ขี้แดดนาเกลือ ปุ๋ยชั้นดี

20 กรกฏาคม 2557 ดิน 0

ขี้แดดนาเกลือ คือ สาหร่ายและตะใคร่น้ำที่จับตัวกันเป็นแผ่นในนาเกลือ และตกตะกอนแห้งสนิทในนาเกลือ หลังพักการทำนาเกลือในฤดูฝน ขี้แดดนาเกลือชาวนาเกลือเรียกว่า ดินหนังหมา ชาวนาเกลือจะเก็บขี้แดดปีละครั้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปีก่อนบดนาทำนาเกลือ ขี้แดดนาเกลือเกิดจาก การทำนาเกลือในช่วงปลายฤดูฝนก่อนการทำนาเกลือของปีถัดไปขี้แดดนาเกลือเกิดจากสาหร่าย ตะไคร่น้ำ และจุลินทรีย์เล็กๆ ในน้ำ ในอันนนาเกลือ หลังจากหมดฤดูฝนน้ำในนาเกลือจะแห้ง สาหร่าย ตะไคร่น้ำ และจุลินทรีย์เล็กๆ เหล่านั้นจะหมดตัวในนาเกลือ และแห้งเป็นแผ่นตกสะเก็ดในอันนาเกลือ เรียกว่า ขี้แดดนาเกลือ หรือ ดินหนังหมา

keedadnakearsodkeedadnakear

คุณสมบัติของขี้แดดนาเกลือแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

  1. คุณสมบัติทางกายภาพ จากการสังเกตรูปร่างภายนอก ขี้แดดนาเกลือจะเป็นแผ่นบางๆ หนาประมาณ 2-5 มิลลิเมตร มีสีดำอมน้ำตาล ขนาดแผ่นขว้างยาว 2-3 นิ้ว เมื่อแห้งสนิทถ้าใช้มือบีบจะกรอบ และหักง่าย เมื่อนำไปแช่น้ำจะอุ้มน้ำได้ดี ถ้าเป็นขี้แดดนาเกลือใหม่ๆ จะมีรสเค็มเล็กน้อย ถ้าเป็นขี้แดดค้างปีรสเค็มหรือหายไป เกษตรกรจึงนำไปทำดินใส่ต้นไม้ เมื่อนำขี้แดดนาเกลือไปบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปใส่ต้นไม้ จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุยขึ้น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชผลการเกษตร
  2. คุณสมบัติทางชีวภาพ ขี้แดดนาเกลือ เกิดจากสาหร่ายตะไคร่น้ำ และจุนทรีย์เล็กๆ ในน้ำ จืด และกร่อยในนาเกลือเมื่อถูกแสงแดดจะแห้งเป็นแผ่นบางๆ ถ้านำไปแช่น้ำจะมีกลิ่นเหม็นเพราะเกิดการเน่า มีกลิ่นเหม็นคล้ายสุนัขตาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า ดินหนังหมา เพราะจะมีส่วนประกอบของดินนาเกลือเค็มติดไปด้วยทั้งนี้เกิดจากการหมักของสาหร่ายตะไคร่น้ำที่ยังมีชีวิต และความเค็มทำให้เกิดการเน่าเหม็น ขี้แดดนาเกลือใหม่ๆ จะไม่เหมาะแก่การนำเอาไปทำปุ๋ยหรือดินปลูกต้นไม้ หรือถ้าจะนำไปใช้ก็ต้องใช้แต่น้อย หรือใช้กับดินจืด การใช้ในปริมาณพอสมควร แต่ให้เริ่มจาการใช้น้อยๆ ไปก่อนแล้วสังเกตดูความต้องการของต้นไม้ ถ้าไม่มีปัญหาก็เพิ่มตามตัวเหมาะสมได้
  3. คุณภาพทางสารเคมี สำหรับการค้นหาคุณภาพทางเคมี ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้นำขี้แดดนาเกลือส่งให้ภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร ดำเนินการวิเคราะห์ให้โดย

