การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

15 พฤศจิกายน 2558 สัตว์ 0

ไก่พื้นเมืองอยู่คู่กับประเทศไทยมานาน และธรรมชาติของไก่พื้นเมืองก็มีความแข็งแรงในตัวเองอยู่แล้ว เหมาะสมกับภูมิอากาศและอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในบ้านเรามากกว่าไก่ชนิดอื่นๆ และเกษตรกรในชนบทส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ห่างไกลจากเทคโนโลยี ขณะที่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่มากนัก ดังนั้นการเลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรดำรงอยู่ได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ไก่พื้นเมืองจึงเป็นทั้งอาหารและการละเล่น เช่น การชนไก่ ในภาคต่าง ๆ จะมีไก่ประจำถิ่นซึ่งมีลักษณะสีสันที่แตกต่างกันไป ไก่พื้นเมืองของไทยเช่น ไก่ประดู่ ไก่เหลืองหางขาว ไก่นกแดง ไก่ชี และอื่น ๆ

หลักการเลี้ยงดูไก่พื้นเมืองให้ปลอดโรค โดยวิธีธรรมชาติ

  1. จัดเตรียมสถานที่เลี้ยงไก่ให้เหมาะสม เพราะสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงไก่ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งสถานที่เลี้ยงไก่ควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
    – เป็นที่เนิน สามารถระบายน้ำได้ดี เพราะเมื่อถึงฤดูฝนหรือช่วงฝนตกจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง
    – ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณสถานที่เลี้ยงไก่ เพื่อกำบังแสงแดดในตอนกลางวันและตอนบ่าย เช่น กล้วย ไผ่ เป็นต้น จะช่วยให้ไก่ไม่เครียด ไก่เจริญเติบโตดี
    – สถานที่เลี้ยงไก่ต้องไม่ไกลจากบ้านพักของผู้ที่เลี้ยงมากนัก เพื่อความสะดวกในการดูแลหากบริเวณใกล้เคียงกันเป็นที่นาก็จะดีมาก เนื่องจากเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวที่ตกหล่นถือเป็นอาหารชั้นดีของไก่พื้นเมือง
  2. มีโรงเรือนที่สะอาด โล่ง อากาศถ่ายได้เทสะดวก และสามารถกันแดดกันฝนได้
  3. ภายในบริเวณเลี้ยงไก่ ต้องมีรางน้ำสะอาดและรางอาหารให้กินอย่างเพียงพอ โดยการแยกรางน้ำและรางอาหารออกจากกัน ไม่ควรใช้รางเดียวใส่ทั้งน้ำและอาหาร
    – รางน้ำและรางอาหาร ควรล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนใหม่ทุกวัน และ ในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ควรให้ฟ้าทะลายโจรแห้งบดละเอียดหรือต้นสดๆ โดยใส่เพียงเล็กน้อยในรางน้ำให้ไก่กินเพื่อป้องกันโรค เช่น โรคหวัด โรคอุจจาระขาว หรือจะนำฟ้าทะลายโจรตากแห้งแล้วบดให้ละเอียดผสมในอาหารไก่ อัตรา 1:100 จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค ช่วยให้ไก่ไม่เครียด กินอาหารได้ดีขึ้น และเจริญเติบโตเร็ว

kaipernmaungs

โรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมืองทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ไก่อยู่ในโรงเรือนตลอด, แบบที่ 2 โรงเรือนกึ่งขัง-กึ่งปล่อยในขอบเขตที่กำหนด และแบบที่ 3 โรงเรือนกึ่งขัง-กึ่งปล่อยในขอบเขตที่กำหนดและมีตาข่ายคลุมโรงเรือนทั้งหมด ซึ่งนักวิจัยพบว่าแบบที่ 2 เหมาะสมที่สุด

การสร้างโรงเรือน

  1. โรงเรือนหรือเล้าไก่ ควรสร้างในพื้นที่สูงกว่ระดับพื้นปกติเพื่อป้องกันน้ำขังฝาไม่ควรปิดจนมืดควรให้มีช่องทำให้ลมพัดผ่านเพื่อป้องกันความอับชื้นแต่ต้องกันฝนสาดได้พื้นเล้าไก่ควรโรยด้วยแกลบหรือขี้เลื่อย ควรหาไก่พาดเพื่อให้ไก่ได้จับเวลาตอนกลางคืนและเพื่อป้องกันจำพวกงูมากัดไก่ ส่วนขนาดนั้นดูตามปริมาณไก่ที่จะเลี้ยง เช่น เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ ประมาณ 30-40 ตัว
  2. พื้นเล้ากลางแจ้ง ควรสร้างเล้ากลางแจ้งไว้ด้วย คือ มีแค่หลังคาหรือปลูกต่อเล้าก็ได้ เพื่อเป็นที่หลบแดด ฝน และควรมีสุ่มไก่ไว้คอยขังลูกไก่ที่เกิดใหม่
  3. รางน้ำ จะใช้แบบสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดหรือทำเอาเองได้ เช่น รางไม้ไผ่ผ่าครึ่งก็ได้หรือจำพวกอ่างน้ำเก่า แต่อย่าใส่น้ำมากนักเพื่อป้องกันลูกไก่ตกน้ำตาย
  4. รางอาหาร การให้อาหารไก่กินบนดินก็ได้แต่จะเสี่ยงการติดเชื้อโรคได้ แนะนำให้ใช้ภาชนะรองอาหาร อาจเป็นจำพวกกะละมังก็ได้ หรือล้อรถยนต์ผ่าครึ่ง นอกจากนั้นควรหาจำพวกก้อนกรวดเล็กๆเพื่อสร้างสร้างกระดูกไก่ให้แข็งแรง
  5. รังไข่ ใช้จำพวกตะกร้า กล่องกระดาษหรือไม่ก็ได้ ส่วนวัสดุรองใช้ฟางข้า กระสอบป่าน เทคนิคสำคัญควรเอาจำพวกยาสูบเส้นที่กลิ่นฉุนๆหรือใบตะใคร้ใส่ในรังไข่ด้วยเพื่อป้องกันจำพวกตัวไรที่จะมาก่อกวนแม่ไก่
  6. ที่กันฝน ก็ใช้ผ้าใบ กระสอบหรือเสื่อเก่าๆห้อยทิ้งไว้โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่
  7. คอนไก่นอน ควรจะพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของเล้า คอนนอนควรเป็นไม้กลมดีกว่าไม้เหลี่ยมซึ่งไก่จะจับคอนนอนได้ดี และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่หน้าอกไก่และสัตว์มีพิษโดยเฉพาะพวกงูเห่าอีกด้วย

kaipernmaunglao kaipernmaunglaos

การฟักไข่ไก่พื้นเมือง
ปกติแล้วแม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่ เมืออายุประมาณ 6-8 เดือน จะไข่เป็นชุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ปีละ 4 ชุด ชุดละ 8-12 ฟอง แม่ไก่พื้นเมืองเมื่อไข่หมดชุดแล้วจะเริ่มฟักไข่
ก่อนที่แม่ไก่พื้นเมืองจะฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาเสียก่อน โดยจับแม่ไก่พื้นเมืองจุ่มน้ำยาฆ่าไรและเหา เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนในยามฟักไข่การฟักไข่นั้นแม่ไก่พื้นเมืองจะกกไข่ตลอดคือ และออกหาอาหารกินในตอนเช้า ตอนกลางวันแม่ไก่พื้นเมืองจะขึ้นกกไข่วันละ 2 ชั่วโมง แล้วออกจากรังไปหากินอาหารสลับกันอยู่อย่างนี้ เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองกกไข่ได้ประมาณ 5-7 วัน ควรเอาไข่มาส่องดูเชื้อ โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นรูปกระบอก เอาไข่ไก่พื้นเมืองมาชิดที่ปลายท่อด้านหนึ่ง แล้วยกขึ้นส่องดูกับแสงแดดหรือส่องกับหลอดไฟนีออนก็ได้ ไข่ที่มีเชื้อจะเห็นเป็นจุดสีดำอยู่ข้างในและมีเส้นเลือดสีแดงกระจายออกไป ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อจะใสมองไม่เห็นเส้นเลือด ต้องคัดออกและนำไปเป็นอาหารได้ (โดยการต้ม) การคัดไข่ที่ไม่มีเชื้อออกจะเป็นการช่วยให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ที่มีเชื้อได้ดีขึ้นและได้ลูกไก่พื้นเมืองมากขึ้น การส่องไข่เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ได้ 5-7 วันแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรส่องเมื่อฟักไข่ได้ 14 และ 18 วันอีกครั้ง เพื่อคัดไข่เชื้อตายหลังจากฟักการส่องครั้งแรกออกมา
ในการฟักไข่นั้น แม่ไก่พื้นเมืองจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน เมื่อลูกไก่พื้นเมืองฟักออกหมดแล้ว ควรเอาวัสดุที่รองรังไข่รวมทั้งเปลือกไข่เผาทิ้งเสีย และทำความสะอาดรังไข่ไว้สำหรับให้แม่ไก่พื้นเมืองไข่อีกต่อไป

