คำพันธ์ เหล่าวงษี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งตนเอง

ทำกิจกรรมในแปลงเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งตนเองในด้านการผลิต แก้จนโดยผลผลิต ในแปลง สร้างทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิธีคิด/วิธีการทำงานของปราชญ์ชาวบ้าน ขยาย, ถ่ายทอดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่ผู้สนใจ,
เกษตรกร, เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดเกษตรกร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ถ่ายทอดประสบการณ์
การปรับปรุงดิน, การลดรายจ่าย, การปลูกพืชผัก, การเลี้ยงสัตว์, การประมง

kampanlaopsa

เป็นระบบเกษตรผสมผสาน การทำนาอินทรีย์ที่เน้นการอนุรักษ์และปลูกข้าวพื้นบ้านและผักพื้นบ้าน มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว โดยมีระบบการจัดการแปลงแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่

  • แหล่งน้ำ 2 บ่อ (ขุดบ่อน้ำ) ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 40 เมตร และลึก 4 เมตร และบ่อบาดาลขนาดกว้าง 3 นิ้ว ลึก 30 เมตร) นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบการจัดการน้ำแบบถังสูงวางท่อส่งตามคันคู จัดให้มีก๊อกน้ำระหว่างท่อส่ง 13 จุด มีระบบน้ำหยดตามต้นไม้ตามคันคู ทำให้สะดวกต่อการรดผักและต้นไม้
  • นาข้าว (เนื้อที่ 2 ไร่) ปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน เช่น พันธุ์ป้องแอ้ว พันธุ์สันป่าตอง
  • ไม้ผลและแปลงผัก (1 ไร่ 2 งาน) จัดการโดยการปลูกไม้ผล ไม้ผักยืนต้น ไม้ใช้สอยยืนต้น หลากหลายชนิด เช่น ไม้สะเดา ขี้เหล็ก ก้ามปู ประดู่ คูณ ไผ่ นุ่น กระถิน มะขาม มะรุม มะกล่ำ มะขามเทศ มะม่วง มะกอกน้ำ มะกอกบ้าน มะพร้าว มะนาว มะละกอ มะกรูด มะขามหวาน มะยม ละมุด ส้มโอ น้อยหน่า กระท้อน กล้วย ฝรั่ง ขนุน แคบ้าน พุทรา เพกา ติ้ว ไผ่หนาม กระโดนน้ำ ผักเม็ก มะสัง หวาย เม่าใหญ่ เค็ง มะตม ตะขม และกระถินณรงค์ มะม่วง เป็นต้น ในส่วนของแปลงผักมีระบบการปลูกผักแบบยกแปลง-เป็นแปลงถาวร แต่ปลูกผักหมุนเวียนตามฤดูกาล ซึ่งปลูกผักนานาชนิด เช่น ผักหอมแบ่ง ผักแป้น ผักกระเฉด ผักบุ้ง ผักชี หอมเป (หอมเทศ) สาระแหน่ กระเพรา โหระพา แมงลัก ผักลิ้นปี่ พริก มะเขือ มะเขือพวง บวบ ฟักทอง ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม ถั่วแปบ ถั่วพู ตะไคร้ ข่า ชะอม ผักปัง ผักสาบ แตงร้าน และผักเสี้ยน เป็นต้น ส่วนพืชสมุนไพร อาทิเช่น หญ้าหนวดแมว ขมิ้น ว่านเลือด ว่านแมงมุม ไหลแดง บอระเพ็ด กระชายดำ ว่านปลาไหลใหญ่ ว่านสลายนิ้ว และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น
  • การเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่พื้นบ้าน วัว ปลา

kampanlaopact

กิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้

  • เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดียว
  • การปลูกผักและทำแปลงแบบถาวร
  • การทำปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยชีวภาพ-ปุ๋ยพืชสด
  • การผลิตน้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่านด้วยเตาไฮเทค-น้ำสมุนไพรเอนกประสงค์

ความสำเร็จ/ผลที่ได้รับ/จุดเด่น

  • มีการพึ่งตนเองในทุกระบบการผลิต
  • ครอบครัวมีความมั่นคงทางอาหาร
  • มีรายได้พอเพียง ลดรายจ่ายจากระบบการผลิตแบบพึ่งตนเอง
  • เป็นวิทยากรชาวบ้านที่มีความรู้หลากหลายทั้งด้านแนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนและเทคนิคต่าง ๆ
  • เป็นโรงเรียนเกษตรกรที่มีอุปกรณ์-สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กนักเรียนและเกษตรกร

การทำอาหารปลา

การทำอาหารปลา ตามสูตรและขั้นตอนวิธีทำ ดังนี้ คือ

  1. ปลาป่น 1 กก.
  2. กากถั่วเหลืองป่น 1 กก.
  3. รำอ่อน 1 กก.
  4. ปลายข้าว กก.

นำปลายข้าวต้มให้เหนียวพอประมาณ นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้ผสมให้เข้ากัน เทน้ำต้มปลาย
ข้าวลงคนให้เข้ากัน ให้ความชุ่มพอปั้นเป็นก้อนได้ นำไปอัดเม็ด หรือ ปั้นเป็นก้อนๆเท่าไข่ ตากให้แห้งเก็บไว้หือนำไปให้ปลาหรือกบกินได้

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น