แป๊ะตำปึง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura procumbens (Lour.) Merr. เป็นยาเย็น ตำรายาไทยและจีนใช้ใบสดตำละเอียดผสมสุราพอกปิดฝี แก้ฟกบวม แก้คัน แก้พิษอักเสบ แก้พิษแมลงกัดต่อย งูสวัด เริม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura procumbens (Lour.) Merr.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura divaricata DC.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : เชียตอเอี๊ยะ, งู่ปุ่ยไฉ่ (จีน), จักรนารายณ์ (ไทย), กิมกอยมอเช่า ,ผักพันปี, แปะตังปุง, แปะตังปึง
ต้นกำเนิด : ต้นยานี้มาจากประเทศจีน บางท่านเรียกว่า จินฉี่เหมาเยี่ย เข้ามาในไทยพร้อมกับหญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา แปะตำปึง ถูกตั้งชื่อเป็นไทยว่าจักรนารายณ์ แต่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น กิมกอยมอเช่า หรือ ผักพันปี เป็นต้น
ลักษณะ
แป๊ะตำปึง เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นสีเขียว แตกกิ่งก้านอ่อน หักง่าย เมื่อโตเต็มที่ใน ฤดูหนาว จะออกดอกสีเหลืองมีก้านยาว แปะตำปึง มี 2 ชนิดคือ
สรรพคุณ
สรรพคุณของทั้งสองมีเหมือนกัน มีรสเย็น ใช้ใบเป็นยา รสชาติคล้ายใบชมพู่สาแหรก โรค(ที่มีผู้รับรองว่า)สมุนไพรชนิดนี้รักษาหายแล้วได้แก่ เบาหวาน ความดันสูงภูมิแพ้ หอบหืด มะเร็ง งูสวัด เกาต์ ริดสีดวงทวารหนัก ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบพุพอง ฝีหนอง ปวดประจำเดือน ปวดเส้น ปวดหลัง ไขมันในเลือด ไทรอยด์ ตาอักเสบตาเป็นต้อ โรคตาต่างๆ ปวดเหงือก ปวดฟัน โรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โลหิตจาง ฟอกเลือด ล้างสารพิษในร่างกาย ขับลม กินได้ นอนหลับ คนปกติทั่วไปกินแล้วสุขภาพแข็งแรง เรียกว่าเป็นสมุนไพรครอบจักรวาลเลยทีเดียว
วิธีใช้ : เป็นพืชสมุนไพรครอบจักรวาลที่ไม่มีพิษภัย ใช้ใบสดๆ ล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง นำมาเคี้ยวกินสดๆหรือใช้ประกอบอาหารกิน เช่นแกงจืดหรือผัดน้ำมัน หรือเป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน ส้มตำ สลัดผัก ฯลฯได้ หรือจะนำใบมาล้าง ผึ่งแห้ง นำมาบดหรือตำ คั้นเอาแต่น้ำนำไปนึ่งให้สุก ปล่อยให้เย็น ใส่ขวด ใส่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน แต่ที่ได้ผลดีที่สุด คือกินใบสด ก่อนเข้านอน 3-5 ใบ
วิธีใช้เฉพาะโรค :
สิ่งที่ควรระวัง
อาหารแสลง เช่น กุ้ง เนื้อ ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาร้า หูฉลาม กะปิ ข้าวเหนียวหน่อไม้ แตงกวา หัวผักกาด เผือก สาเก ของดอง แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ควรงด แต่หากจำเป็นต้องกิน ขอให้กินแปะตำปึง ก่อนหรือหลัง 2 ชั่วโมง
การปลูก : ขยายพันธ์โดยการปักชำ ให้ตัดกิ่งที่มีท่อนยาว 10-15 ซ.ม. เด็ดใบออกให้หมดนำไปรับปะทาน นำกิ่งมาปักชำ ไว้ในที่รำไร และหมั่นรดน้ำเสมอๆ เช้า-เย็น ประมาณ 7-10 วัน ก็จะแตกยอด ออกราก เป็นต้นใหม่ เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกสีเหลือง ส่วนเมล็ดเพาะไม่ขึ้น ต้องปักชำกิ่งเท่านั้น
แปะตำปึง ไม่ชอบร่มมากนัก ชอบดินร่วน ชอบแดดพอควร ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำก้นกระถาง รากจะเน่า
การปลูกใช้เอง ไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง หรือถ้ามีการใช้ปุ๋ย ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 อาทิตย์ก่อนเก็บใบมาใช้ และควรล้างให้สะอาดๆก่อนนำมาใช้ (โดยเฉพาะการพอกตา)
งานวิจัยสมุนไพรแป๊ะตำปึงที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 พบว่า สารสกัดอัลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินมีคุณสมบัติต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง และพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิด ได้แก่ kaempferol ในรูปอิสระและกลัยโคไซด์ quercetin ในรูปอิสระและกลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์เป็นสารที่อาจแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ ได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดแป๊ะตำปึง 2.5% เป็นตัวยา ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ (chemotherapy related mucositis) พบว่าสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญ สมุนไพรแป๊ะตำปึงยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides และ 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol ได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดแป๊ะตำปึงเป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก พบว่า ปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก
ข้อมูลจาก
นสพ.เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 28 มกราคม 2548
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/93/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%8A%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B6%E0%B8%87/
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน)
ป้ายคำ : สมุนไพร