กุยช่ายเป็นพืชวงศ์เดียวกับหอมและกระเทียม ในท้องตลาดมีกุยช่าย 3 ชนิด ได้แก่ กุยช่ายเขียว กุยจ่ายขาว และดอกกุยช่าย ซึ่งแท้จริงเป็นกุยช่ายพันธุ์เดียวกัน โดยความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก หากปลูกให้ได้รับแสงแดดปกติ ใบกุยช่ายจะมีสีเขียวเข้มได้ผลผลิตเป็นกุยช่ายเขียว เมื่อผ่านเทคนิควิธีปลูกไม่ให้โดนแสงโดยใช้ภาชนะอย่างกระถางดินเผาหรือกระบอกไม้ไผ่ครอบ ใบกุยช่ายจะสีซีดจนขาว ใบอวบและหวานกรอบกว่ากุยช่ายเขียว และเมื่อปลูกตามวิธีปกติให้โตจนออกดอก ก็จะได้ดอกกุยช่ายมาเป็นอาหาร
ชื่อสามัญ : Chinese Chives
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottl. ex Spreng.
วงศ์ : LILIACEAE (ALLIACEAE)
ชื่อพื้นเมือง : กุยช่าย (กรุงเทพฯ)
ลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ
วิธีปลูก
สามารถปลูกได้โดยแยกลำต้นบางส่วน ออกจากกอเดิมมาปลูกใหม่ ซึ่งหากได้รับน้ำอย่างชุ่มฉ่ำสม่ำเสมอจะแตกกองามสะพรั่ง หรืออาจจะใช้วิธีเพาะเมล็ด ซึ่งใช้เวลในการเป้นต้นกล้าประมาณ 60 วัน
ขั้นตอนการปลูกกุยช่าย
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาต้นกุยช่ายให้แข็งแรงนั้น เกษตรกรควรหมั่นรดน้ำทุก ๆ วัน เช้า – เย็น ใช้บัวรดน้ำที่มีรูขนาดเล็ก ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยาง และควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำขี้อ้อยและปุ๋ยขี้ไก่มาผสมใส่ลงในแปลงเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้กุยช่ายเติบโตเร็ว สมบูรณ์ และหลังจากเก็บกุยช่ายแล้ว ควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด และบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป
การประกอบอาหาร
ดอกใช้ผัดกับกุ้ง หมู หรือตับหมู ส่วนใบใช้ผัดกับก๋วยเตี๋ยวผัดไท ไส้ขนมกุยช่าย ขนมผักกาด และเป็นผักเครื่องเคียงกับหมี่กะทิ
สรรพคุณ
การกระจายพันธุ์
เอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ในไต้หวันมีปลูก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่วไป และพันธุ์ใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม
ประโยชน์
ในเอเชียตะวันออกใช้ทุกส่วนของต้นประกอบเป็นอาหารกันแพร่หลาย เมล็ดใช้เป็นสมุนไพรประกอบยารักษาโรคกระเพาะอาหารและแก้ท้องเสีย
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน