจากจับปิ้ง
การกินอาหาร
ปูนากินอาหารทุกชนิด ตั้งแต่สารอินทรีย์ในดินจนกระทั้งพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตและตายแล้ว ด้วยเหตุนี้ปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสานจึงมีความเชื่ออย่างสนิทใจว่า ปูนามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยทำให้ระบบนิเวศน์ในแผ่นดินอีสานเกิดความ สมบูรณ์ เพราะปูนามีระบบย่อยอาหารที่สามารถดูดซึมสารอินทรีย์จากดินได้ ดังนั้นปูนาสามารถกินดินที่มีสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยได้โดยตรง สัตว์ที่เป็นอาหารของปูนาในธรรมชาติได้ แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ กุ้งฝอย ลูกหอย ปลาขนาดเล็ก และตัวอ่อนของแมลงที่เจริญเติบโตในน้ำ รวมทั้งปูด้วยกันที่มีขนาดเล็กหรือที่กำลังลอกคราบ สำหรับพืชปูจะกินพืชที่มีลำตันอ่อน เช่นต้นข้าว หญ้าและวัชพืชน้ำต่าง ๆ ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน
เลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ เพื่อการบริโภค
ปูนาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับปูทะเลหรือปูม้า เทคนิคการเลี้ยงก็เรียบง่ายใช้เทคโนโลยีชาวบ้านเป็นพื้นฐาน บ่อที่ใช้เลี้ยงปูนา จะเป็นบ่อบ่อดิน หรือบ่อซีเมนต์ ก็ได้ ถ้าเป็นบ่อดินควรมีอวนมุ้งตาถี่ล้อมรอบบ่อเพื่อป้องกันปูหนี ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์ก็สะดวกต่อการดูแล รักษาและการจัดการ บ่อเลี้ยงปูนาไม่ต้องสูงมาก เพื่อความสะดวกในการทำงานควรสูงไม่เกิน 60 ซม. ส่วนความกว้างยาวนั้นแล้วแต่ความเหมาะสม ข้อสำคัญของบ่อเลี้ยงปูนาคือ ประมาณ 3/4 ของพื้นที่บ่อควรเป็นดินสูงประมาณ 30 ซม. เพื่อให้ปูได้ขุดรูอยู่อาศัย ส่วนที่เป็นดินนี้จะลาดเข้าหา อีกส่วนหนึ่งที่เป็นน้ำ
การเพาะพันธุ์
ปูนาสามารถนำมาเพาะในโรงเพาะฟักเพื่อผลิตลูกปูวัยอ่อนได้เช่นเดียวกับปูม้า หรือปูทะเล บ่อที่ใช้จะเป็นบ่อซีเมนต์ ถังพลาสติก หรือ ตู้กระจก ก็ได้ ขนาดของบ่อก็ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดการของแต่ละท่าน
พ่อแม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ ในระยะแรกก็คงต้องรวบรวมจากธรรมชาติ จะเริ่มเพาะจากพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ หรือจะใช้แม่ปูที่มีไข่ที่จับปิ้งและมีลูกปูวัยอ่อนที่ติดกระดองอยู่แล้วมา อนุบาล ก็จะประหยัดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้มาก
การอนุบาลลูกปู
ในช่วง15วันแรก ควรให้ ไรแดง หนอนแดง เทา หรือไข่ตุ๋น กินเป็นอาหาร หลังจากนั้นควรให้ปลาหรือกุ้งสับอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกก็ใช้ได้ เมื่อมีอายุประมาณ30วันก็สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์เพื่อ ให้มีขนาดโตเต็มวัยได้ความหนาแน่นที่ปล่อยเลี้ยง ลูกปูในระยะนี้ควรปล่อยเลี้ยงในปริมาณ 10,000 ตัว/เนื้อที่1 ตารางเมตร
การเจริญเติบโต
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดการ ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน
การลอกคราบ
ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ1ชั่วโมง
ทำปูนาให้เป็นปูนิ่ม เพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์
