ขี้เลื่อย อินทรีย์วัตถุชั้นเยี่ยม

8 ธันวาคม 2558 วิชาเกษตรพึ่งตน 0

ขี้เลื่อยเป็นผลพลอยได้จากการเลื่อยไม้ มีลักษณะเป็นผงไม้ละเอียด เป็นของเสียในโรงงานที่เป็นพิษ โดยเฉพาะการทำให้เกิดอาการอักเสบ แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายประการ

ขี้เลื่อยมีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบจำนวนมาก (เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน) ที่มีหมู่โพลีฟีนอลซึ่งสามารถจับกับโลหะหนักได้ด้วยกลไกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ขี้เลื่อยจากต้นพอบลาร์และต้นเฟอร์ที่ทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมคาร์บอเนต ดูดซับทองแดงและสังกะสีได้ดี ขี้เลื่อยจากต้นมะพร้าวที่ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกดูดซับนิกเกิลและปรอทได้

keereoitag

คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

  • pH 4.2-6 มีความแปรปรวนมากขึ้นอยู่กับชนิดของไม้และอายุของขี้เลื่อย
  • คุณสมบัติในการอุ้มน้ำดีมาก จนอาจมากเกินไปจนมีปัญหาเกี่ยวกับการระบายอากาศ
  • คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุมีค่าสูงเมื่อขี้เลื่อยผ่านขบวนการสลายตัว
  • ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้งต่ำ
  • ความพรุนสูง
  • ความคงทนของโครงสร้าง สามารถสลายตัวได้

keereoigong

ผลิตปุ๋ยหมักขี้เลื่อย
ศูนย์บริการและถ่ายทอดฯได้เข้าไปศึกษาการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ ขนาดกองกว้าง 2.5 เมตร ยาว 3.5 เมตร สูง 1 เมตร โดยใช้วัสดุดิบทำปุ๋ยได้แก่ขี้เลื่อยร่วมกับมูลโค โดยใช้อัตราส่วนมูลสัตว์ เพิ่มขึ้นจากที่เคยทำ

กองที่ 1
วัสดุ
1. มูลสัตว์ 1 ส่วน
2. ขี้เลื่อย 2 ส่วน
การย่อยสลาย ประมาณ 80 วัน

กองที่ 2
วัสดุ
1. มูลสัตว์ 1 ส่วน
2. ขี้เลื่อย 1 ส่วน
การย่อยสลาย ประมาณ 50 วัน

ผลการย่อยสลายของวัสดุขี้เลื่อยในกองปุ๋ยหมักแบบที่ 1 ใช้เวลานานกว่ากองปุ๋ยแบบที่ 2 เนื่องจากสัดส่วนของมูลสัตว์ในกองที่ 2 มีมากกว่ากองที่ 1 ทำให้การย่อยสลายได้ดีกว่า

การส่งเสริมให้เกษตรมีการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้นำแนวคิดการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้อย่างเหมาะสม เช่นการผลิตและใช้ปุ๋ยหมัก จะช่วยลดต้นทุนการผลิต บำรุงดินพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและที่สำคัญจะนำไปสู่ ระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน สร้างโอกาสทางการตลาดเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

keereois

ข้อจำกัดของขี้เลื่อย คือการสลายตัวช้า เนื่องจากขี้เลื่อยมีอัตราส่วนของสารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจนกว้างมากประมาณ 200-300 ดังนั้นแนวทางที่จะทำให้เกษตรกรมีความสนใจมาผลิตปุ๋ยหมักจากขี้เลื่อยได้แก่

  • มีวิธีทำให้ขี้เลื่อยสลายตัวเร็ว เช่นเก็บขี้เลื่อยไว้ข้ามปีก่อนนำมาทำปุ๋ยหมัก
  • เพิ่มปริมาณมูลสัตว์ให้มีจำนวนใกล้เคียงกับขี้เลื่อยในกองปุ๋ยหมัก
  • เติมเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 และกากน้ำตาลในการผลิตปุ๋ยหมัก
  • ปรับปรุงปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยผสมสารธรรมชาติอย่างเหมาะสม
  • ขี้เลื่อยเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมีราคาถูก สะดวกที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยหมัก

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น

KetoSex - Xnxx Arab-xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene