คว่ำตายหงายเป็นนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดิน ขึ้นในดินแห้งแล้ง บริเวณกลางแจ้งหรือมีร่มเงา ใบมีสรรพคุณนำไปเผาไฟหรือตำ รักษาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาตาปลา วางบนศีรษะแก้ปวดหัว วางบนหน้าอกแก้ไอ และแก้เจ็บหน้าอก คั้นเอาน้ำจากใบแก้อาการท้องร่วง หิด อหิวาตกโรค นิ่ว ขับปัสสาวะ ไขข้ออักเสบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.
วงศ์ : Crassulaceae
ชื่ออื่นๆ : มะตบ, ล็อบแล็บ, ลบลับ, ลุมลัง (เหนือ) กระลำเพาะ, ต้นตายใบเป็น, นิรพัตร, เบญจฉัตร (กลาง)} กะเร (ชลบุรี, ใต้) กาลำ (ตราด); แข็งโพะ, โพะเพะ (นครราชสีมา) ต้นตายในเป็น (จันทบุรี) เพรอะแพระ (ประจวบคีรีขันธ์) ยาเท้า (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ส้มเช้า (ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, ตรัง)
ลักษณะทั่วไป
ไม้พุ่มขนาดเล็กคลุมดิน ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง มักไม่แตกแขนง มีจุดสีม่วง ตามลำต้น ใบเดี่ยวรูปไข่แผ่นใบหนาอวบ ขอบใบเป็นหยักมน รอยหยักตามขอบใบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายดอก ก้านช่อดอกยาว ดอกมีสีแดงปนเขียว
การขยายพันธุ์: ปักชำใบ
สรรพคุณตามตำรายาไทย
ใบ, ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้คลอดง่าย ตำพอกหรือทาแก้ปวดกระดูก กระดูกหัก แผลไฟไหม้
ใบ ตำคั้นน้ำ แก้บิด ท้องร่วง อหิวาตกโรค นิ่ว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ปวดอักเสบ ฟกบวม รักษาฝี ถอนพิษ น้ำคั้นในผสมการบูร ทาถูนวด แก้เคล็ด ขัดยอก และเเพลง กล้ามเนื้ออักเสบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา
ป้ายคำ : ไม้ประดับ