กุหลาบมอญเป็นไม้ดอกที่มีดอกสายงามตลอดปี มีดอกหอม ใช้กลีบดอกแต่งกลิ่นอาหาร สกัดน้ำมันหอมระเหย ทำดอกไม้ประดิษฐ์และบุหงา ต้นกุหลาบมอญ หรือ ต้นยี่สุ่น เป็นกุหลาบพันธุ์พื้นเมืองของหงสาวดี (เมืองของชาวมอญในอดีต) โดยเป็นดอกไม้ที่ทรงโปรดของสมเด็จพระนเรศวน พระองค์ทรงนำกลับมาปลูกหลังจากเสร็จสงครามที่เมืองมอญ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rosa x Damascena Mill
วงศ์ : Rosaceae
ชื่อสามัญ : Summer Damask Rose
ชื่ออื่น ๆ : กุหลาบมอญ ยี่สุ่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กุหลาบมอญเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อดอกสีชมพูหรือสีแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง อยู่รวมเป็นกระจุก 3-5 ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้นเมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-7 ซม. มีกลิ่นหอมแรงมากดอกดกและบานได้หลายวัน ออกดอกตลอดปี
กุหลาบมอญจัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแค่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ มีหนามแหลมตามกิ่งและตามลำต้น ปกติมีหนามมากและมีความยาวไม่เท่ากัน มีลักษณะตรงถึงโค้งเล็กน้อย หนามอ่อนเป็นสีน้ำตาลแกมสีแดง ส่วนหนามแก่เป็นสีเทา ต้นกุหลาบมอญเป็นไม้ดอกกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งกลางแข้งและในดินร่วนซุยที่มีธาตุอาหารเพียงพอและระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง และวิธีการตอนกิ่งซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากออกรากได้ง่าย
การขยายพันธุ์
การปลูกและการดูแลรักษา
เริ่มจากการคัดเลือกกุหลาบมอญสายพันธุ์ท้องถิ่นที่มีกลิ่นหอมและเหมาะแก่การนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชากุหลาบ และน้ำมันหอมระเหย โดยปีแรกๆ ที่ปลูกมีปัญหาแมลงกินใบ ก็คือด้วง จึงตัดสินใจกำจัดด้วงด้วยวิถีอินทรีย์ ทั้งตัวอ่อนและไข่หมดภายในเวลาไม่ช้า ด้วยการปลูกหัวไชเท้ารอบๆ หลังจากที่แมลงได้กินอาหารก็จะไม่มากินกุหลาบ ทำให้เข้าใจว่าแท้จริงแล้ว หลักการอินทรีย์คือการรักษาสมดุลให้ธรรมชาติ
สำหรับการดูแลรักษาต้นกุหลาบมอญนั้น ไม่ยากเพียงแต่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เน้นการใช้ดินที่ดี ซึ่งถ้าดูแลดีๆ กุหลาบจะอยู่ได้นานอย่างน้อย 5 ปี อาจจะถึง 10 ปีด้วยซ้ำ ส่วนการเก็บดอกจะนิยมเก็บในตอนเช้าประมาณ 05.00 น. เนื่องจากกุหลาบจะมีกลิ่นหอมที่สุด โดยที่สามพรานใช้คนสวน 8 คนเด็ดกันประมาณ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ 05.00-08.00 น. ซึ่งจะกุหลาบเฉลี่ยวันละ 20 กิโลกรัม
ที่มา
ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ป้ายคำ : ไม้ดอก