กุยช่ายเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับหอม และกระเทียม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้นานประมาณ 3 ปี เมื่อนำไปปรุงอาหารจะมีคุณสมบัติทางยา เนื่องจากมีสารแคโรทีนและวิตามินซีสูง มีสรรพคุณเป็นยาประสานน้ำนม เมล็ดใช้ทำยาขับพยาธิเส้นด้าย ใบนำไปทำขนมกุยช่าย ใส่ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ดอกนำไปผัด มีรสชาติเป็นที่นิยม
ลักษณะ
กุยช่าย เป็นพืชผักที่ปลูกแล้วสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นเวลานานถึง 3 ปี หากมีการดูแลรักษาที่ดี การปลูกกุยช่ายควรเป็นดินที่ดี มีน้ำสมบูรณ์ ในฤดูฝนน้ำไม่ท่วมขัง เพราะจะทำให้กุยช่ายรากเน่าได้รับความเสียหายได้ สภาพดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือปนดินเหนียว ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุที่สูง สภาพความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระดับค่อนข้างเป็นกลาง ไม่ควรมีวัชพืชพวกหญ้าแห้วหมูในปริมาณที่มาก เพราะจะทำให้เกิดปัญหาการแย่งอาหารของพืชได้
การปลูกกุยช่าย
การเตรียมกล้า : การปลูกกุยช่ายควรมีการไถดินตากให้นานๆ ไม่ต่ำกว่า 15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ปูนขาว จากนั้นย่อยพรวนดิน แล้วใช้ฟางข้าวคลุม รดน้ำให้ชุ่ม แล้วหว่านเมล็ดลงแปลงบางๆ โรยฟางข้าวทับรดน้ำให้ชุ่ม จนกล้าอายุ 55-60 วัน ก็นำกล้าไปปลูกลงแปลงปลูกได้
การย้ายปลูกลงแปลง : เมื่อได้กล้าแล้วรดน้ำแปลงที่จะปลูกให้ชุ่ม นำกล้าลงปลูกใช้ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร หลุมละ 3-4 ต้น รดน้ำให้ชุ่ม กุยช่ายจะอยู่ได้ 3-4 ปี แล้วแยกกอปลูกแปลงใหม่ได้ จากนั้นควรให้ปุ๋ยบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่หลังปลูก 7 วัน และ 30 วัน และ ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
การให้ปุ๋ย : หลังจากปลูกกุยช่ายแล้ว ควรมีการใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 2-3 ตัน ต่อไร่ ทุกปี ส่วนปุ๋ยที่เหมาะสม โดยแบ่งใส่ทุกรอบที่ตัดใบไปจำหน่าย เพื่อเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของใบใหม่ขึ้นมาทดแทนใบที่ถูกตัดไปควรมีการให้ปุ๋ยทางใบเสริม โดยเฉพาะพวกน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นกุยช่าย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
การให้น้ำ : รดน้ำสม่ำเสมอเช้า-เย็น
ศัตรูพืช : กุยช่าย เป็นพืชผักที่มีแมลงหรือโรคเข้าทำลายน้อยกว่าพืชผักชนิดอื่น ๆ หากมีการดูแลรักษาโดยการให้น้ำ ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชที่ดีแล้ว จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถตัดใบออกจำหน่ายได้ภายในระยะเวลา 3-5 เดือน ผลผลิตของใบกุยช่ายจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินด้วยเช่นกัน
การผลิตกุยช่ายขาว
กุยช่ายขาวจะมีลักษณะกรอบและหวานมากกว่ากุยช่ายเขียว จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และมีราคาสูงกว่ากุยช่ายเขียว 3-4 เท่าตัว จึงสามารถทำรายได้ให้เกษตรกรได้ค่อนข้างดี แต่ต้องมีการจัดการบางประการเพื่อให้ต้นกุยช่ายเปลี่ยนสีใบจากเขียวเป็นขาว ซึ่งมีกรรมวิธีดังนี้
วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกุยช่ายขาว :
วิธีการผลิตกุยช่ายขาว
ประโยชน์ของกุยช่ายขาว
แหล่งอ้างอิง :
คุณเดชา หันชะนา
ที่อยู่ : 215 หมู่ที่2 ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน