จอกเป็นวัชพืชน้ำอีกชนิดหนึ่งของไทย อยู่ในวงศ์เดียวกับเผือกและบอน มีชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียก คือ ผักกอก หรือกากอก เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู ลำต้นสั้น มีไหลซึ่งแตกแขนงและทอดยาวขนานกับผิวน้ำ ใบเดี่ยว เป็นแผ่นกว้าง เวียนเป็นเกลียวถี่ๆ รอบต้น ขึ้นเป็นกระจุกคล้ายผักกาดสีเขียวสด อยู่ตามผิวน้ำ มีรากเป็นเส้นฝอยๆจำนวนมากที่โคนต้น ดอกสีขาวหรือเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ขนาดเล็กมาก มีใบประดับสีเขียวอ่อนเป็นแผ่นหุ้มอยู่ตรงซอกใบ เนื่องจากดอกเล็กมาก และซ่อนอยู่ตามซอกใบจึงมักไม่มีใครเห็น ทำให้เข้าใจกันว่า จอกเป็นพืชไร้ดอก
จอกมีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ขยายพันธุ์โดยแตกหน่อใหม่จากไหล เพิ่มปริมาณ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก จึงสร้างปัญหาแก่แหล่งน้ำ จอกต้นเล็กๆ มีสีเขียวสดใส ถ้ามีจำนวนไม่มากนัก จะดูเหมือนดอกไม้สีเขียวๆ ลอยน้ำอยู่ดูสวยงาม จึงมีผู้นำไปใช้ประดับในสวนน้ำ ต้นอ่อนๆ ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมูได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pistia stratiotes L.
วงศ์ : Araceae
ชื่อสามัญ : Water lettuce
ชื่ออื่น : กากอก (ภาคเหนือ) ผักกอก (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล (stolon) ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคนของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบ รูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่ส่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงสีแดง มีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณฐานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ดอก ออกเป็นช่อชนิดสแปดิกซ์ (spadix) ออกดอกตามซอกใบ ก้านช่อดอกสั้น ช่อดอกมีกาบ (spathes) เป็นแผ่นสีเขียวอ่อนหุ้มไว้ ด้านในเรียบ ส่วนทางด้านนอกจะมีขนละเอียดปกคลุม มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกตัวผู้อยู่ด้านบนดอกตัวเมียอยู่ด้านล่าง เป็นดอกที่ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ที่โคนของดอกตัวผู้จะมีระยางค์แผ่นสีเขียวเชื่อมติดอยู่เป็นรูปถ้วย มีเกสรตัวผู้ 4-8 อัน ดอกตัวเมียมีระยางค์เป็นแผ่นสีเขียวติดอยู่เหนือรังไข่ ผล เป็นชนิดแบคเคท (bacdate) มีใบประดับหรือกาบ (bract) สีเขียวอ่อนติดอยู่ ภายในมีเมล็ดจำนวนมากรูปร่างยาว สีน้ำตาลอ่อน
พบขึ้นตามลำคลอง หนองน้ำ บ่อเลี้ยงปลา นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์โดยการแตกต้นอ่อน หรือแตกไหลและอาศัยเมล็ด
ประโยชน์ :
เป็นสมุนไพร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคโกโนเรีย ขับเสมหะ แก้บิด หืด ฝี และโรคผิวหนัง
สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักได้
จากหนังสือยาอายุวัฒนะกับสมุนไพรไทย
สรรพคุณ: ใบนำใบที่เจริญเติบโตเต็มที่และควรจะเก็บใบในหน้าร้อนถึงจะดี นำมาล้างให้สะอาด ตัดรากออกให้หมดพยายามอย่าให้รากติดได้ยิ่งดีนำมาตากแห้งซึ่งจะมีรสเค็ม เย็น และฉุน จะเป็นยาแก้ผดผื่นหรือมีน้ำเหลืองแก้ บอบช้ำ ขับปัสสาวะ ซึ่งวิธีใช้คือ..นำเอาใบแห้งมาต้มกับน้ำ
ข้อห้ามใช้
ตำรับยา
สารเคมีที่พบ
ใบสดนั้นมีวิตามินA ,B ,C มาก มี
การกระจายพันธุ์ พบได้ทั่วไปในเขตร้อน ลอยอยู่ตามน้ำนิ่งหรือไหลช้า ๆ ตามท้องทุ่งนา หรือบึงน้ำจืด
น้ำหมักจอกน้ำ
สูตรการทำน้ำหมักจอกน้ำ ทำได้ง่ายแสนง่าย เพราะส่วนประกอบสำคัญมีเพียงจอกน้ำ และกากน้ำตาลเท่านั้น
วิธีการทำ
นำเอาจอกน้ำมาขยี้ให้ละเอียด เพราะขยี้ง่าย แต่ระวังจะคัน นำกากน้ำตาลมาผสมกับน้ำ และคนทั้งสองอย่างให้ละลาย เคล็ดลับพิเศษอีกอย่างคือ สาร พด นำมาโรยและคลุกทุกอย่างให้เข้ากัน เสร็จแล้วจึงนำไปหมักทิ้งไว้ ถ้าเราใช้สาร พด เข้าช่วย 7 วันมันจะได้ผล ถ้าเราใช้กากน้ำตาลอย่างเดียว ต้อง15-30 วัน มันถึงจะใช้ได้ เพราะต้องให้กากน้ำตาลหมดฤทธิ์ก่อน
จอกน้ำเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าเราเอาไปสดๆ ไปทำเป็นปุ๋ย พอมันแห้งจะมีความชื้นจะเกิดเชื้อราเยอะ ถ้าจะไปทำเป็นปุ๋ยต้องมาหมักก่อนเป็นปุ๋ยหมักก่อน ให้มันย่อยสลายค่อยเอาไปใช้ก็ได้ มันจะได้สองทางเลยจะเป็นปุ๋ยด้วยเป็นสารขับไล่แมลงด้วย
จอกน้ำถูกนำมาทำน้ำหมักป้องกันศัตรูข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการนำปัจจัยที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ได้อย่างสูงสุด แบบนี้ประหยัดเงินค่าปุ๋ย ค่ายาไปได้เยอะ
ที่มา : เฉลียว น้อยแสง น้ำหมักจอกน้ำ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน