ปัจจุบันมดแดงจัดเป็นแมลงเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากตลาดมีความต้องการไข่มดแดงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีราคาค่อนข้าง สูง กิโลกรัมละ 200-400 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณไข่มดแดงที่ออกสู่ท้องตลาด โดยชาวบ้านจะต้องหารังมดตามป่าในช่วงฤดูแล้ง ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ราชินีมด (นางพญา)
มดแดงRed Ant, Green Tree Ant หรือ Weaver Ant จัดอยู่ในสกุลมด Oecophylla (ซึ่งแปลว่าสร้างรังด้วยใบไม้) ปัจจุบันทั่วโลกพบมดชนิดนี้เพียง 2 ชนิด ได้แก่ มดแดงแอฟริกา(Oecophylla longinoda) พบในแอฟริกา และ มดแดงส้ม (Oecophylla smaragdina) กระจายในเอเชียทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ควีนแลนด์ เกาะโซโลมอน และนิวกินี สำหรับในประเทศไทยเป็นชนิด O, smaragdina ลักษณะทั่วไปของมดมีความแตกต่างกันไปในแต่ละวรรณะ โดยมดงานมีลำตัวสีแดงหรือแดงส้ม ส่วนราชินีมด (ที่เราเรียกกันว่าเป็น แม่เป้ง) นั้นเป็นมดชนิดเดียวในโลกที่มีลำตัวสีเขียวมักจะสร้างรังบนต้นไม้โดยการประสานใบไม้หลายๆ ใบด้วยเส้นใยที่ผลิต
มดงาน
ประโยชน์ของมดแดง
วงจรชีวิตของ มดแดง
ระยะไข่ลักษณะสีขาวขุ่น วางเป็นกลุ่มภายในรัง ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญเป็นแม่เป้งหรือมดงานส่วนที่ไม่ได้รับการ ปฏิสนธิจะเจริญเป็นมดตัวผู้
มดแดง มีชีวิตอยู่ในรูปแบบสังคมคล้ายสังคมมนุษย์ นั่นคือ มันจะประกอบด้วยวรรณะราชินีวรรณะสืบพันธุ์และวรรณะกรรมกรหรือมดงาน แต่ละวรรณะมีการแบ่งหน้าที่การทำงาน ไว้อย่าง ชัดเจนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นระบบอีกด้วย การทำงานส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของมดงาน ดังนั้น ในรังหนึ่งๆ จึงจำเป็นต้องมีมดงานเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้พอเพียงในการหาอาหาร การปกป้องรัง การสร้างรัง การทำความสะอาดรัง การดูแลตัวอ่อน และการดูแลราชินีเป็นต้น มดงานจะทำงานเหมือนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะมันจะทำงานตลอดทั้งวัน ไม่มีการพัก จะเห็นได้โดยการที่มดงานเหล่านี้เดินอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
ขั้นตอนการสร้างรัง เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างตัวอ่อนกับตัวเต็มวัย คือมดงานนั่นเอง ซึ่งปกติแล้ว การสร้างรังถือเป็นหน้าที่หลักของมดงานเท่านั้น
ขั้นตอนแรก