การใช้ประโยชน์จากขี้แดดนาเกลือ

  • ใช้ขี้แดดนาเกลือในการปลูกกระเพา และโหรพา งามดี
  • ใช้ขี้แดดนาเกลือในการเลี้ยงนก ให้ไก่ชนกินหรือไก่พื้นบ้านกินทำให้ไก่ไม่จิกกันเองและไก่ก็โตดี
  • ใช้ขี้แดดนาเกลือกับการปลูกแตงโม และแตงไทย เนื้อแตงโมจะแดงสด และรสชาติหวานจัดแตงไทยจะมี
  • เนื้อดี หอมหวาน และเนื้อเป็นปุยดีมาก
  • ใช้ขี้แดดนาเกลือเป็นปุ๋ยเพิ่มความหวานแก่ส้มโอขาวใหญ่

ผศ.ดร.ณรงค์ ฉิมพาลี เป็นผู้วิเคราะห์ ได้ผลวิเคราะห์ออกมาว่า การใช้ประโยชน์จากขี้แดดนาเกลือ จากการศึกษาและวิจัยของคณะผู้วิจัย พบว่า มีชาวนาเกลือนำเมล็ด

แตงโม แตงไทย โยนทิ้งไว้ในกองขี้แดดนาเกลือ ปรากฏว่า เมล็ดแตงโมและแตงไทยแตกยอดออกช่อ เจริญงอกงามเติบโต และติดดอกผลได้ดี ที่สำคัญคุณภาพของผลแตงโมเนื้อจะแน่น สีแดงสด รสชาติหวาน ส่วนผลแตงไทยจะผลใหญ่ เนื้อนุ่ม มีรสหวาน ทานแล้วอร่อยมาก ชาวนาเกลือบางรายนำขี้แดดนาเกลือค้างปีไปใช้ในการปลูกละมุด

พุทรา กล้วยน้ำว้า ทับทิม และผักบางชนิด เช่น บวบ มะเขือ พริก ผลไม้ต่างๆ รวมทั้งผักเกือบทุกชนิด เจริญเติบโตดีมาก และผลผลิตออกมามีคุณภาพที่ดี

จากการศึกษาทดลองนำขี้แดดนาเกลือเก่าเกิน 6 เดือน ไปใช้กับผลไม้ใหญ่ ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ แก้วมังกร ชมพู่ ขนุน ฝรั่ง ปรากฏว่าทำให้ส้มโอมีรสชาติหวานน้ำหนักดี เปลือกบาง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก และมีเกษตรกรผู้สนใจนำขี้แดดนาเกลือไปใช้พัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรอีกหลายชนิด ก็ได้ผลดีเช่นกัน
และจากข้อมูลของกลุ่มเยาวชนเกษตร ซึ่งมีคุณบุญปรอด เจริญฤทธิ์ ไปสอบถามจากกลุ่มสมาชิกปรากฏว่า พบการประโยชน์ได้ดังนี้ ใช้ขี้แดดนาเกลือในการปลูกกะเพรา และใบโหระพา งอกงามดีมาก และยังใช้ขี้แดดนาเกลือในการเลี้ยงนก ให้ไก่ชนและไก่พื้นบ้านกิน ทำให้ไก่ไม่จิกกันเอง และไก่ก็เจริญเติบโตดีมาก และใช้ขี้แดดนาเกลือใน

keedadnakearto

การปลูกแตงโม และแตงไทย เนื้อแตงโมจะสีแดงสด และรสชาติหวานจัด แตงไทยจะมีเนื้อดี หอมหวานน่ารับทาน นอกจากนี้ ขี้แดดนาเกลือ ยังทำปุ๋ยอินทรีย์ ใช้สำหรับบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นพืชอย่างดี

แต่ข้อควรระวัง ในการใช้ปุ๋ยขี้แดดนาเกลือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คือ