มีผู้อ่านหลายท่านได้โทรมาถามผู้เขียนบ่อยครั้งว่า ปูนำทำปูนิ่มได้ไหม คำตอบก็คือ ปูนาสามารถนำมาผลิตเป็นปูนิ่มได้เช่นเดียวกับปูทะเลและปูม้า ปูนานิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ และสามารถเพิ่มคุณค่าปูนาให้สูงขึ้น ปกติปูนาจะซื้อ-ขายกันกิโลกรัมละ 40 บาท แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ปูนิ่ม ราคาก็จะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100-200 บาทเป็นต้น ปูนานิ่มมีข้อดีที่ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะอาด สามารถบริโภคได้ทั้งตัว มีปริมาณแคลเซียมและไคตีนต่อน้ำหนัก1 กรัมสูง เมื่อเปรียบเทียบกับปูนาทั้งตัวที่ยังไม่ลอกคราบ เหมาะสำหรับสตรี หรือผู้สูงอายุที่ต้องการแคลเซียม ไคตินและไคโตซานไปช่วยเสริมกระดูก สะดวกต่อการนำไปปรุงอาหาร ที่นิยมมากได้แก่นำไปชุบแป้งทอดกรอบ รับประทานทั้งตัว
ปูนาทำอาหารได้หลากหลาย
การเลี้ยงปูนา แบบฉบับ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนอีโต้น้อย
ปูนา เป็นมรดกดินที่มีค่า ปูนาจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ราคาถูกและหาได้ง่ายตามธรรมชาติ ซึ่งชาวนาและคนทั่วไปรู้จักกันดี เพราะเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิต การดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น
แหล่งที่อยู่อาศัยของปูนา ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา คันคู และคันคลอง หนองน้ำต่าง ๆ มีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก
ตำแหน่งและลักษณะของรูปูนา จะแตกต่างกันตามธรรมชาติ สภาพของพื้นที่ดิน ฟ้า อากาศ และน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของปูนา บริเวณที่มีน้ำปูจะขุดรู รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก รูปู ส่วนใหญ่จะเป็นแนวเอียงต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูส่วนใหญ่จะเอียงประมาณ 30 45 องศา ลึกประมาณ 50 70 เซนติเมตร ถ้าเป็นนาดอนปูจะขุดรูลึกประมาณ 70 100 เซนติเมตรเพราะพื้นที่ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก ปูจะทำรูลึกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากที่ดอนลงไปแหล่งน้ำใกล้เคียงหรือที่ลุ่ม ในกรณีที่เกิดฝนตกหนักหรือน้ำท่วม ปูจะอาศัยอยู่ตามกอหญ้าต่าง ๆ หรือท่อนไม้ พุ่มไม้เล็ก ๆ ถ้าพูดไปแล้วปูนากับชาวนาจะไม่ค่อยถูกกันเท่าไหร่ เพราะชาวนาเป็นผู้ทำนา ก็อยากจะเห็นต้นข้าวของตนเองงาม ๆ แต่ปูนาก็เป็นตัวทำลายต้นข้าว โดยปูนาจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ข้าวเสียหาย
แต่สำหรับหน้าแล้งปูนาจะมีประโยชน์สำหรับเรามาก เพราะถ้าเราจับปูนามาเลี้ยงในฤดูแล้ง ปูนาจะทำเงินให้เราอย่างงามหรือเรานำมาประกอบอาหารก็ได้ ช่วยประหยัดรายจ่ายของครอบครัว และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
วิธีเลียงปูนา
ก่ออิฐเป็นอ่างสูง 4 ก้อน หรือประมาณ 80 เซนติเมตร ทำตามพื้นที่ที่เหมาะสมหรือตามความต้องการของตนเอง แล้วนำดินมาใส่หนึ่งส่วนสองของพื้นที่แล้วปลูกหญ้าตามบริเวณขอบบ่อ ให้เหมือนธรรมชาติ ภายนอก 50 % ดินให้สูงกว่าระดับน้ำ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งในบ่อให้ใส่น้ำสูงประมาณ 15 20 เซนติเมตร ตรงที่ใส่น้ำให้เจาะรูระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเสีย ตรงที่เป็นดินให้เอาไม้วางไว้เป็นโพรงเพื่อปูจะได้ขึ้นไปอาศัย
อาหารของปูนา
อาหารของปูนา คือ ข้าวสุกที่เหลือจากการรับประทาน ต้นหญ้าอ่อน ปลา กบ เขียด อาหารโปรตีนต่าง ๆ ที่พอหาได้ในพื้นที่
ระยะเวลาที่จับปูนามาเลี้ยง
ระยะเวลาที่จับปูนามาเลี้ยงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ปูจะกินอาหารอยู่ประมาณ 5 เดือน พอถึงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ปูจะทำรูอาศัย เมื่อปูเข้าอาศัยในรูแล้วปูจะไม่กินอาหาร คล้ายกับจำศีล ปูจะกินอาหารก็ต่อเมื่อฤดูฝนมาเยือนของปีต่อไป พอถึงหน้าแล้งเราก็สามารถจับปูขายได้หรือยังไม่ถึงหน้าแล้งก็ได้ เราขายได้ตามที่ตลาดต้องการ เราก็มีปูนาไว้ประกอบอาหารกินได้หลายอย่าง เช่น แกงปู น้ำพริกปู ปูทอด ปูเผา อ่อมปู ลาบปู ปูดอง ฯลฯ และเรามีปูไว้ขายได้อย่างสบาย ไม่ต้องไปหาขุดตามท้องนาให้ลำบากกายเลย ถ้าเราไม่มองข้ามสิ่งใกล้ตัวปูนาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเราเป็นอย่างดี
การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์
ขั้นตอนการเตรียมบ่อ
วิธีการเลี้ยงปูนา
การให้น้ำปูนา
การให้น้ำปูนาโดยจะใส่ในกาละมังพลาสติกวางตามจุดต่างภายในบ่อเลี้ยง อีกทั้งดินก้นบ่อจะต้องมีความชื้นอยู่เสมอเพื่อเลียนแบบธรรมชาติให้ปูนาขุดรูเป็นที่อยู่อาศัยและหลบซ่อนตัวได้ง่าย
อาหารเลี้ยงปูนา
การให้อาหารโดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดเล็กเสริมด้วยข้าวสวยหุงสุกคลุกเคล้าให้เข้ากัน หว่านประมาณ 1 กำมือในช่วงเย็นเนื่องจากปูนาจะออกหากินตอนกลางคืน และหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาดโดยต้องเก็บเศษอาหารที่ปูกินไม่หมดทิ้ง และเก็บปูที่ก้ามหลุดออกเนื่องจากจะส่งผลให้โดนปูตัวอื่นมารุมทำร้ายและตายได้ และหากทิ้งอาหารหรือปูที่ตายไว้นานๆจะเกิดกลิ่นเหม็นเน่าและมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ปูเกิดโรคได้ง่าย
ปูนาจะผสมพันธุ์กันในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม มีไข่ในท้องประมาณ 500-1,000 ฟอง …ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
ปูนาจะขุดรูเพื่อจำศีล และใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากศัตรูธรรมชาติ เมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ปูจะออกมากินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และจะผสมพันธุ์อีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝนในปีถัดไป
ปูนามีรสชาติดี มีเอกลักษณ์ กลมกลืนกับวิถีการกินของคนอีสานและคนเหนือได้อย่างแนบแน่น ปูนาจึงจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูก ที่คนอีสานสามารถจับหรือแสวงหาจากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อหา ปูนาสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด นอกจากนำไปเผา ต้ม นึ่ง ทอด แกงส้ม แกงป่า อ่อมปูนา ยำ และอุกะปู อาหารพื้นบ้านของอีสาน ก็ยังสามารถนำไปประกอบได้อีกหลายชนิด เช่น นำตำให้ละเอียดใส่แป้งและไข่ทอดเป็นแผ่นแบบทอดมัน จิ้มกับน้ำจิ้ม ถ้าเป็นปูขนาดเล็กก็ชุบแป้งทอดทั้งตัว ทางจังหวัดนครพนมนำไปปรุงเป็นลาบปู ผัดปู ส่วนจังหวัดอุดรธานี นำไปทำน้ำยาปูกินกับขนมจีน ปูนายังนำไปดองเค็ม เพื่อนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบของส้มตำ ที่เป็นอาหารหลักของคนอีสานและคนในภาคอื่น ด้วย
ที่มา :
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนอีโต้น้อย
การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ คุณจันทร์ศรี จันทร์มาก หมู่ที่3 ตำบลโหรา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
ป้ายคำ : เลี้ยงสัตว์