ข้าวหมากอาหารไทย ๆ ของเรานั้นจะมียีสต์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ มีธาตุสังกะสีมาก ซึ่งคุณประโยชน์ของสังกะสีนั้น จะช่วยในการบำรุงเลือด ผิวพรรณสดใส ไม่เป็นสิวหรือฝ้า ทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับเด็กอีกด้วย
โปรไบโอติก คืออาหารที่บรรจุจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ช่วยการสร้างความสมดุลให้กับลำไส้ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีอยู่ร่างกายเราอยู่แล้ว และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นมากขึ้น โดยนำจุลินทรีย์เหล่านี้มาบรรจุในเครื่องดื่มเพื่อช่วยให้ระบบลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
“โปรไบโอติก กระตุ้นให้มีการสร้างสารในการต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานเป็นปกติทำให้การดูดซึมวิตามินและอาหารได้ดีขึ้นทำให้มีผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้น ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค กระตุ้นการผลิตเอนไซม์แลคเตสซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้เราไม่มีอาการท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมดีขึ้น ทั้งยังรักษาแผลในลำไส้จากการอักเสบเรื้อรัง”
การทำข้าวหมากถือเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่งเนื่องจากยีสต์จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับจุลินทรีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในอาหาร ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มจำนวน ช่วยชะลอการเน่าเสียของอาหาร
ในการทำข้าวหมากจะต้องใช้ลูกแป้งข้าวหมาก ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแป้งครึ่งวงกลม สีขาวนวล น้ำหนักเบา ในลูกแป้งข้าวหมากจะมีเชื้อรา สกุล Mucor sp., Amylomyces sp. ซึ่งสามารถสร้างเอนไซม์อมิเลสออกมาย่อยแป้งในข้าวเหนียวให้เป็นน้ำตาล
น้ำตาลหรือน้ำหวานที่ได้จากการย่อยข้าวเหนียวนี้ เรียกว่า น้ำต้อย โดยในระยะแรกช่วงวันที่ 1 และ 2 น้ำต้อยยังไม่ค่อยหวานจัด เพราะแป้งยังถูกย่อยไม่สมบูรณ์ จะเริ่มหวานจัดประมาณวันที่ 3 และถ้าหมักไว้นานสัปดาห์จะมีกลิ่นเหล้าอ่อน ๆ เนื่องจากมียีสต์บางชนิด เช่น ยีสต์ในสกุล Sacchacomyces sp., ที่หมักน้ำตาลในข้าวหมากกลายเป็น แอลกอฮอล์ ดังนั้นจึงควรเก็บข้าวหมากไว้ในตู้เย็นเมื่อหมักได้ที่แล้ว
ลูกแป้งข้าวหมาก
ลูกแป้งข้าวหมากมีลักษณะเป็นก้อนแห้งครึ่งวงกลม สีขาวนวล เนื้อแป้งโปร่งมีเส้นใยของเชื้อราเกาะอยู่ทั่วไป เมื่อมีอายุมากจะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้น ลูกแป้งแต่ละเจ้าจะมีเชื้อราและยีสต์ต่างสายพันธุ์กัน ลูกแป้งที่ดีจะต้องใช้แป้งเชื้อที่ดี มีการรักษาความสะอาด ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นขณะทำลูกแป้งให้พอเหมาะ ส่วนประกอบที่สำคัญของลูกแป้ง ได้แก่ เครื่องเทศ น้ำ และแป้งเชื้อลูกแป้งแต่ละเจ้าจะมีสูตรการทำลูกแป้งแตกต่างกันออกไป ได้แก่
สูตรลูกแป้งข้าวหมากของขุนกฤษณามรวิสิฐ
- ชะเอม 3 ตำลึง
- พริกไทย 1 ตำลึง
- ดีปลี 2 ตำลึง
- กระเทียม 7 ตำลึง
- ขิง 2 ตำลึง
- ข่า 1 ตำลึง
- ข้าวเจ้า 10 ชั่ง
สูตรลูกแป้งข้าวหมากของ ส.ก.ศ.