เริ่มโดยมดงานแต่ละตัว จะพยายามช่วยกันดึงขอบใบไม้ให้เข้าหากันมากที่สุด หรือซ้อนๆ กัน ในกรณีที่ใบอยู่ใกล้ๆ กัน จะใช้กรามหรือเขี้ยวยึดที่ขอบใบ ๆ หนึ่งไว้ และจะใช้ขาช่วยในการ ดึงขอบอีกใบให้เข้ามาหา แต่ถ้าใบไม้แต่ละใบอยู่ห่างกัน ก็จะใช้วิธีการต่อตัวกันเป็นลูกโซ่โดยมดตัวแรกสุด จะเอากรามหรือเขี้ยวคาบขอบใบไว้ มดตัวต่อไป จะใช้กรามคาบเอวมด
ขั้นตอนที่สอง
มดงานตัวอื่นๆ จะไปขนหนอนระยะเกือบสุดท้าย โดยใช้กรามคาบที่กลางลำตัวของตัวหนอนจากนั้นจะเอาส่วนหัวยื่นไปข้างหน้าใกล้กับขอบใบ จากนั้นมดงานที่คาบตัวหนอน จะส่ายไปมาตามขอบใบทั้งสองใบ ขณะเดียวกันตัวหนอน ก็จะขับถ่ายเส้นใยที่ผลิตขึ้น ในบริเวณส่วนหัว เพื่อยึดใบทั้งสองไว้ด้วยกัน การสร้างรังหนึ่งๆ จะใช้ตัวหนอนมากน้อยขึ้นกับขนาดของรัง นี่ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่จะเห็นได้ว่า แม้แต่ตัวหนอนยังต้องมีการเสียสละเพื่อส่วนรวม ในการปกป้องศัตรูที่จะมาทำลายครอบครัวภายในรังของมันได้
การเลี้ยงมดแดงให้ได้ผลผลิตสูงดูเหมือนไม่ยุ่งยาก เพียงแต่คอยให้อาหารและน้ำก็พอแล้ว แต่ในสภาพความเป็นจริงยังมีขั้นตอนต่างๆ อีกหลายประการที่ผู้เลี้ยงมดแดงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตมดแดงถึงจะ ประสบความสำเร็จได้
วิธีการเลี้ยงมดแดง
การเตรียมพื้นที่
สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงมดแดง ควรเป็นที่ราบและเปิดโล่ง มีต้นไม้ขนาดเหมาะสม สูงไม่เกิน 6 เมตร เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ และเรือนยอดที่ไม่เบียดชิดหรือร่มทึบมากเกินไปจนแสงแดดส่องไม่ถึงพื้น เช่น มะม่วง ชมพู่ หว้า เงาะ ลองกอง ลำไย เป็นต้น ที่สำคัญคือควรมีแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ และกำจัดศัตรูมดแดงทำลายทางเดินของปลวกที่หุ้มลำต้น ทั้งนี้ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้อาณาจักรมดและขยายรังได้เต็มพื้นที่ในแปลงสาธิตที่ผมและทีมงานได้ชมนี้เป็นสวนมะม่วงเก่าที่เจ้าของเต็มใจให้ใช้ทดลองศึกษาการเลี้ยงมดแดง ซึ่งปลูกในสภาพสวนที่ไม่ได้ยกร่องขนาด สวนประมาณ 30-40 กว่าไร่
การนำมดแดงมาปล่อย
ในการนำมดแดงมาปล่อยเลี้ยงนั้น สามารถเสาะหามดแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่อยู่ตาม ต้นไม้ในป่าใกล้บ้าน หรือตามแหล่งที่มีตามธรรมชาติ โดยยึดขนาดรังมดแดงเป็นหลักและต้องแน่ใจว่ามีมดราชินีอยู่ด้วยธรรมชาติของมดแดงที่มาจากครอบครัวเดียวกันหรืออาณาจักรเดียวกันจะไม่กัดกัน จะทำให้เรารู้ว่า มดแดงหนึ่งอาณาจักรประกอบไปด้วยกี่รังหรือมีการใช้พื้นที่กว้างแค่ไหน สามารถกระทำได้โดย นำมดจากรังภายในต้นไม้เดียวกัน เอามารังละ 10-20 ตัว แล้วเอามาปล่อย ในรังใดรังหนึ่ง ของอีกต้นหนึ่ง แล้วเฝ้าดูว่ามดเหล่านี้กัดกันหรือไม่แล้วบันทึกผล จากนั้น นำมดแดงจากรังที่อยู่ต้นอื่น และห่างไกลกันออกไป