การเลี้ยงและการดูแลลูกไก่พื้นเมือง
เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
เมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดยธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่งต่อไป
ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 1/2 -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค

kaipernmaungsa

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่
การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่ มีการจัดการง่าย ๆ แต่ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตว่าถ้าแม่ไก่พื้นเมืองไข่ดก แม่ไก่พื้นเมืองจะชอบไข่ในตอนเช้า พอรุ่งเช้าขึ้นก็จะไข่อีก 1 ฟอง ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเก็บไข่ฟองเก่าออก และให้เก็บทุก ๆ วันที่แม่ไก่พื้นเมืองไข่ โดยให้เหลืออยู่ในรังเพียงฟองเดียว แม่ไก่พื้นเมืองก็จะไข่ไปเรื่อย ๆ
ถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตเห็นว่า แม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มฟักไข่กล่าวคือจะกิจอาหารน้อยลงเพื่อบังคับตัวเองไม่ให้ไข่ต่อไป จะต้องรีบแยกแม่ไก่พื้นเมืองมาขังไว้ต่างหาก ซึ่งผู้ที่เลี้ยงไก่ควรมีที่ไว้สำหรับขังแม่ไก่พื้นเมืองไม่ให้ฟักไข่ได้ หลังจากนั้น หาอาหารที่มีโปรตีน เช่น รำ ปลายข้าว และปลายป่น หรือถ้าหาอาหารไก่ไข่ให้กินได้จะดีมาก แล้วเอาไก่พื้นเมืองตัวผู้เข้าไปขังรวมไว้ด้วยประมาณ 4-5 วัน แม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่อีก ซึ่งผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะได้ไข่ไก่พื้นเมืองตลอดเวลาและเป็นวิธีการเลี้ยงเพื่อกินไข่โดยเฉพาะ แต่ถ้าเลี้ยงไก่พื้นเมืองโดยที่ผู้เลี้ยงลืมปล่อยให้แม่ไก่พื้นเมืองเริ่มฟักไข่ไปได้ประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงแยกแม่ไก่พื้นเมืองออก จะต้องเสียเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ แม่ไก่พื้นเมืองจึงจะเริ่มไข่ใหม่

การให้อาหาร ให้ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติกินปลวก จะทำให้ไก่แข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว และต้านทานต่อโรคได้ดี ซึ่งการเลี้ยงปลวก มีวิธีการไม่ยุ่งยาก ดังนี้

การเลี้ยงปลวกเพื่อเป็นอาหารไก่
วิธีการ

  • ขุดหลุมลึกประมาณ 10-15 ซม. ในบริเวณเลี้ยงไก่
  • นำเศษไม้หรือท่อนไม้ ไปฝังไว้ตามจุดต่างๆ โดยให้ทำใต้ร่มไม้ หรือบริเวณที่ดินร่วนซุย จากนั้นกลบดินให้ท่วมท่อนไม้ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน จะเริ่มเกิดปลวก จากนั้นให้ดึงไม้โผล่ขึ้นจากพื้นดิน 1 ใน 3 ส่วน ไก่จะคุ้ยเขี่ย จิกกินปลวกเองตามธรรมชาติ โดยลูกไก่จะเรียนรู้วิธีหากินจากแม่ และไก่ทุกตัวจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้เราไม่ให้อาหารเลยไก่ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย

ถ้าช่วงไหนที่ไม่มีปลวก หรืออาหารธรรมชาติขาดแคลน จะให้อาหารสุกรขุนหรือข้าวเปลือก ในช่วงเช้าและช่วงเย็น เพียงเท่านี้ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงก็จะได้รับอาหารอย่างเพียงพอ สุขภาพดี ห่างไกลจากโรค

วัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงและสูตรอาหารไก่พื้นเมือง
อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถาน นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น ฯลฯ
โดยหลักการแล้ว ไก่พื้นเมืองต้องการอา หารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้

  1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8 กิโลกรัม
  2. รำรวม 8 กิโลกรัม
  3. ปลายข้าว 10 กิโลกรัม

สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง
แรกเกิด จนถึงอายุ 2 เดือน สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป

  1. รำรวม 38 กิโลกรัม
  2. ปลายข้าว 60 กิโลกรัม
  3. เปลือกหอยป่น 2 กิโลกรัม

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น