- ข่าแห้งบด 1 กิโลกรัม
- ชะเอม 1 กิโลกรัม
- กระเทียมบด 1 กิโลกรัม
- แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม
- ผงฟู และแป้งเชื้อ พอผสมได้ทั่วถึงกัน
สูตรลูกแป้งข้าวหมากของผู้ผลิตบางราย (สิรินทรเทศ เต้าประยูร)
- ชะเอม 4 ตำลึง
- กระเทียม 4 ตำลึง
- ดีปลี 1 ตำลึง
- ขิงแห้ง 1 ตำลึง
- พริกไทย 1 ตำลึง
- แป้ง 1000 กรัม
วิธีทำลูกแป้งข้าวหมาก มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
- ผสมแป้งกับน้ำ หรือตำข้าวกับน้ำจนละเอียด
- นวดให้น้ำซึมไปทุกส่วนของแป้ง
- ผสมเครื่องเทศตามสูตร
- โรยแป้งเชื้อหรือลูกแป้งเก่าที่บดละเอียดแล้ว
- นวดให้ส่วนผสมและแป้งเชื้อเข้ากัน
- ทิ้งไว้ให้แป้งชื้นสักครู่
- ปั้นเป็นก้อนวางบนกระด้งที่โรยด้วยแป้งเชื้อปนไว้แล้ว
- เมื่อวางลูกแป้งเต็มแล้วโรยแป้งเชื้อทับอีกครั้ง
- ปิดด้วยกระด้งคลุมด้วยผ้าหนา ๆ บ่มไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง
- จนเส้นใยราขึ้นเต็มก้อนแป้ง
- เปิดผ้าคลุมออกผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
- นำไปตากแดดจนแห้งสนิท แล้วเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด
วิธีการทำข้าวหมาก ให้หวาน หอม อร่อย แบบมืออาชีพ สามารถทำขายได้ มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
- ข้าวเหนียวอย่างดี พันธ์เขี้ยวงู หรือ พันธ์อื่นๆก็ได้ และเป็นข้าวเหนียวเก่า ถามว่าข้าวเหนียวใหม่ทำไม่ได้หรือค่ะ ตอบสามารถทำได้ เหตุเพราะข้าวเหนียวใหม่ นึ่งมาแล้ว ทำข้าวหมากแล้วข้าวจะไม่สวย จะดูและ ถ้าทำไว้ทานเองก็ไม่เป็นไร ถ้าทำขาย ต้องดูดี นี่คือจุดขาย สำหรับท่านที่ต้องการทำขาย ทุกขั้นตอนสำคัญมาก
- ล้างข้าวเหนียวและแช่น้ำค้างคืนหรืออย่างน้อยประมาณ 6 ชั่วโมง สำหรับข้าวเหนียวเก่า ข้าวเหนียวใหม่ แช่ 3 ชั่วโมง ถ้าเป็นข้าวเหนียวดำ แช่อย่างน้อย 10 ชั่วโมง
- เอาขึ้นจากน้ำ สะเด็ดน้ำรองด้วยผ้าขาวบาง นึ่งด้วยซึ้ง หรือหวดก็ได้แล้วแต่ความถนัด ไม่ใช้หุงข้าว เหมือนข้าวสารเรา ข้าวเหนียวต้องนึ่ง (ตั้งน้ำให้เดือดก่อน ค่อยนึ่งข้าวเหนียว)
- นึ่งจนข้าวเหนียวสุกทั่วถึงกัน ประมาณ20-30 นาที หรือให้พอสูก อย่านึ่งจนสุก จะทำให้ข้าวหมากและ หรือแฉะ ทำข้าวหมากแล้ว จะเปรี้ยว จากการได้ทำมา ข้าวเหนียวเก่าจะนึ่งนานหน่อย25-30นาที นึ่งได้สัก15นาที พลึกข้าวเหนียวกลับ จากบนลงล่าง ถ้านึ่งด้วยหวด เหตผลเพราะว่า ข้าวข้างบนยังไม่สุก พลิกกลับเพื่อให้สุก
- หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำไปผึ่งข้าวให้เย็น 10-20นาที ห้ามนำไปล้างน้ำ คือผึ่งให้เย็นก่อน ถ้ารีบนำไปแช่น้ำ ข้าวเหนียวจะและทันที ทำข้าวหมากจะไม่อร่อย แล้วผลึกกลับไม่ให้ข้าวเหนียวแห้ง
- นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4ครั้ง ห้ามใช้น้ำประปา จะมีคลอรีน หรือใช้ได้ โดยนำน้ำประปาใส่ถังทิ้งไว้3-4 วัน เพื่อให้หมดคลอลีน หรือน้ำปูนใส น้ำปูนใสคือปูนแดง นำมาละลายน้ำ โดยปูน 1-2 ช้อน น้ำก้อ 1-2 ลิตร คนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน นำน้ำส่วนบนมาใช้ ที่ไม่มีตะกอน มาล้างข้าวเหนียว จากการที่เราใช้นำปูนใสในการล้างข้าว ข้าวจะหมดยางดีกว่าน้ำเปล่าที่ใช้ล้าง และเมล็ดข้าวจะเลียงเม็ดดีกว่า ข้าวไม่และ และเมล็ดข้าวจะกรอบน่ารับประทาน นี่คือเคร็ดลับ และจุดขาย
- ล้างเสร็จแล้ว นำมาผึ่งให้แห้ง 30-60 นาที แล้วแต่อากาศ คือให้สะเด็ดน้ำให้แห้งมากที่สุด เพราะถ้าข้าวเปียกหรือแฉะจะมีเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ข้าวหมากเปรี้ยวได้ง่าย
- นำไปใส่ภาชนะที่แห้ง ถาดหรือ แผ่นพลาสติก เกลี่ยข้าวให้กระจายหนาเท่า ๆ กัน แล้วโรยและคลุกลูกแป้งข้าวหมาก บดละเอียดแล้วให้สม่ำเสมอเบา ๆ (ใช้ลูกแป้ง 1 ลูก ต่อข้าวเหียว 1 กิโลกรัม)สำหรับสูตรของเรา ถ้าซื้อลุกแป้งจากที่อื่น ต้องถามคนขายว่าใช้ปริมาณเท่าไร
- บรรจุใส่ภาชนะที่แห้งและสะอาด เช่น กล่อง หรือห่อใบตองให้ข้าวเรียงตัวกันหลวม ๆ ไม่กดแน่น ไม่ควรหนามาก และให้มีที่ว่างเหนือภาชนะเพื่อให้มีอากาศเพียงพอ
- นำไปบ่ม โดยนำผ้าคุม หรือผ้าขาวบาง อากาศหนาวก็คุมผ้าหนาๆ หน่อย ประมาณ 58 ชั่วโมง 3 วัน 2คืน ถ้าต้องการหวาน ก็ 3 วัน 3 คืน ถ้าอากาศหนาวจัดก็ต้องบ่ม 3วัน 4 คืน
หมายเหตุ คือจริง ๆ ก็ 2วัน กว่า ๆก็ใช้ได้ การนับเวลา สมมุติว่า ทำข้าวหมากวันที่ 1 มีนาคม 54 เวลา 20.00 น ทำตอนกลางคืน ให้นับไปประมาณ 60 กว่าชั่วโมง จะใช้ได้ และหวานเข้าที่ วันที่ 4 มีนาคม 8.00 น. หรือ 6.00น ก็ได้ ตื่นนอนมาทานพอดี หวานหอมสดชื่น ถ้าปล่อยมาให้ถึงเวลา 20.00 นวันที่ 4 มีนาคม54 ก็จะครบ 72 ชั่วโมง จะหวานได้ที่กว่านี้ เก็บเข้าตู้เย็นถ้ายังรับประทานไม่หมด เพื่อที่จะหยุดหวามหวานไว้เท่านี้ กับหยุดการเกิดแอลกอฮอร์ ขึ้น เก็บไว้ได้นาน 1 อาทิตย์