  1. ต้องเป็นขี้แดดนาเกลือที่เป็นสาหร่ายน้ำหนักเบา ไม่ใช่ดินธรรมดาในนาเกลือ
  2. ควรใช้ขี้แดดนาเกลือที่เก่า ผ่านการตากแดดตากฝนไว้เกิน 6 เดือนมาแล้ว จึงจะได้ผลดี
  3. ปริมาณที่ใช้ขี้แดดนาเกลือที่เกษตรกรนำไปใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ เพิ่มความหวานให้กับพืชผักผลไม้นั้น ถ้าใส่ขี้แดดนาเกลือล้วนๆ ให้เริ่มใช้ขี้แดดนาเกลือจากจำนวนน้อยๆ ไปก่อน สังเกตผลผลิตที่ได้ แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณการใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของดิน จะเกิดเป็นผลดี

คุณสมบัติทางเคมี สำหรับการค้นหาคุณสมบัติทางเคมี ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้นำขี้แดดนาเกลือส่งไปภาคเคมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยศิลปากร ดำเนินการวิเคราะห์ให้โดย ผศ.ดร.ณรงค์ฉิมพาฉี เป็นผู้วิเคราะห์ มีธาตุอาหารดังนี้ P2O5 = 0.13% K2O = 2%

keedadnakearkeb

จากขี้แดดนาเกลือมีคุณสมบัติทางเคมี มีธาตุอาหารฟอสฟอรัสและโปรแทสเซียม สามารถนำไปใช้เป็ยปุ๋ยชีวภาพเพิ่มความหวนแก่ผลไม้ได้ดี การนำขี้แดดนาเกลือใส่เป็นปุ๋ยของผลไม้ ควรใส่ก่อนเก็บผลผลิต 1-2 เดือน อัตราการใช้ขี้แดดนาเกลือกับใช้ไม้ผลใช้ 1-3กก./ต้น ใส่รอบทรางพุ่ม หรือจะใช้ขี้แดดนาเกลือ ผสมปุ๋ยหมักก็ได้ ถ้าใช้กับพืชผักควรเป็นขี้แดดเก่าหลังจากเก็บมาแล้ว 5-6 เดือน

keedadnakeartung

ข้อมูลของขี้แดดนาเกลือ แต่ยังขาดผลวิเคราะห์พวกจุลธาตุอาหารและสารฮิวมิก

  • K(mg/kg) : 7915.24
  • Na(mg/kg) : 9195.23
  • Ca(mg/kg) : 38282.11
  • Cu(mg/kg) : 16.40
  • Total N (mg/kg) : 9002.53
  • % Organic Matter : 135.926
  • % Organic Carbon : 78.837
  • Total P (mg/kg) : 246610.02

คำแนะนำสำหรับการใช้ขี้แดดนาเกลือเพิ่มรสหวานให้ไม้ผล

  1. ใช้โรยตามโคนต้นของต้นไม้ผลทุกชนิด ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/ต้น
  2. ความถี่ที่เหมาะสม คือ ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง สามารถใช้ได้ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต จะทำให้ผลไม้มีรสชาติหวานขึ้นกว่าเดิม
  3. การใช้ขี้แดดนาเกลือเพิ่มความหวานให้แก่มะพร้าวอ่อน ให้ใช้ผ้าห่อขี้แดดนาเกลือ 3 ห่อ โดยใช้เกลือห่อละ 3 ขีด แล้วนำไปตั้งที่กาบของต้นมะพร้าว เพื่อเป็นการเร่งให้มะพร้าวติดผลดกและช่วยให้น้ำมะพร้าวมีรสชาติหวานขึ้น
  4. การใช้ขี้แดดนาเกลือเพิ่มความหวานให้แก่ลำไย ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 2 เดือนครึ่ง -3 เดือน หรือขณะที่ผลลำไยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ให้หว่านขี้แดดนาเกลือรอบๆ โคนต้นในอัตรา 6 กก./ต้น

ขี้แดดนาเกลือ หรือ ชาวบ้านเรียกกันว่า หนังหมา คือ สาหร่ายตะไคร่น้ำที่จับตัวกันเป็นแผ่นในนาเกลือ และตกตะกอนแห้งสนิทในนาเกลือ โดยในขี้แดดนาเกลือมีคุณสมบัติทางเคมี มีธาตุอาหารฟอสฟอรัสและโปรแทสเซียม สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากคุณสมบัติดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิตยา ศรขวัญ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นำมาคิดค้นสูตรและผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์อัดเม็ด Trichoderma เป็นตัวเร่ง

keedadnakearpasom keedadnakearmak

ปุ๋ยชีวภาพขี้แดดนาเกลือที่ย่อยสลายด้วยหัวเชื้อราปฏิปักษ์อัดเม็ด Trichoderma จะเกิดสารอินทรีย์ที่มีลักษณะคล้ายฮิวมัส โดยใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายวัสดุด้วยการหมักเพียง 20-30 วัน ส่งผลให้ค่าปริมาณคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) มีค่าเท่ากับ 10.14 เนื่องจากปริมาณอินทรียวัตถุ และอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนเป็นดัชนีชี้วัดในการแสดงถึงการย่อยสลายที่สมบูรณ์ของวัตถุอินทรีย์ เกิดการย่อยสลายยังที่สมบูรณ์ ใช้ปริมาณตัวเร่งที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้การย่อยสลายเกิดได้ดีขึ้น ดังนั้นในงานวิจัยได้เลือกใช้ตัวเร่งในการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากขี้แดดนาเกลือโดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma 1 % ต่อน้ำหนักของวัสดุหมัก

ส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยขี้แดดนาเกลือประกอบด้วย ขี้แดดนาเกลือ หัวเชื้อราปฏิปักษ์ มูลสัตว์แห้ง แกลบดิบ และรำละเอียด ขั้นตอนเริ่มจากนำขี้แดดนาเกลือมาบด จากนั้นนำมูลสัตว์ แกลบดิบ รำละเอียดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ผสมหัวเชื้อราปฏิปักษ์อัดเม็ด Trichoderma กับกากน้ำตาล และน้ำสะอาด

พักไว้ 2-3 ชั่วโมง เพื่อขยายเชื้อ (เรียกว่า น้ำหัวเชื้อ) จากนั้นนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้งในระดับความชื้นปริมาณ 60 % ทดสอบโดยใช้มือกำเป็นก้อนแล้วไม่แตก หมักปุ๋ยชีวภาพต่อเป็นเวลา 20 30 วันและต้องคอยกลับกองปุ๋ยทุกๆ 3 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพขี้แดดนาเกลือที่พร้อมใช้งาน

keedadnakearrmut

จากผลการวิจัยพบว่า ปริมาณร้อยละของธาตุไนโตรเจน (N) 1.6 ฟอสฟอรัส(P) 1.88 และโพแทสเซียม(K) 2.42 ข้อดีของปุ๋ยชีวภาพขี้แดดนาเกลือ คือ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ต่อดิน และสภาพแวดล้อม โดยนายเสน่ห์ พุทธา เกษตรกรบ้านหนองบวบหอม ตำบลหนองบวบหอม อำเภอสอสงพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้นำปุ๋ยชีวภาพขี้แดดนาเกลือไปใช้กับผักสวนครัว ชาวนาตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นำไปใช้ในนาข้าว นอกจากนี้ยังทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินดีขึ้นในระยะยาว การผลิตปุ๋ยชีวภาพขี้แดดนาเกลือใช้เอง เป็นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งส่งผลในมีการลดต้นทุนในการผลิต เพราะปุ๋ยเคมีมีราคาแพง และเกษตรกรก็จะได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และสามารถสร้างชุมชนให้เข้มแข็งที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยอาจารย์ได้นำมาถ่ายทอดให้แก่ชุมชนสหกรณ์หมู่ 3 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชน เป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีแบบบูรณาการ

keedadnakeartpkd

นอกจากนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิตยายังได้นำการผลิตปุ๋ยชีวภาพขี้แดดนาเกลือไปถ่ายทอดให้กับแหล่งชุมชนต่างๆ เช่น หมู่บ้านแสนสุขสกัดห้า ตำบลคลองสิบ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนใดสนใจสามารถขอปุ๋ยไปทดลองได้ที่ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี หรือจะติดต่ออาจารย์เป็นวิทยากรพิเศษ อาจารย์ยินดีบริการให้ข้อมูล สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิตยา ศรขวัญ โทร.02-5494181-2 , 084-1279460

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ดิน

แสดงความคิดเห็น