มาไว้ในรังใดรังหนึ่ง แล้วเฝ้าดูว่ามดแดง จะกัดกันหรือไม่ ถ้ามดกัดกันแสดงว่าเป็นคนละอาณาจักร หากไม่กัดกันก็แสดงว่าเป็นมดที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกัน ตรวจนับจำนวนรังมดแดงในอาณาจักรมดแดงหนึ่งจะประกอบไปด้วยจำนวนรังกี่รังทั้งนี้ใน 1อาณาจักรควรจะมีรังมดแดง 5 รังขึ้นไปมดแดงรังเล็ก ตามธรรมชาติมดแดงจะชอบสร้างรังเล็กๆในช่วงฤดูฝนมดแดงจะสร้างรังเล็กๆ อยู่ค่อนข้างต่ำ เมื่อพบรังมดแดงดังกล่าวให้ใช้กรรไกรตัดกิ่ง ตัดรังมดแดงบรรจุลงถุง หรือกระสอบปุ๋ยมัดปากให้แน่น เพื่อไม่ให้มดแดงไต่ออก แล้วนำไปเปิดปากถุงที่โคนไม้ที่เตรียมไว้มดแดงจะไต่ขึ้นไปอาศัยบนต้นไม้ และเตรียมทำรังต่อไปมดแดงรังใหญ่มดแดงรังใหญ่มักอยู่ในที่สูง วิธีการนำรังมดแดงลงมาจากต้นไม้จึงลำบาก จึงควรใช้วิธีแหย่จะได้มดแดงมาปล่อยเลี้ยงตามต้องการแต่ต้องแน่ใจว่ามีมดราชินีอยู่ด้วย
ข้อควรระวังในเรื่องศัตรูของมดแดง มดดำทุกชนิดเป็นศัตรูโดยตรงของมดแดงหากมดฝ้ายใดพลัดหลงเข้าไปในกลุ่มของฝ่ายตรงข้าม ก็จะถูกรุมกัดจนตาย มดดำจะเก่งกล้ากว่ามดแดงมาก โดยเฉลี่ยแล้วมดดำ ตัวเดียว จะสามารถทำลายมดแดงได้ถึง 10 ตัว และมดอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า มดไฮ มดชนิดนี้บางท้องถิ่น เรียกว่า มดเอือด เป็นมดขนาดเล็กลำตัวยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร เป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุดของมดแดงอย่างยิ่ง เนื่องจากมดชนิดนี้มีเยี่ยวที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก หากมดแดงได้รับกลิ่น และถูกเยี่ยวของมันก็จะตายทันที คล้ายกับว่าได้รับแก็สพิษ มดไฮ 1 ตัว สามารถทำลายมดแดงได้ถึง 20 ตัวทีเดียว
ข้อห้ามในการเลี้ยงมดแดง คือ อย่าจุดไฟใต้ต้นไม้ หรือ การใช้ขี้เถ้าหว่านบนต้นไม้และไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่นบริเวณใกล้เคียงที่เป็นแหล่งมดแดง
การทำอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารแก่มดแดง
ใช้ไม้กระดานขนาดประมาณ 16 * 21 นิ้ว ทำเป็นแท่นให้อาหาร โดยตอกเป็นแป้นวางสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 เมตร เพื่อป้องกันศัตรูเช่น สุนัขขึ้นไปกินเศษอาหาร การให้อาหารเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ในช่วงแรกต้องให้ในปริมาณมากและค่อนข้างถี่ เพื่อช่วยเร่งให้มดงานสร้างรังขนาดใหญ่ๆ นอกจากนี้ ควรให้น้ำตาลเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้มดงานด้วย
หาภาชนะใส่น้ำให้มดแดงกินตลอดเวลา อาจเป็นขวดพลาสติกตัดครึ่ง ใช้ตะปูตอกไว้กับต้นไม้หรือวางไว้บนแปนอาหารก็ได้แล้วใส่ไม้ลงไปให้มดแดงไต่ไปกินน้ำ
ให้อาหาร เช่น เศษเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ปลา แมลงทุกชนิด หอยเชอรี่หรือหอยชนิดต่าง ๆ ก็ได้
การทำสะพานให้มดเดิน
กรณีที่ต้นไม้ที่เลี้ยงมีหลายกิ่ง ใช้เชือกโดยมัดโยงจากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่งในการหาอาหาร มดแดงจะเดินทางไปรอบๆ ที่อยู่ของมัน เพื่อหาอาหารไปป้อนตัวอ่อนตลอดจนการไปมาหาสู่กัน หรือการไปสำรวจที่ในการสร้างรังใหม่ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มดแดงเดินทางโดยสะดวก ในช่วงฤดูฝน มดแดงจะเดินทางด้วยความลำบากอย่างยิ่ง
เนื่องจากพื้นดิน เปียกแฉะและมีหญ้าขึ้นรกรุงรัง หากผู้เลี้ยงมดแดงจัดทำทางเดินให้ นอกจากการให้อาหารเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ในช่วงแรกต้องให้ในปริมาณมากและค่อนข้างถี่เพื่อช่วยเร่งให้มดงานสร้างรังขนาดใหญ่ๆ นอกจากนี้ ควรให้น้ำตาลเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้มดงานด้วยมดแดงชอบอาหารที่แห้งสนิท เช่น ปลาแห้ง จิ้งจก ตุ๊กแก งูที่ตายแล้วนำไปตากแห้งและที่ชอบเป็นพิเศษ คือ แมลงชนิดต่าง ๆ โดยจะคาบไปสะสมไว้ในรัง หากอาหารชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถจะคาบหรือลากไปเก็บไว้ในรังได้มดแดงจะช่วยกันกัดและเยี่ยวราดเอาไว้เพื่อไม่ให้เน่าเหม็นและจะรอจนกว่าอาหารนั้นแห้ง จึงจะค่อยกัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นำเอาไปเก็บไว้ในรังเพื่อป้อนตัวอ่อนและนำไปเป็นอาหาร
รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสังเกตุพบว่าในฤดูฝนมดแดงไม่ชอบเดินทางออกจากต้นไม้ที่มันสร้างรังอยู่เนื่องจากพื้นดินเปียกแฉะ ในฤดูฝนนี้มดแดงจึงหาอาหารได้ไม่เพียงพอ แต่ถ้าหากเราจัดหาที่ให้น้ำและอาหารไว้บริเวณที่มดแดงอาศัยอยู่แล้ว จะทำให้มดแดงไข่อย่างสมบูรณ์ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการเลี้ยงมดแดง
ปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงมดแดงที่เป็นวรรณะสืบพันธุ์ในผลิตไข่คือความชื้น ถ้าปีไหนฝนหยุดเร็ว อากาศแห้งแล้งมาเร็วก็จะผลิตไข่เร็วขึ้น เช่นถ้าฝนหยุดตกเดือนกันยายน ประมาณเดือน มกราคมก็จะได้ไข่ หากฝนหยุดตกในเดือนพฤศจิกายน ก็จะได้ไข่เดือน กุมภาพันธุ์เป็นต้น รวมเวลาในการเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน
การแหย่ไข่มดแดง
ใช้ตะกร้าผูกติดปลายไม้ไผ่แหย่เข้าไปในรังแล้วเขย่า มดแดงและไข่จะร่วงลงไปในตะกร้า
การแยกไข่มดแดง
นำตะกร้ามดแดงพร้อมไข่เทลงในกระด้ง โรยด้วยแป้งมันสำปะหลัง เกลี่ยให้กระจายมดแดงจะทิ้งไข่ไต่ออกจากกระด้ง เหลือแต่ไข่เท่านั้น
เมื่อ แหย่ไข่มดแดงแล้ว จะได้ทั้งไข่และมดแดงรวมกัน ในกระจาด หรือกระด้ง โรยด้วยแป้งมันสำปะหลัง เกลี่ยให้กระจายออกออก มดแดงจะไต่ออกไปจากไข่ทันทีโดยที่ไม่คาบเอาไข่ไปด้วย ควรนำกระจาดหรือกระด้ง1 วางชิดกับโคนต้นไม้ที่ต้องการเลี้ยงมดแดงด้วย มดแดงจะขึ้นไปอาศัยอยู่บนต้นไม้และเตรียมสร้างรังต่อไป คงเหลือแต่ไข่มดแดงเท่านั้น และควรปล่อยแม่มดแดง (แม่เป้ง) ให้หมด ไม่ควรนำมาคั่วกิน
การเก็บไข่มดแดงส่วนใหญ่ใช้เวลา 10-15 วันต่อครั้ง จึงจะสามารถกลับมาเก็บได้อีก ผลผลิตที่ได้คือ ตัวหนอนและดักแด้ ซึ่งชาวบ้านเรียกรวมๆ ว่า ไข่มดแดง เราจะพบเห็นตามท้องตลาดเป็นประจำ ทุกปีในช่วงฤดูร้อน และจะมีเพียงช่วงเดียวเท่านั้นไข่มดแดงเป็นเมนูจานเด็ดอย่างหนึ่งในตำรับอาหารอีสาน อาทิ ก้อยไข่มดแดง ยำไข่มดแดง ไข่เจียงใส่ไข่มดแดง แกงขี้เหล็กใส่ไข่มดแดง เป็นต้น ไข่มดแดงนั้นชาวอีสานชอบกันมาก สนนราคาซื้อขายนับว่าค่อนข้างแพงแค่ 2 – 3 หยิบมือ ก็ตกประมาณ 10 – 20 บาท โดยที่ไข่มดแดง 1 รังอาจกระทุ้งนำไข่มาขายได้ไม่น้อยกว่า 50 บาททีเดียว
การนำไข่มดแดงไปจำหน่าย ควรจัดเตรียมวัสดุที่ใช้ห่อด้วย ที่นิยมมาก ในท้องถิ่น คือการห่อด้วยใบตอง กาบกล้วย และใบตองที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ตองกุง เป็นต้น เพื่อป้องกันไข่มดแดงไม่ให้เน่าเสียหาย เพราะไข่มดแดงเป็นผลผลิตที่เน่าเสียหายเร็ว ฉะนั้น เมื่อเก็บผลผลิตมาแล้ว ควรนำไปจำหน่ายโดยเร็ว ถ้าจำหน่ายไม่หมด ให้รีบนำไปเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่นเก็บไว้ในตู้เย็น เป็นต้น
จากแนวคิดที่นำความรู้เรื่องมดแดงมาต่อยอดให้เกษตรกรที่สนใจเลี้ยงมดแดงเพื่อเพิ่มรายได้ นับว่าเป็นโครงการวิจัยเพิ่มผลผลิตไข่มดแดงในเชิงพาณิชย์ ที่รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะปกติแล้วชาวบ้านแหย่รังไข่มดแดงในป่าได้ประมาณ 2-3 ขีดต่อรัง แต่จากการทำวิจัยที่ผ่านมานั้นพบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตไข่มดแดงได้เฉลี่ย 1-2 กิโลกรัมต่อรังเลยที่เดียว โดยใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าตลอดทั้งฤดูกาล และชาวบ้านไม่ต้องทิ้งชนบทเข้าเมืองไปใช้แรงงานในช่วงหน้าแล้งอีกด้วย
การเลี้ยงมดแดงในสวนมะม่วง: พนม เกิดแสง , สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงมดแดงติดต่อได้ที่
รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษศาสตร์โทร. 0-2579-0176.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลาดยาว จตุจักร กทม.
10900 โทร 02-5792294 และ 02-9428460 ต่อ 345 หรือ
http://www.eto.ku.ac.th/media/index.html
การเลี้ยงมดแดงในสวนมะม่วง: พนม เกิดแสง , สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ป้ายคำ : เลี้ยงสัตว์