การเสียของข้าวหมาก
การทำข้าวหมากเป็นวิธีที่ง่ายแต่การทำข้าวหมากให้มีคุณภาพดี ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะข้าวหมากที่ได้บางครั้ง มีกลิ่นรสไม่ดี รสหวานเท่าที่ควร มีรสเปรี้ยวมาก ข้าวหมากมีน้ำมากเกินไป เมล็ดข้าวไม่สวย บางครั้งมีสีแดง หรือมีสปอร์ราสีดำ หรือสีน้ำตาลเกิดขึ้น
สาเหตุของการเสียของข้าวหมาก
- 1.สาเหตุจากข้าวและวิธีการเตรียมข้าวสำหรับหมัก ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าวหมากรสไม่หวานเท่าที่ควร และมีรสเปรี้ยวอยู่มากและข้าวแฉะเมล็ดไม่สวย สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่
1.1 พันธุ์ข้าวที่ใช้และคุณภาพของข้าวไม่ดี
1.2 นึ่งข้าวนานเกินไปทำให้ข้าวนึ่งเละ เมื่อล้างน้ำทำให้ข้าวเหนียวแฉะ
1.3 ข้าวที่นึ่งสุกไม่ทั่วถึงทำให้ข้าวหมากแข็งเป็นไตภายในเมล็ดข้าว เนื่องจากแช่ข้าวเหนียวไม่นานพอหรือนึ่งเร็วเกินไป
1.4 ล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ
1.5 คลุกลูกแป้งกับข้าวเหนียวขณะที่ยังไม่สะเด็ดน้ำ ทำให้ความชื้นของข้าวสูง เกิดการเปรี้ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย
- สาเหตุจากลูกแป้งข้าวหมาก ได้แก่
2.1 ลูกแป้งเก่าเกินไป เชื้อข้าวหมากส่วนใหญ่ตายไปแล้ว ทำให้ใช้เวลาหมักนานขึ้น ข้าวหมากมีกลิ่นไม่ค่อยดี รสหวานน้อย และเสียได้ง่าย
2.2 ลูกแป้งไม่ดี ลูกแป้งเสีย มีเชื้อรา และยีสต์ปนเปื้อนมาก ทำให้ข้าวหมากเปรี้ยวหรือมีกลิ่นรสผิดไปจากปกติ
2.3 ใช้ลูกแป้งน้อยเกินไป ได้ข้าวหมากช้า เนื้อข้าวไม่ฟูนิ่มตลอด เมล็ดข้าวมีสีไม่น่ารับประทาน ออกสีน้ำตาลมาก
2.4 ใช้ลูกแป้งมากเกินไป ข้าวหมากได้ที่เร็วเกินไป เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นของเครื่องเทศแรงเกินไป
- สาเหตุจากน้ำและภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด ถ้าน้ำที่ใช้และภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด จะทำให้เกิดการเสียของข้าวหมากขึ้นได้ นอกจากนี้ การเลือกใช้น้ำ คุณภาพดี จะมีผลดีต่อคุณภาพของข้าวหมากที่ได้ เพราะคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำ มีผลต่อรสชาติและคุณภาพของข้าวหมาก ไม่ควรใช้น้ำประปา ใช้น้ำฝน หรือน้ำบ่อ ถ้าต้องการใช้น้ำประปาจริงๆ เป็นที่หลีกเลี้ยงไม่ได้ ก็ใส่ถังทิ้งไว้ 3-4 วัน ถึงจะใช้ได้ เพื่อให้หมดคลอรีน